กรุงเทพฯ--9 พ.ย.--ปตท.
สัปดาห์ที่ผ่านมาราคาเฉลี่ยน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปปรับเพิ่มขึ้นทุกชนิดโดยน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ปรับตัว เพิ่มขึ้น 0.31 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 48.66 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ราคาเฉลี่ยน้ำมันดิบดูไบ (Dubai) เพิ่มขึ้น 1.69 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 45.30 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ราคาเฉลี่ยน้ำมันดิบเวสท์เท็กซัสฯ (WTI) เพิ่มขึ้น 0.82 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 45.97 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ราคาเฉลี่ยน้ำมันเบนซินออกเทน 95 เพิ่มขึ้น 0.12 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 61.25 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และราคาเฉลี่ยน้ำมันดีเซลเพิ่มขึ้น 2.20 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 59.84 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ปัจจัยที่ส่งผลกระทบ ได้แก่
ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงบวก
· กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ รายงานการใช้จ่ายของผู้บริโภค (Consumer Spending) เดือน ก.ย. 58เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 0.1% ทั้งนี้ การใช้จ่ายของผู้บริโภค คิดเป็น 70% ของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในสหรัฐฯ
· AutoData Corp. รายงานยอดขายรถยนต์ใหม่ในตลาดสหรัฐฯเดือน ต.ค. 58 เพิ่มขี้นจากเดือนก่อน13.6%อยู่ที่ 1,455,516 คัน และปรับขึ้นติดต่อกัน 16 เดือน และยอดขายรถใหม่ ตั้งแต่เดือน ม.ค. – ต.ค.58 เพิ่มขี้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน 5.8 % อยู่ที่ 14.5 ล้านคัน แสดงถึงความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเริ่มฟื้นตัว โดยบริษัท General Motor ครองยอดขายอันดับ 1
· Baker Hughes รายงานปริมาณแท่นขุดเจาะน้ำมันในสหรัฐฯ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 30 ต.ค.58 ลดลงจากสัปดาห์ก่อน 16 แท่น อยู่ที่ 578 แท่น ซึ่งเป็นการปรับลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 9 และทำให้จำนวนแท่นผลิตที่ดำเนินการอยู่มีจำนวนต่ำสุดตั้งแต่เดือน มิ.ย. 2553
· Energy Information Administration (EIA) รายงานปริมาณการผลิตน้ำมันดิบในสหรัฐฯ เดือน ส.ค. 58 ลดลงจากเดือนก่อน 45,000 บาร์เรลต่อวัน อยู่ที่ 9.32 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยปริมาณการผลิตShale oil ในรัฐ North Dakota ลดลงจากเดือนก่อน 20,000 บาร์เรลต่อวัน อยู่ที่ 1.18 ล้านบาร์เรลต่อวัน และปริมาณการผลิตในรัฐ Texas ลดลงจากเดือนก่อน 27,000 บาร์เรลต่อวัน อยู่ที่ 3.24 ล้านบาร์เรลต่อวัน
· กระทรวงการค้า อุตสาหกรรมและพลังงาน (Ministry of Trade, Industry and Energy) ของเกาหลีใต้รายงานปริมาณนำเข้าน้ำมันดิบ เดือน ต.ค. 58 เพิ่มขี้นจากเดือนก่อน 9.7%อยู่ที่ 81.7 ล้านบาร์เรล
กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงลบ
· สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (National Bureau of Statistics) รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI)ภาคการผลิตของจีนเดือน ต.ค. 58 อยู่ที่ระดับ 49.8 จุด ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อน แต่อยู่ในระดับต่ำกว่า 50 จุด ที่แสดงภาคการผลิตถดถอยต่อเนื่อง 3 เดือน และเป็นระดับต่ำสุดตั้งแต่เดือน มี.ค. 52สะท้อนว่าภาคการผลิตยังอ่อนแรง ขณะที่ PMI ภาคบริการของจีนเดือน ต.ค. 58 ลดลงจากเดือนก่อน0.3 จุด อยู่ที่ 53.1 จุดขยายตัวต่ำสุดใน 7 ปี
· กระทรวงพลังงานรัสเซียรายงานยอดผลิตน้ำมันดิบในเดือน ต.ค. 58 เพิ่มขึ้นจากจากเดือนก่อน 0.4 % มาอยู่ที่ 10.78 ล้านบาร์เรลต่อวัน ทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ (หลังสหภาพโซเวียตล่มสลาย) ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 ทั้งนี้ ผู้ผลิตในประเทศเร่งผลิตแม้ราคาน้ำมันจะตกต่ำ เนื่องจากช่วยยกรายได้เมื่อคิดเป็นเงินรูเบิลซึ่งอ่อนค่าอย่างรุนแรง
· Reuters รายงานปริมาณการผลิตน้ำมันดิบจากแหล่งผลิตในทะเลเหนือ ในเดือน ธ.ค. 58 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 40,000 บาร์เรลต่อวัน มาอยู่ที่ 2.05 ล้านบาร์เรลต่อวัน ทำสถิติสูงสุดในรอบ 2 ปี โดยแหล่งผลิต Brent, Forties, Oseberg และ Ekofisk (BFOE) ที่ใช้คำนวณราคาน้ำมันดิบ Brent เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 100,000 บาร์เรลต่อวัน มาอยู่ที่ 1.03 ล้านบาร์เรลต่อวัน
· EIA รายงานปริมาณสำรองน้ำมันดิบเชิงพาณิชย์ของสหรัฐฯ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 30 ต.ค. 58 เพิ่มขึ้นสัปดาห์ก่อน 2.8 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ระดับ 482.8 ล้านบาร์เรล
แนวโน้มราคาน้ำมันดิบ
ราคาน้ำมันดิบปรับลดลงจากค่าเงินดอลลาร์สูงขึ้นหลังตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรของสหรัฐฯ เดือน ต.ค.เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 271,000 ตำแหน่ง และเป็นระดับสูงสุดตั้งแต่เดือน ธ.ค. 57 ขณะที่อัตราการว่างงานลดเหลือ 5% ซึ่งต่ำสุดในรอบ 5 ปี ถือเป็นปัจจัยบวกหนุนการพิจารณาปรับขึ้นดอกเบี้ยของ FEDประกอบกับ Reuters รายงานผู้ผลิต Shale oil ลดงบการใช้จ่ายลงทุนประมาณ 30-40% ที่ในปี 2558 และ ผู้ผลิตเตรียมลดต้นทุนลงอีก 30% ในปี 2559 เพื่อให้สอดคล้องกับภาวะราคาน้ำมันดิบ ซึ่งอาจกระทบต่อปริมาณการผลิตน้ำมันในสหรัฐฯ ด้านอุปสงค์น้ำมันในจีนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากมาตรการลดภาษี (ผู้ซื้อรถยนต์ขนาดเครื่องต่ำกว่า 1.6 ลิตร ตั้งแต่ตอนนี้จนถึงสิ้นปี 59 จะจ่ายภาษี 5% จากปกติ 10%) เพื่อกระตุ้นตลาดรถยนต์ในจีนทำให้ยอดขายรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเดือน ต.ค.58 อยู่ที่ 1.85 ล้านคัน (+ 11.3% MoM) และสูงสุดนับแต่เดือน มี.ค. 58 อย่างไรก็ตาม อียิปต์เตรียมความพร้อมรองรับการขนส่งน้ำมันดิบจากอิหร่านผ่านท่อขนส่งน้ำมันดิบSUMED pipeline ที่ใช้สูบถ่ายน้ำมันดิบจากทะเลเมดิเตอร์เรเนียนไปยังทะเลแดง เพื่อลดระยะเวลาการเดินเรือบรรทุกน้ำมันดิบผ่านคลองสุเอซ ทั้งนี้นักวิเคราะห์คาดว่า IAEA จะตรวจสอบโรงงานนิวเคลียร์อิหร่าน กลางเดือน ต.ค. 58 และจะส่งรายงานผลการตววจสอบให้ UN เดือน ธ.ค. 58 ด้านการวิเคราะห์ทางเทคนิคสัปดาห์นี้คาดว่าราคาน้ำมันดิบ ICE Brent, WTI และ Dubai จะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 46.41- 49.26 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล , 43.21 - 46.06 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล และ 42.41- 45.26 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล
สถานการณ์ราคาน้ำมันเบนซิน
สัปดาห์ที่ผ่านมาราคาเฉลี่ยน้ำมันเบนซินปรับเพิ่มขึ้นจากข่าวประเทศแถบแอฟริกามีความต้องการใช้น้ำมันเบนซิน อาทิ อียิปต์มีอุปสงค์น้ำมันเบนซินในตลาดจรอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด Egyptian General Petroleum Corp. ออกประมูลซื้อ น้ำมันเบนซิน ek,yog[o:boนมีแผนส่งออกน้ำมันเต95 RON ปริมาณรวม 255,000บาร์เรล-297,500 บาร์เรล ส่งมอบเดือน ธ.ค. 58 , ทางการไนจีเรียออกใบอนุญาตนำเข้า (Import Allocations)น้ำมันเบนซิน ในไตรมาส 4/58 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน 2.6 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ 15.3 ล้านบาร์เรล และ กลุ่มผู้นำเข้าน้ำมันในเคนยาซื้อน้ำมันเบนซิน ปริมาณรวม 1.9 ล้านบาร์เรล ส่งมอบ พ.ย. 58 - ม.ค. 59 ประกอบกับInternational Enterprise Singapore (IES) รายงานปริมาณสำรอง Light Distillate เชิงพาณิชย์ในสิงคโปร์ สัปดาห์สิ้นสุด 4 พ.ย. 58 เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 0.5 ล้านบาร์เรล อยู่ที่ 10.5 ล้านบาร์เรล สูงสุดในรอบ 2สัปดาห์ อย่างไรก็ตาม โรงกลั่นในจีนมีแผนส่งออกน้ำมันเบนซิน ได้แก่บริษัท PetroChina เตรียมส่งออกน้ำมันเบนซินปริมาณ 918,000 บาร์เรล จากโรงกลั่นน้ำมัน Guangxi (กำลังการกลั่น 240,000 บาร์เรลต่อวัน) ในเดือน พ.ย. 58 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 50% บริษัท China Petrochemical Corp. (Sinopec) มีแผนส่งออก Gasolineจากโรงกลั่นน้ำมัน Hainan (กำลังการกลั่น 184,000 บาร์เรลต่อวัน) ในเดือน พ.ย. 58 ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อน ปริมาณรวม 510,000 บาร์เรล หรือ 2 เที่ยวเรือ และ West Pacific Petrochemical Corp. (Wepec) ของจีนเตรียมส่งออกน้ำมันเบนซิน ปริมาณ 1.4 ล้านบาร์เรล จากโรงกลั่นน้ำมัน Dalian (กำลังการกลั่น 200,000บาร์เรลต่อวัน) ในเดือน พ.ย. 58 คงที่จากเดือนก่อนหน้า สัปดาห์นี้คาดว่าราคาน้ำมันเบนซินจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 61.21-64.00 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
สถานการณ์ราคาน้ำมันดีเซล
สัปดาห์ที่ผ่านมาราคาเฉลี่ยน้ำมันดีเซลปรับเพิ่มขึ้นจาก Platts รายงานตลาดน้ำมันดีเซลl ในเอเชียได้รับแรงสนับสนุนจากอุปสงค์ในตลาดจร จากซาอุดีอาระเบียและแอฟริกาตะวันตก และ Platts รายงานว่าอุปทานน้ำมันดีเซล 0.05% S ในเอเชียขณะนี้ค่อนข้างต่ำ เนื่องจากโรงกลั่นในเอเชียเหนือ สิงคโปร์ และบริเวณทะเลแดงหยุดดำเนินการเป็นจำนวนมาก ขณะที่ IES รายงานปริมาณสำรอง Middle Distillate เชิงพาณิชย์ในสิงคโปร์ สัปดาห์สิ้นสุด 4 พ.ย. 58 ลดลงจากสัปดาห์ก่อน 600 ,000 บาร์เรล อยู่ที่ 13.2 ล้านบาร์เรล ต่ำสุดในรอบกว่า 2.5เดือน อย่างไรก็ตาม Pertamina ของอินโดนีเซียคาดว่าจะงดนำเข้าน้ำมันดีเซลในปี 59 เนื่องจากรัฐบาลส่งเสริมให้ใช้ Biodieselด้วยการอุดหนุน (Subsidy) รวมทั้งเพิ่มกำหนดสัดส่วนการใช้ Ethanol ขั้นต่ำในน้ำมันดีเซลสำหรับภาคขนส่ง จาก 10 % เป็น 15 % ในปี 2558 นี้ และเพิ่มเป็น 20 % ในปี 2559 ในขณะที่ Platts รายงานว่าArbitrage ของน้ำมันดีเซลกำมะถันต่ำ หรือ Ultra-Low Sulfur Diesel (ULSD) จากอ่าวเปอร์เซียและอินเดียสู่ตะวันตกปิด ส่งผลให้อุปทานล้นตลาดในเอเชีย สัปดาห์นี้คาดว่าราคาน้ำมันดีเซลจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ57.00-59.00 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล