SME ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่เน้นการส่งออกมีแนวโน้มเติบโตเป็นเลขสองหลัก แต่กระนั้นก็ดี ยังมีผู้ประกอบการ SME ถึง 64% ที่ยังไม่ใช้โอกาสนี้ให้เป็นประโยชน์อย่างเต็มที่

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday November 10, 2015 15:37 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--10 พ.ย.--เกรลิ่ง ผลวิจัยล่าสุดที่ทำการสำรวจทั่วโลกโดย FedEx Express (FedEx) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของบริษัทขนส่งด่วนรายใหญ่ที่สุดของโลก FedEx Corp (NYSE: FDX) ระบุว่าวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SME ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่ส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศมีแนวโน้มที่จะมีการเติบโตสูงถึง 11% หรือมากกว่าผู้ประกอบการ SME ที่ไม่ได้ส่งออกเป็นสองเท่า งานวิจัยชิ้นนี้ได้ทำการสำรวจใน 6 ตลาดสำคัญในภูมิภาค[1] พบว่า 22% ของผู้ประกอบการ SME ที่ส่งออกมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว เมื่อเทียบกับเพียง 11% ของผู้ประกอบการ SME ที่ขายสินค้าเฉพาะในตลาดภายในประเทศของตน งานวิจัยอิสระในหัวข้อ โอกาสทั่วโลก: พิจารณาแนวโน้มการนำเข้าและส่งออกในกลุ่มธุรกิจขนาดเล็ก เผยให้เห็นว่าธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ส่งออกมีโอกาสทำรายได้ที่มากกว่า โดยในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ธุรกิจ SME ทำรายได้จากการส่งออกเฉลี่ย 1.8 ล้านเหรียญสหรัฐในแต่ละปี ซึ่งถือเป็นภูมิภาคที่มีรายได้สูงที่สุดในบรรดาสี่ภูมิภาคใหญ่ทั่วโลกที่มีการสำรวจในงานชิ้นนี้ โดยเฉพาะในตลาดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีตัวเลขสูงกว่านี้มาก อาทิ SME ในไต้หวันสามารถทำรายได้จากการส่งออกโดยเฉลี่ยที่ 2.8 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี ซึ่งถือเป็นประเทศที่มีรายได้จากการส่งออกที่สูงที่สุดในการสำรวจครั้งนี้ รองลงมาเป็นฮ่องกงที่มีรายได้จากการส่งออกโดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 2.6 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี "ธุรกิจขนาดเล็กมีบทบาทสำคัญอย่างมากในระบบเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และงานวิจัยชิ้นนี้ได้สะท้อนให้เห็นว่าธุรกิจเหล่านี้สามารถที่จะเติบโตได้หากรู้จักคว้าโอกาสในการขายสินค้าของพวกเขาไปยังตลาดต่างประเทศ" คาเร็น เรดดิงตัน ประธานบริษัท FedEx Express เอเชียแปซิฟิก กล่าว "อย่างไรก็ตาม ในขณะที่ผู้ประกอบการ SME ในเอเชียแปซิฟิกหลายรายมองเห็นศักยภาพของการส่งออก แต่ก็ไม่ยังไม่มั่นใจในความสามารถของตนที่จะแปรเปลี่ยนศักยภาพนั้นให้เป็นความสำเร็จทางธุรกิจได้ เพราะยังขาดคำแนะนำและการสนับสนุนที่จำเป็น งานวิจัยชิ้นนี้จึงเปรียบเสมือนสัญญาณแจ้งเตือนไปยังผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน เพราะการช่วยให้ SMEประสบความสำเร็จในการส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศย่อมส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจของภูมิภาคโดยรวม" แม้จะมีโอกาสที่มากมายดังที่กล่าวมา แต่ SME หลายรายยังคงลังเลที่จะมุ่งเป้าไปที่การส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ ณ ปัจจุบัน มี SME ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เพียง 36% ที่ส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ แม้จะมีสัดส่วนที่มากถึง 77% ที่ตระหนักดีว่ามีลูกค้าอีกมากมายที่กระจายอยู่ทั่วโลก หนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เป็นเช่นนี้ดูเหมือนจะมาจากการขาดซึ่งคำแนะนำและการสนับสนุนที่ดีนั่นเอง ทั้งนี้ พบว่ามีผู้ประกอบการ SME ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเพียง 10% เท่านั้นที่เชื่อว่าพวกเขาได้รับการสนับสนุนที่ดีเพียงพอในการที่จะประสบความสำเร็จได้ในตลาดต่างประเทศ ซึ่งเป็นสัดส่วนที่น้อยที่สุดในบรรดา 4 ภูมิภาคที่ได้ทำการสำรวจครั้งนี้ โลจิสติกส์ ถือว่ามีบทบาทสำคัญในการแก้ปัญหาช่องว่างในเรื่องความเชื่อมั่นนี้ โดยผู้ประกอบการ SME ในไต้หวันและสิงคโปร์จัดอันดับผู้ให้บริการโลจิสติกส์ให้มีความสำคัญอันดับหนึ่งในเรื่องการเป็นแหล่งที่มีผู้เชี่ยวชาญในการส่งออก และผู้ประกอบการ SME ใน 5 ตลาดจาก 6 ตลาดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจัดอันดับผู้ให้บริการโลจิสติกส์ให้มีความสำคัญอันกับหนึ่ง เพราะผู้ให้บริการโลจิสติกส์ที่เชื่อถือได้จะมีบทบาทสำคัญในการเชื่อมโยงผู้ประกอบการSME ไปยังโอกาสธุรกิจในตลาดต่างประเทศ และสร้างประสบการณ์ที่ผู้ประกอบการ SME ส่งมอบให้กับลูกค้าของพวกเขาให้เป็นรูปธรรม อย่างไรก็ดี แม้จะมีอุปสรรคอย่างที่รับรู้กันดี ทว่าผู้ประกอบการ SME ยังคงมองในแง่ดีเกี่ยวกับโอกาสของการส่งออกในอนาคต ผู้ประกอบการ SME ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกคิดเป็นสัดส่วน 52% คาดว่าพวกเขาจะทำเช่นนั้นในปี 2020 เพิ่มขึ้น 16% จากระดับปัจจุบัน นอกจากนี้พวกเขายังเชื่อมั่นมากขึ้นในประเด็นเกี่ยวกับการเจริญเติบโตของธุรกิจระหว่างประเทศ โดย 61% คาดว่าจะมีรายได้มากขึ้นจากธุรกิจในต่างประเทศในระยะเวลาห้าปี เมื่อเทียบกับเพียง 45% ที่คาดการณ์เช่นนี้สำหรับธุรกิจในประเทศของพวกเขา งานวิจัยชิ้นนี้ดำเนินการโดยบริษัทแฮร์ริส อินเตอร์เนชันแนล ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านการวิจัยตลาด ทำการวิจัยในนามบริษัท FedEx Express เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับพฤติกรรมการนำเข้าและส่งออกในหมู่ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมถึงความท้าทายที่พวกเขาต้องเผชิญ งานวิจัยเสร็จสิ้นในเดือนกันยายน 2015 โดยผลวิจัยที่ได้มาจากการสัมภาษณ์ผู้บริหารระดับสูงจำนวน 6,891 คน จาก 13 ตลาด[2] ครอบคลุม 4 ภูมิภาค[3] รวมถึง 3,315 รายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ