กรุงเทพฯ--9 พ.ย.--กลุ่มสารนิเทศการคลัง กระทรวงการคลัง
สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ได้แถลงข่าวการดำเนินงานของ สบน. ในเดือนกันยายน 2558 ดังนี้
1. รายงานหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนกันยายน 2558
ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ 30 กันยายน 2558 มีจำนวน 5,783,323.19 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 42.99 ของ GDP เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นสุทธิ 46,679.11 ล้านบาท
โดยมีรายละเอียด ดังนี้
v หนี้ของรัฐบาล มียอดหนี้คงค้างเพิ่มขึ้น 46,507.65 ล้านบาท ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเกิดจาก
- การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณและการบริหารหนี้ เพิ่มขึ้น 46,137.53ล้านบาท มีรายละเอียด ดังนี้
1. การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ จำนวน 15,637.53 ล้านบาท
2. การออกตั๋วสัญญาใช้เงิน จำนวน 10,115 ล้านบาท เพื่อทดแทนจำนวนตั๋วเงินคลังที่ประมูลได้ไม่ครบ
3. การเพิ่มขึ้นของตั๋วเงินคลังสุทธิ จำนวน 20,385 ล้านบาท และการปรับโครงสร้างเงินกู้ระยะสั้นไปเป็นพันธบัตร จำนวน 20,000 ล้านบาท ทำให้หนี้ระยะสั้นเพิ่มขึ้น 385 ล้านบาท
- การกู้เงินเพื่อการลงทุนจากแหล่งเงินกู้ในประเทศและต่างประเทศ จำนวน 13,420.34ล้านบาท มีรายละเอียด ดังนี้
1. การกู้เงินเพื่อให้รัฐวิสาหกิจกู้ต่อ จำนวน 3,131.34 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น (1) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย จำนวน 1,736.01 ล้านบาท สำหรับดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง สายสีน้ำเงิน และสายสีเขียว (2) การรถไฟแห่งประเทศไทย จำนวน 1,002.44 ล้านบาท สำหรับดำเนินโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต และ 358.04 ล้านบาท สำหรับดำเนินโครงการปรับปรุงทางรถไฟที่ไม่ปลอดภัย 8 สายทาง และ (3) กรมทางหลวง จำนวน 34.85 ล้านบาท สำหรับดำเนินโครงการก่อสร้างทางสายหลักเป็น 4 ช่องจราจร (ระยะที่ 2)
2. การกู้เงินบาททดแทนการกู้เงินตราต่างประเทศ จำนวน 10,289 ล้านบาท
- การชำระหนี้ต้นเงินกู้ที่รัฐบาลกู้เพื่อชดเชยความเสียหายให้แก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ จำนวน 12,399.99 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น ภายใต้ พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟู (FIDF 1) จำนวน 4,882.34ล้านบาท และภายใต้ พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูระยะที่ 2 (FIDF 3) จำนวน 7,517.65 ล้านบาท
v หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน มียอดหนี้คงค้างเพิ่มขึ้น 13,541.02 ล้านบาท
โดยการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเกิดจาก
- ผลของอัตราแลกเปลี่ยน ทำให้หนี้ต่างประเทศสกุลต่างๆ เพิ่มขึ้น 3,472.34 ล้านบาท
- การเบิกจ่ายเงินกู้มากกว่าการชำระคืนหนี้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทำให้หนี้เพิ่มขึ้น 10,068.68 ล้านบาท โดยการเพิ่มขึ้นที่สำคัญเกิดจากการเช่าซื้อเครื่องบินโบอิ้ง 777-300 ER จำนวน 5,845.57ล้านบาท และการออกหุ้นกู้ 8,000 ล้านบาท ของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และการออกพันธบัตรของการไฟฟ้านครหลวง 4,000 ล้านบาท เพื่อการลงทุนตามโครงการ
v หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) มียอดหนี้คงค้างลดลง 8,879.99ล้านบาท โดยมีรายการที่สำคัญ ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรชำระหนี้เงินต้นที่กู้มาเพื่อดำเนินโครงการรับจำนำข้าว โดยใช้เงินจากการระบายข้าว จำนวน 6,774.49 ล้านบาท และชำระหนี้เงินต้นที่กู้มาเพื่อปรับโครงสร้างเงินทุนและรองรับภารกิจใหม่ จำนวน 1,000 ล้านบาท และธนาคารอาคารสงเคราะห์ไถ่ถอนพันธบัตรที่ครบกำหนด จำนวน 1,000 ล้านบาท
v หน่วยงานของรัฐ มียอดหนี้คงค้างลดลงจากเดือนก่อนหน้า จำนวน 4,489.57 ล้านบาท
โดยรายการที่สำคัญเกิดจากการชำระคืนต้นเงินกู้ของสำนักงานกองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย จำนวน 4,516.06 ล้านบาท
หนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนกันยายน 2558 เท่ากับ 5,783,323.19 ล้านบาท แบ่งเป็น หนี้ในประเทศ 5,423,040.12 ล้านบาท หรือร้อยละ 93.77 และหนี้ต่างประเทศ 360,283.07 ล้านบาท (ประมาณ 10,173ล้านเหรียญสหรัฐ) หรือเท่ากับร้อยละ 6.23 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง และหากเปรียบเทียบกับเงินสำรองระหว่างประเทศ จำนวน 155,533.43 ล้านเหรียญสหรัฐ (ข้อมูล ณ 30 กันยายน 2558) หนี้ต่างประเทศ จะคิดเป็นสัดส่วนเพียงร้อยละ 6.54 ของเงินสำรองระหว่างประเทศ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงเสถียรภาพและความมั่นคงในด้านการเงินของประเทศ
โดยหนี้สาธารณะแบ่งออกเป็นหนี้ระยะยาว 5,576,038.80 ล้านบาท หรือร้อยละ 96.42และมีหนี้ระยะสั้น 207,284.39 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.58 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง
2. รายงานผลการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐที่ดำเนินการโดยสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ประจำเดือนกันยายน 2558
สบน. มีการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐ วงเงินรวม 122,115.18 ล้านบาท แบ่งเป็น หนี้ของรัฐบาล จำนวน 85,543.61 ล้านบาท และหนี้รัฐวิสาหกิจ จำนวน 36,571.57 ล้านบาท
v การบริหารจัดการหนี้ของรัฐบาล วงเงิน 85,543.61 ล้านบาท ประกอบด้วย
- ผลการกู้เงินในประเทศของรัฐบาล จำนวน 38,135.58 ล้านบาท
1. การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ จำนวน 15,637.53 ล้านบาท
2. การออกตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อทดแทนจำนวนตั๋วเงินคลังที่ประมูลได้ไม่ครบ จำนวน 10,115 ล้านบาท
3. การเบิกจ่ายเงินกู้ให้กู้ต่อ จำนวน 2,094.05 ล้านบาท
4. การเบิกจ่ายเงินกู้บาททดแทนการกู้เงินตราต่างประเทศ จำนวน 10,289 ล้านบาท
- การเบิกจ่ายเงินกู้จากต่างประเทศของรัฐบาล กระทรวงการคลังได้มีการเบิกจ่ายเงินกู้ จำนวน 1,037.29 ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. การเบิกจ่ายเงินกู้จากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) จำนวน 1,002.44 ล้านบาท เพื่อให้กู้ต่อแก่การรถไฟแห่งประเทศไทย สำหรับโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต
2. การเบิกจ่ายเงินกู้จากธนาคารพัฒนาเอเชีย จำนวน 34.85 ล้านบาท ของกรมทางหลวงสำหรับโครงการก่อสร้างทางสายหลักให้เป็น 4 ช่องจราจร (ระยะที่ 2)
- การปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศ จำนวน 20,000 ล้านบาท แบ่งเป็น
1. การปรับโครงสร้างหนี้ R-bill โดยการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ จำนวน 10,000 ล้านบาท
2. การปรับโครงสร้างหนี้สัญญาเงินกู้ระยะสั้น โดยการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ จำนวน 10,000 ล้านบาท
- การชำระหนี้ของรัฐบาล จำนวน 26,370.74 ล้านบาท แบ่งเป็น
1. การชำระหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง จำนวน 10,163.88 ล้านบาท แบ่งเป็น
- ชำระต้นเงิน จำนวน 1,419.90 ล้านบาท โดยใช้เงินงบประมาณทั้งจำนวน แบ่งเป็น
(1) การชำระหนี้ที่อยู่ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการวางระบบบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ. 2555 จำนวน 1,409 ล้านบาท
(2) การชำระหนี้ต่างประเทศ จำนวน 7.66 ล้านบาท
และ (3) การชำระหนี้เงินกู้ที่รัฐบาลให้กู้ต่อแก่การรถไฟแห่งประเทศไทย จำนวน 3.24 ล้านบาท
- ชำระดอกเบี้ย จำนวน 8,689.09 ล้านบาท โดยใช้เงินงบประมาณ และเงินจากบัญชีเงินกู้เพื่อการบริหารหนี้ แบ่งเป็น ดอกเบี้ยหนี้ในประเทศ 8,679.09 ล้านบาท และดอกเบี้ยหนี้ต่างประเทศ10 ล้านบาท
- ชำระค่าธรรมเนียมสำหรับการดำเนินธุรกรรมแลกพันธบัตร จำนวน 54.89 ล้านบาทโดยใช้เงินงบประมาณทั้งจำนวน
2. การชำระหนี้ที่รัฐบาลกู้เพื่อชดเชยความเสียหายให้แก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ จำนวน 16,206.86 ล้านบาท โดยใช้เงินจากบัญชีสะสมเพื่อการชำระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ แบ่งเป็น
- การชำระหนี้ภายใต้ พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ (FIDF 1) จำนวน 5,741.79 ล้านบาท โดยเป็นการชำระต้นเงิน 4,882.34 ล้านบาท และชำระดอกเบี้ย 859.45 ล้านบาท
- การชำระหนี้ภายใต้ พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ (FIDF 3) จำนวน 10,465.07 ล้านบาท โดยเป็นการชำระต้นเงิน 7,517.65 ล้านบาท และชำระดอกเบี้ย 2,947.42 ล้านบาท
v การบริหารจัดการหนี้รัฐวิสาหกิจ วงเงิน 36,571.57 ล้านบาท ประกอบด้วย
- การกู้เงินในประเทศของรัฐวิสาหกิจ จำนวน 6,799 ล้านบาท โดยเป็นการกู้เงินในประเทศในรูปของพันธบัตรรัฐวิสาหกิจที่รัฐบาลค้ำประกันและไม่ค้ำประกันเพื่อการลงทุนตามโครงการของการไฟฟ้านครหลวง การเคหะแห่งชาติ การประปาส่วนภูมิภาค และการรถไฟแห่งประเทศไทย และเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนและอื่นๆ ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
- การเบิกจ่ายเงินกู้ต่างประเทศ จำนวน 5,845.57 ล้านบาท โดยเป็นการเช่าซื้อเครื่องบินโบอิ้ง 777-300 ER ของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
- การปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศของรัฐวิสาหกิจ จำนวน 23,927 ล้านบาท ประกอบด้วยการปรับโครงสร้างหนี้ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร 10,000 ล้านบาท การเคหะแห่งชาติ 4,700 ล้านบาท การรถไฟแห่งประเทศไทย 4,227 ล้านบาท ธนาคารอาคารสงเคราะห์ 4,000 ล้านบาท และการทางพิเศษแห่งประเทศไทย 1,000 ล้านบาท