กรุงเทพฯ--19 ต.ค.--Piton Communication
ความปลอดภัยของผู้ใช้ในสภาพแวดล้อมดิจิตอลนั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ประการแรก ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้ใช้ที่จะตัดสินใจถูกต้อง พฤติกรรมออนไลน์สามารถช่วยป้องกันข้อมูลบ่งชี้ตัวตนของคุณ, เงินตรา และข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ หรืออาจจะทำให้ตกเป็นเหยื่ออาชญกากรได้ง่ายๆ แคสเปอร์สกี้ แลปต้องการดึงความสนใจมายังปัญหานี้ด้วยการ ทดสอบที่ช่วยผู้ใช้ประเมินระดับความเก๋าทางไซเบอร์ (cyber savviness) และเข้าใจว่าพฤติกรรมทางอินเทอร์เน็ตของตนนั้นปลอดภัยหรือไม่
จากการสำรวจความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของคอนซูมเมอร์ประจำปีค.ศ. 2015 พบว่าผู้ใช้กังวลมากขึ้นเกี่ยวกับภัยคุกคามไซเบอร์ เพราะต่างเก็บข้อมูลส่วนตัวเอาไว้บนอุปกรณ์มากขึ้นเรื่อยๆ แต่มิได้มีความระมัดระวังเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด เช่น ผู้ตอบการสำรวจที่พร้อมจะกรอกข้อมูลส่วนตัวหรือข้อมูลทางการเงินบนเว็บไซต์ที่แม้จะค่อยมั่นใจเท่าใดนักเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากปีที่แล้ว – จาก 30% เป็น 31% ขณะเดียวกัน จำนวนผู้ใช้ที่เชื่อว่าตนเองพ้นเงื้อมมือภัยไซเบอร์เพราะตนไม่ใช่เป้าหมายเพิ่มจาก 40% เป็น 46%
ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตส่วนมากมักไม่สังเกตภัยแม้จะอยู่ตรงหน้าก็ตาม ข้อมูลนี้มาจากการทำสอบโดยแคสเปอร์สกี้ แลปกับผู้คน 18,000 รายทั่วโลก ผลชี้ว่าผู้ใช้อินเทอร์เน็ตต้องเผชิญกับสถานการณ์เสี่ยงอันตรายหลายต่อหลายครั้งเป็นประจำเวลาท่องเว็บ ดาวน์โหลดไฟล์ หรือเข้าโซเชียลเน็ตเวิร์คไซต์ต่างๆ ในการทดสอบแต่ละสถานการณ์ก็จะมีหลายคำตอบให้ผู้ทดสอบเลือกตอบ และแต่ละคำตอบก็จะมีคะแนนมากน้อยขึ้นอยู่ความเลวร้ายของสถานการณ์–ยิ่งตอบได้ปลอดภัยที่สุดเท่าใด คะแนนก็จะสูงตามไปด้วย และกลับกัน
ตัวแทนจาก 16 ประเทศได้คะแนนเฉลี่ย 95 คะแนนจากที่ควรจะได้ 150 นี่หมายความว่าเขาเลือกออพชั่นที่ปลอดภัยเพียงกึ่งเดียวของสถานการณ์จำลอง ส่วนสถานการณ์อื่นที่เหลือ ผู้ทดสอบเปิดช่องรับความเสี่ยงโอกาสข้อมูลสำคัญรั่วไหล เป็นต้น
"การป้องกันตนเอง เป็นส่วนหนึ่งของการดำรงอยู่ ในโลกแห่งความเป็นจริง เรารู้จักที่จะลกความเสี่ยงในการสูญหายและถูกโจรกรรมเงินตราและทรัพย์สิน: เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับการป้องกันตนเองตั้งแต่ยุคแรก เมื่อเราออฟไลน์ เรามักป้องกันตัว ระวังตนเองอยู่เสมอ แต่เมื่อเราใช้อินเทอร์เน็ต สัญชาตญานการป้องกันตนเองมักจะทำให้เราผิดหวัง และแน่นอนว่าวันนี้ที่ทุกสิ่งอยู่ในรูปแบบดิจิตอล: ชีวิตส่วนตัว, ทรัพย์สินทางปัญญาและเงิน กำหนดให้เราต้องมีความรับผิดชอบเฉกเช่นเดียวกับในชีวิตจริง และหากทำผิดพลาดทางออนไลน์ราคาค่างวดก็สูงได้ไม่แพ้กัน และนี่คือเหตุผลว่าทำไมเราจึงพยายามผลักดันสนับสนุนให้ทุกคนพัฒนาไปพร้อมกับเทคโนโลยี และยกระดับความเก๋าทางไซเบอร์ของตนเสียโดยเร็ว" เดวิด เอมม์ นักวิจัยด้านความปลอดภัยอาวุโส แคสเปอร์สกี้ แลปกล่าว
คุณสามารถสแกนอุปกรณ์ว่ามีมัลแวร์หรือช่องโหว่อันตรายหรือไม่โดยใช้ ทูลจากแคสเปอร์สกี้ แลปโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายที่ http://free.kaspersky.com และหากต้องการทดสอบว่าคุณเก๋าเพียงใดด้านไซเบอร์ เราเชิญคุณไปทดสอบกับเราทึ่ https://blog.kaspersky.com/cyber-savvy-quiz/ หากต้องการคำแนะนำเคล็ดลับการใช้ชีวิตออนไลน์อย่างปลอดภัยได้ที่ https://blog.kaspersky.com/tag/cybersavvy