กรุงเทพฯ--16 พ.ย.--อิมเมจอิมแพค
อุตสาหกรรมปิโตรเคมีของไทยจำเป็นต้องลงทุนในเทคโนโลยีด้านวิศวกรรมการผลิตและเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์มากขึ้นเพื่อขยายกำลังการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดอันสืบเนื่องมาจากราคาน้ำมันดิบที่เพิ่มสูงขึ้น ในขณะเดียวกันการเพิ่มผลผลิตด้านปิโตรเคมี ก่อให้เกิดความเสี่ยงด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม และการจัดการเรื่องพลังงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการหาพลังงานทดแทนเพื่อลดการใช้น้ำมัน
นายลี บุน เตียง ผู้อำนวยการโครงการวิศวกรรม ของ บริษัท สิงคโปร์ เอ็กซ์ฮิบิชั่น เซอร์วิสเซส จำกัด กล่าวว่า สถานการณ์ดังกล่าวผลักดันให้ธุรกิจปิโตรเคมี จำเป็นต้องลงทุนในนวัตกรรม เครื่องมือวิเคราะห์ ควบคุมการผลิต เพิ่มมากขึ้น บริษัทชั้นนำของโลกและในภูมิภาคเอเชียที่เกี่ยวข้องจึงได้ร่วมมือกับ สิงคโปร์ เอ็กซ์ฮิบิชั่น เซอร์วิสเซส จัดงาน “CIA2005” หรือ “ChemAsia, InstrumentAsia, AnaLabAsia” ควบคู่ไปกับงาน EnvironmexAsia and WatermexAsia2005 ขึ้นที่
ซันเท็คซิตี้ สิงคโปร์ ระหว่างวันที่ 29 พฤศจิกายน ถึง 2 ธันวาคม ศกนี้ ขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรม โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะนำเสนอนวัตกรรม ผลิตภัณฑ์ และบริการด้านเทคโนโลยีใหม่ๆเพื่ออุตสาหกรรมปิโตรเคมี และโรงกลั่นน้ำมัน รวมไปถึงอุตสาหเคมีภัณฑ์ อุตสาหกรรมยา เทคโนโลยีชีวภาพ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ และอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารและเครื่องดื่ม
นอกจากนี้ยังมีการจัดการสัมมนาในหัวข้อที่น่าสนใจควบคู่ไปกับงานนิทรรศการ ระหว่าง วันที่ 30 พฤศจิกายน ถึง 2 ธันวาคม ซึ่งเน้นเนื้อหาเรื่องเกี่ยวกับความปลอดภัย ความน่าเชื่อถือ ระบบเครือข่ายอุตสาหกรรม การสื่อสาร การจัดการผลผลิตและสินทรัพย์ อุปกรณ์ภาคสนามเกี่ยวกับการเซ็นเซอร์ และการวัด รวมทั้งกลยุทธ์ด้านออโตเมชั่นและการควบคุมกระบวนการผลิต เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เข้าชมงานและผู้ร่วมสัมมนาซึ่งต่างมุ่งที่จะพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและเทคโนโลยีชีวภาพ
ในโอกาสเดียวกันนี้ ยังได้จัดการประชุมใหญ่ในเรื่องที่เป็นประเด็นสำคัญของอุตสาหกรรม อีก 2 การประชุมขึ้นพร้อมๆกัน เพื่อให้ผู้เข้าร่วมงาน CIA 2005 ได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่ ได้แก่ การประชุมสุดยอดด้านการจัดการของเสียแห่ง เอเชีย ซึ่งจัดขึ้นพร้อมๆกันและการประชุมเรื่อง พลังงานที่ยั่งยืนในเอเชีย 2005 ซึ่งจะมีผู้เชี่ยวชาญจากธนาคารโลก เชลล์ แนตสตีล และธนาคารทหารไทยเป็นผู้นำเสนอในการประชุมเพื่อหารือกันเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อม และพลังงาน ยุทธศาสตร์การใช้ทรัพยากรน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด การลดของเสียและการนำกลับมาใช้ใหม่ การอนุรักษ์พลังงาน แหล่งพลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานลม พลังงานชีวมวล พลังงานน้ำ พลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานความร้อนจากใต้พิภพ
นายพัตชามูธู ลังโกแวน ผู้ประสานงานประจำประเทศไทย ด้านการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและสังคม ของธนาคารโลกกล่าวว่าในรอบ 10 ปี ที่ผ่านมา ประเทศไทยได้พยายามจัดการกับปัญหาของเสีย ซึ่งมีปริมาณสูงถึง22 ล้านตันต่อปี ความสำเร็จตลอดจนความสนใจของภาครัฐ ประชาชน และธุรกิจเอกชนทำให้ประเทศไทยเดินหน้าที่จะจัดการกับปัญหาที่ยังไม่ลุล่วง ได้แก่การลดปริมาณของเสียและการนำของเสียกลับมาใช้ใหม่ ปรับปรุงการบำบัดและกำจัดของเสียชนิดแข็งและเป็นพิษรวมทั้งส่งเสริมหน่วยงานที่สนับสนุน และกฎเกณฑ์ต่างๆรวมทั้งกำหนดกรอบด้านการเงิน และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนมากขึ้น
ในที่เข้าชมงาน CIA2005 จะได้พบกับผู้แทนของบริษัทชั้นนำที่นำบริการและผลิตภัณฑ์ด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องมานำเสนอ เช่น ไดฮันแล็บเทค, อะเคมา, ฟิชเชอร์ ไซเอนติฟิค, เรทซ์, ว็อทแมน, ไอทีเอส, เมิร์ค, เอสโค โกลบอล, อีเอ็มซีแล็บ และ จูแลบโบ เป็นต้น และนอกจากนี้ยังมีกลุ่มบริษัทจากออสเตรเลีย เยอรมัน เกาหลี สิงคโปร์ และอังกฤษมาร่วมแสดงด้วย
“สิ่งที่ผู้เข้าชมงานจะได้รับชมก็คือการแสดงนิทรรศการเครื่องมือและระบบการวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ สารเคมีเพื่อการใช้ในห้องทดลอง ระบบเครือข่ายสำหรับอุตสาหกรรม อุปกรณ์ภาคสนาม เครื่องมือ ระบบการควบคุม เครื่องมือเซ็นเซอร์ ระบบการวัด ทดสอบ และการกำหนดค่ามาตรฐาน อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัย ระบบการถ่ายทอดความร้อน รวมทั้งเทคโนโลยีการกรองและคัดแยก รวมทั้งการได้รับข้อมูลอื่นๆ อีกมาก”
รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการประชุมและงานงาน CIA2005 สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่ www.cia-asia.com และงานEnviromexAsia/ WatermexAsia ที่ www.environmexasia.com
รายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อ บริษัท อิมเมจอิมแพค จำกัด
อรธิชา รัตนวรรณาทิพย์
โทร 02 2583 6809-13 ต่อ 115
แฟกซ์ 02 253 6805--จบ--