กรุงเทพฯ--12 มิ.ย.--วารสารการแพทย์ Journal of Periodontolegy
วารสารการแพทย์ Journal of Periodontolegy ฉบับเดือนพฤษภาคม ระบุว่าผู้สูบบุหรี่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเงือกอักเสบมากกว่า ผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ถึง 4 เท่าตัว
Dr. Scott Tomar และทีมนักวิจัยจาก U.S. Centers of Disease Control and Prevention ได้สำรวจการแพร่กระจายของปัญหาเหงือกอักเสบ และพบว่าสาเหตุกว่าครึ่งของปัญหาดังกล่าวมาจากการสูบบุหรี่นั่นเอง
อีกทั้งยังทำให้มีอาการรุนแรงถึงขั้นเป็นโรคปริทันต์ได้ ดังนั้นจึงระบุได้ว่า การป้องกันโรคปริทันต์นั้น สามารถทำได้ด้วยการงดสูบบุหรี่
สำหรับโรคปริทันต์ หรือ Periodontal Disease นั้น เป็นอาการขั้นรุนแรงของโรคเหงือกอักเสบ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ที่เข้าไปทำลายเนื้อเยื่อและกระดูกรอบ ๆ ฟัน และถ้าปล่อยทิ้งไว้จะทำให้ฟัน นั้นหลุดร่วงออกมาได้
Jack Caton ประธานของ American Academy of Periodontology กล่าวว่า การสำรวจข้อมูลครั้งนี้ทำให้เราต้องตระหนักถึงการสูบบุหรี่ อันเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหา สุขภาพปากให้มากขึ้น นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาโรคเหงือกนี้ ก็มักจะแนะนำผู้ป่วย ให้เลิกพฤติกรรมการสูบบุหรี่ด้วย
Dr. Robert Genco บรรณาธิการวารสารการแพทย์ Journal of Periodontolegy กล่าวเสริมว่า การสูบบุหรี่ทำให้ Immune System ในช่องปากเสียไป และจะไปลดปริมาณออกซิเจน และสารที่มีประโยชน์ ที่จะส่งผ่านเข้าไปในเหงือก และจากการสำรวจยังพบอีกว่า ผู้สูบบุหรี่ สูญเสียฟันมากกว่าผู้ที่ไม่สูบ ส่วนการรักษาโรคนั้นก็ปรากฏว่า ผู้สูบบุหรี่ หายช้ากว่าผู้ไม่สูบเช่นกัน
สำหรับการสำรวจข้อมูลเพื่อการวิจัยในครั้งนี้ นักวิจัยระบุว่า เป็นข้อมูลด้านสุขภาพของประชาชน จำนวนกว่า 12,000 คน และพบว่า ผู้ที่สูบบุหรี่มากกว่าวันละ 1 ซองครึ่ง มีความเสี่ยงต่อ โรคปริทันต์มากกว่าผู้ที่ไม่สูบถึง 6 เท่า ส่วนผู้ที่น้อยกว่าครึ่งซองต่อวัน มีความเสี่ยงต่อโรคดังกล่าวมากกว่าผู้ที่ไม่สูบประมาณ 3 เท่า
นอกจากนี้ นักวิจัยยังพบด้วยว่า ผู้ที่เคยสูบบุหรี่และเป็นโรคปริทันต์นั้น หลังเลิกบุหรี่เป็นเวลานานถึง 11 ปี ไม่เคยมีปัญหากับโรคดังกล่าวอีกเลย--จบ--
-อน-