กรุงเทพฯ--29 ต.ค.--Piton Communication
งานวิจัยล่าสุด เรื่อง "Consumer Security Risk Survey 2015" โดยแคสเปอร์สกี้ แลป ร่วมกับ บีทูบีอินเตอร์เนชั่นแนลชี้ว่าในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจำนวนหนึ่งในสี่ถูกแฮคบัญชีผู้ใช้ออนไลน์ โดนแอบอ้างสวมรอยใช้ชื่อส่งข้อความออกโดยมิได้รับอนุญาต บางครั้งยังแถมลิ้งค์ร้ายไปด้วย หรือเจอเหตุการณ์ข้อมูลส่วนตัวสูญหายหรือถูกโจรกรรม แม้กระนั้นก็ตาม การค้นคว้าวิจัยอีกชิ้นหนึ่งเรื่อง "Are you cyber savvy?" ชี้ว่ามีเพียง 38% ของผู้ใช้งานเท่านั้นที่ใช้รหัสผ่านที่แข็งแกร่งสำหรับบัญชีใช้งานและเกินกว่าครึ่ง (57%) แต่เก็บรหัสผ่านไว้อย่างไม่ปลอดภัย
นอกจากนี้ จากจำนวนผู้ใช้งานที่โดนแฮค พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนหนึ่งในสาม (32%) ก็รู้เรื่องเกี่ยวกับการโดนแฮคเช่นกัน ประเภทของบัญชีที่มักเป็นเป้าหมายของแฮคเกอร์ ได้แก่ อีเมล (11%) โซเชียลมีเดียเน็ตเวิร์ก (11%) และธนาคารออนไลน์ หรือการทำธุรกรรมการเงินช้อปปิ้งออนไลน์ (7%) เว็บไซต์ที่คอนซูมเมอร์ใช้เป็นประจำทุกวันที่โยงไปเรื่องงาน เพื่อนสนิท และครอบครัว
การสำรวจความคิดเห็นและพฤติกรรมนี้พบว่า ไม่เพียงแต่ยอดเงินในบัญชีเท่านั้นที่เป็นที่สนใจของแฮคเกอร์ แต่ความเกี่ยวพันที่สามารถโยงใยไปก่อความเสียหายเพิ่มเติมได้ด้วย โดยผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการโดนแฮคจำนวน 35% พบว่า ข้อความหรืออัพเดทจะถูกส่งมาหรือโพสต์บนบัญชีใช้งานโดยมิได้รับอนุญาต และต่อมา 29% พบว่าเพื่อนฝูงได้กลายเป็นเหยื่อคลิกลิ้งก์ร้ายที่แนบในข้อความที่ถูกแอบอ้างส่งมาในชื่อพวกเขานั่นเอง
ข้อมูลส่วนตัว และข้อมูลที่ระบุตัวตนถือเป็นเป้าหมายหลักระดับต้นๆ ของแฮคเกอร์ โดยผู้ที่ได้รับผลกระทบจำนวน 26% จะสูญเสียข้อมูลส่วนตัว และข้อมูลอื่นๆ และใน 26% ของเคสต่างๆ ข้อมูลถูกโจรกรรมและต่อมาถูกนำมาใช้ก่ออาชญากรรม เช่น กระทำธุรกรรมที่มิได้รับความยินยอม เป็นต้น ความจริง ผู้เข้าร่วมการสำรวจ 36% เคยเผชิญภัยโจรกรรมเกี่ยวกับข้อมูลระบุตัวตน (identity threat) ไม่แบบใดก็แบบหนึ่งในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา โดยมากเกี่ยวข้องกับอีเมล์ขยะ การแอบโจรกรรมข้อมูลส่วนบุคคล รหัสผ่าน และข้อมูลสำคัญอื่นๆ เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม แบบสอบถามสำรวจความเก๋าไซเบอร์ของแคสเปอร์สกี้ แลปพบว่า มีเพียง 38% ของผู้ใช้ที่เห็นความสำคัญของการสร้างรหัสผ่านที่แข็งแกร่งขึ้นมาใหม่ทุกสำหรับทุกๆ บัญชีใช้งานที่มี ซ้ำร้าย เกินกว่าครึ่ง (57%) เก็บรหัสในที่ไม่ปลอดภัย บ้างเขียนรหัสลงบนกระดาษ หรือเก็บไว้ในโทรศัพท์มือถือ
"แฮคเกอร์ไล่ล่าข้อมูลส่วนตัว ที่ติดต่อ และเรื่องเงินๆ ทองๆ ของคุณ ดังนั้นการตั้งรหัสผ่านสำหรับบัญชีที่เราเก็บข้อมูลสำคัญจึงเปรียบเสมือนการล็อคประตู แต่กลับปล่อยกุญแจคาเอาไว้ รหัสผ่านคือ ตัวตนคุณแบบดิจิตอล และบัญชีใช้งานของคุณก็ขึ้นอยู่กับรหัสเหล่านี้ให้แน่ใจว่าทุกครั้งที่เรียกใช้นั้นคือคุณแน่นอน พูดง่ายๆ ก็คือหากคุณไม่จริงจังเรื่องรหัสผ่าน ก็ต้องเสี่ยงกันหน่อย คำพูดที่ว่า "ฉันไม่ได้เป็นคนส่งไปนะ ฉันโดนแฮค" ดูไม่น่าเชื่อถือพอสำหรับเพื่อนที่ได้รับผลกระทบต้องตกเป็นเหยื่อ หรือเพื่อนร่วมงานที่อยู่ที่ต้องรับมัลแวร์หรือหลอกเอาเงิน การตั้งรหัสผ่านที่ดีจึงเป็นขั้นตอนสร้างความปลอดภัยอย่างง่ายแต่แข็งแกร่ง และลดความเสี่ยงลงได้" เอลิน่า คาร์เชนโก้ หัวหน้าฝ่ายบริหารผลิตภัณฑ์สำหรับผู้ใช้ทั่วไป แคสเปอร์สกี้ แลป กล่าว
แคสเปอร์สกี้ แลป เข้าใจดีถึงความพยายามของผู้ใช้ในการสร้างรหัสที่แปลก จดจำง่าย หรือแบบที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ เพราะว่ากลัวว่าจะลืม ดังนั้น จึงขอแนะนำให้ผู้ใช้ลงทุนในโซลูชั่นเพื่อความปลอดภัยซึ่งเก็บและเรียกใช้แม้แต่รหัสที่ซับซ้อนได้ โดยจะเก็บให้พ้นมือของแฮคเกอร์
โซลูชั่นชั้นนำระดับเรือธงเพื่อการใช้งานของคอนซูมเมอร์ Kaspersky Total Security – Multi-Device มาพร้อมกับโมดูลผู้จัดการรหัสผ่าน (Password Manager Module) ผู้ใช้สามารถเก็บรหัสและข้อมูลระบุตัวตนได้ง่ายและปลอดภัย และสามารถประสานข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ได้ด้วย สามารถล็อกออนไปยังเว็บไซต์โดยอัตโนมัติด้วยคลิกเดียวอย่างปลอดภัย
ข้อมูลเพิ่มเติม
• วิธีการออนไลน์ได้อย่างปลอดภัย
https://blog.kaspersky.com/tag/cybersavvy
• งานวิจัย เรื่อง Consumer Security Risk Survey 2015
https://press.kaspersky.com/files/2015/08/Kaspersky_Lab_Consumer_Security_Risks_Survey_2015_ENG.pdf
• งานวิจัย เรื่อง Are you cyber savvy?
https://press.kaspersky.com/files/2015/09/Cyber_savvy_quiz_report.pdf
เกี่ยวกับแคสเปอร์สกี้ แลป
แคสเปอร์สกี้ แลป คือหนึ่งในบริษัทระบบความปลอดภัยไซเบอร์ที่เติบโตเร็วที่สุดของโลก และเป็นบริษัทที่ไม่ได้อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด โดยติดอันดับหนึ่งในสี่ของโลกในลำดับผู้ให้บริการโซลูชั่นเพื่อความปลอดภัยด้านไอที (ไอดีซี ปี พ.ศ. 2557) นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา แคสเปอร์สกี้ แลป นับเป็นผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมด้านความปลอดภัยไซเบอร์ และนำเสนอโซลูชั่นเพื่อความปลอดภัยทางดิจิตอลที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งให้ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับภัยคุกคามสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ เอสเอ็มอี และคอนซูมเมอร์ แคสเปอร์สกี้ แลป เป็นบริษัทสากล ปฏิบัติงานกระจายอยู่ 200 ประเทศและเขตท้องที่ทั่วโลก คอยให้การปกป้องดูแลความปลอดภัยให้แก่ผู้ใช้มากกว่า 400 ล้านคนทั่วโลก ท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.kaspersky.com