กรุงเทพฯ--29 ต.ค.--สมาคมสมาพันธ์เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งไทย
ตัวแทนเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทั่วประเทศ นำโดย นายบรรจง นิสภวาณิชย์ นายกสมาคมสมาพันธ์เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งไทย จำนวนกว่า 100 คน ได้มาร่วมประชุมหารือเร่งด่วนโดยพร้อมเพรียง กัน เพื่อเตรียมความพร้อม หาแนวทางในการรับมือกับวิกฤติในอุตสาหกรรมกุ้งของประเทศ โดยเฉพาะต่อการแก้ไขปัญหาราคากุ้งตกต่ำ ให้ราคากุ้งมีเสถียรภาพและ เป็นธรรม รวมถึงการป้องกันแก้ไขปัญหาอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
นายบรรจง นิสภวาณิชย์ นายกสมาคมสมาพันธ์เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง เปิดเผยว่า ด้วยปัจจุบันเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งกำลังประสบปัญหากับภาวะราคากุ้งตกต่ำต่อเนื่อง (ซ้ำซาก) ส่งผลกระทบสร้างความเดือดร้อนอย่างมากต่อภาคการผลิตกุ้งของประเทศที่ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อย สมาคมสมาพันธ์เกษตกรกรผู้เลี้ยงกุ้งไทย ในฐานะตัวแทนของพี่น้องเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งของประเทศ ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นสมาคม ชมรม สหกรณ์ กลุ่มผู้เลี้ยงกุ้งจังหวัดต่าง ๆ จึงได้มาประชุมหารือกัน เพื่อรวบรวมประเด็นปัญหา แนวทางทางแก้ไข-ป้องกัน และอื่นๆ หลังจากที่แต่ละแห่งได้ ไปประชุมสรุปประเด็นปัญหาและแนวทางแก้ไขฯ กันมาแล้ว ก็มาสรุปในประเด็นสำคัญเร่งด่วนกันในวันนี้ ที่สมาพันธ์ฯ ขอเรียกร้องไปยังรัฐบาล และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ ...
เกษตรกรผู้เลี้ยงพร้อมใจลดกำลังการผลิตกุ้งลง ร้อยละ 30 ตั้งแต่วันนี้จนกว่าภาวะราคาจะดีขึ้นด้วยปัจจุบันพี่น้องเกษตรกรเห็นว่า/รู้สึกว่า การผลิต ณ ปัจจุบัน Over Supply มีจำนวนมากเกินกว่าความสามารถในการผลิตของห้องเย็นโรงงานแปรรูปกุ้ง ที่จะรับได้ ทำให้ราคากุ้งตกต่ำ จึงจะยอมกัดฟันลดการผลิต เพื่อให้ได้ราคาที่เป็นธรรม
ขอให้รัฐบาลยกเลิกประกาศนำเข้างดนำเข้ากุ้งจากต่างประเทศ ทุกรายการ(โดยเฉพาะห้ามนำเข้ากุ้ง จาก อินโดนีเซีย และบราซิล โดยเด็ดขาด) เนื่องจากเสี่ยงต่อโรค IMNV เข้ามา
ขอให้รัฐบาลหาแนวทางรักษาเสถียรภาพราคากุ้งขาวแวนนาไมในประเทศ
ผลักดันจัดตั้งคณะกรรมการกุ้งแห่งขาติ โดยเพิ่มสัดส่วนตัวแทนจากเกษตรกรทั่วประเทศ
สมาพันธ์ฯ คาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ภาครัฐ และผู้ประกอบการแปรรูปกุ้ง ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต่างๆ จะเห็นความสำคัญ เห็นใจต่อพี่น้องเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง โดยเฉพาะต่อปัญหาราคากุ้งซึ่งมีความสำคัญยิ่ง ที่ปัจจุบันตกต่ำต่อเนื่อง และตกลงต่ำกว่าต้นทุนแล้ว เช่นที่ กุ้งขาวแวนนาไม ขนาด 100 ตัว/กก. ราคาต่ำกว่า 114 บาท/กก. ซึ่งเป็นต้นทุนเฉลี่ยของผู้เลี้ยงกุ้งทั้งประเทศ) เป็นต้น ทั้งที่อยู่ในภาวะที่ทั่วโลกผลิตกุ้งได้น้อย (ลดลง ประมาณร้อยละ 9) ราคากุ้งตกต่ำเกินจริง สวนทางกับภาวะความต้องการของตลาดโลก ที่สำคัญพี่น้องเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งเอง ก็เพิ่งเริ่มผ่านจากการบาดเจ็บบอบช้ำจากวิกฤติโรคระบาดกุ้งตายด่วน หรืออีเอ็มเอส พอเริ่มที่จะผลิตกุ้งได้เพิ่มขึ้น ก็ต้องมาเผชิญกับภาวะราคากุ้งต่ำ-ซ้ำซากอีก ฯลฯ สมาพันธ์ฯ ใคร่ขอเรียกร้องภาครัฐ ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ได้มาร่วมกันแก้ไขปัญหาสำคัญเร่งด่วนนี้ได้อย่างเป็นรูปธรรม และอย่างบูรณาการ ฯลฯ อันจะนำมาซึ่งความอยู่รอดของพี่น้องเกษตรกร และความยั่งยืนของอุตสาหกรรมกุ้งของประเทศโดยรวม ... ก่อนที่พี่น้องเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งจะอยู่กันไม่ได้ เลิกเลี้ยงในที่สุด ฯลฯ นายกสมาคมสมาพันธ์เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งไทย กล่าวทิ้งท้าย