กรุงเทพฯ--23 พ.ย.--PRAD
คนไทยมักเจอปัญหากับโรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่เกิดจากยุงเป็นพาหนะของโรค นอกจากเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทย ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศในเขตร้อนชื้น โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากยุงลาย ตัวเมียบินไปกัดคนที่ป่วยเป็นไข้เลือดออก โดยเฉพาะช่วงที่มีไข้สูง เชื้อไวรัสแดงกีจะเพิ่มจำนวนในตัวยุงประมาณ 8-10 วัน เชื้อไวรัสแดงกี่จะไปที่ผนังกระเพาะและต่อมน้ำลายของยุง เมื่อยุงกัดคนก็จะแพร่เชื้อสู่คน เชื้อจะอยู่ในร่างกายคนประมาณ 2-7 วันในช่วงที่มีไข้ หากยุงกัดคนในช่วงนี้ก็จะรับเชื้อไวรัสมาแพร่ให้กับคนอื่น ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นเด็ก โรคนี้ระบาดในฤดูฝน ยุงลายชอบออกหากินในเวลากลางวันตามบ้านเรือน และโรงเรียน ชอบวางไข่ตามภาชนะที่มีน้ำขัง
กลุ่มอาการเหล่านี้มีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดไข้เลือดออกได้ ไม่จำเพาะอาการมีได้หลายอย่าง ในเด็กอาจจะมีเพียงอาการไข้และผื่น ในผู้ใหญ่ที่เป็น ไข้เลือดออก อาจจะมีไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดตามตัว ปวดกระบอกตา ปวดกล้ามเนื้อ หากไม่คิดว่าเป็น โรค ไข้เลือดออก อาจจะทำให้การรักษาช้า ผู้ป่วยอาจจะเสียชีวิต ทั้งนี้ลักษณะที่สำคัญของ ไข้เลือดออก สามารถแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่
ระยะที่ 1 ระยะไข้สูง
ผู้ป่วยจะมีไข้สูงฉับพลัน ไข้จะสูงค้างอยู่อย่างนั้นตลอดเวลา โดยที่กินยาลดไข้ก็ยังบรรเทาไข้ไม่ได้ ร่วมกับอาการหน้าแดง ปวดศีรษะ เบื่ออาหาร และบางรายมีอาการอาเจียนเป็นพัก ๆ หรืออาจมีอาการท้องผูกหรือถ่ายเหลว และบางคนอาจมีอาการเจ็บคอ ไอเล็กน้อย ทว่าในระยะ 3 วันที่ป่วยตุ่มอาจยังไม่ขึ้นให้เห็นชัด ๆ
ระยะที่ 2 ระยะช็อกและมีเลือดออก
อาการนี้จะพบในช่วงระหว่างวันที่ 3-7 ของการป่วย และมักจะเกิดขึ้นในผู้ป่วยที่ป่วยจากเชื้อเด็งกีที่มีความรุนแรงขั้นที่ 3 และ 4 ซึ่งระยะนี้ถือเป็นช่วงวิกฤตของโรค อาการไข้ของผู้ป่วยจะเริ่มลดลง แต่กลับอาเจียน ปวดท้องบ่อยขึ้น ซึมมากขึ้น ตัวเย็น มือเท้าเย็น กระสับกระส่าย เหงื่อแตก ปัสสาวะออกน้อย ชีพจรเต้นแผ่วแต่เร็ว และความดันต่ำ ซึ่งเป็นภาวะช็อก และหากไม่ได้รับการรักษาภายใน 1-2 วัน อาจทำให้เสียชีวิตได้
นอกจากนี้ ผู้ป่วยอาจมีอาการเลือดออกตามผิวหนัง (มีจ้ำเขียวพรายย้ำขึ้น) เลือดกำเดาไหล อาเจียนเป็นเลือดหรือสีกาแฟ ถ่ายเป็นเลือด ซึ่งหากอยู่ในภาวะนี้อาจเสี่ยงต่อการเสียชีวิตมากขึ้น โดยหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง อาจเสียชีวิตภายใน 24-27 ชั่วโมง แต่หากผู้ป่วยสามารถประคองอาการให้ผ่านพ้นระยะนี้มาได้ ก็จะเข้าสู่ระยะที่ 3 ของโรคไข้เลือดออก
ระยะที่ 3 ระยะฟื้นตัว
ในผู้ป่วยที่ไม่มีอาการช็อก หรือช็อกไม่รุนแรง และได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาการของผู้ป่วยจะฟื้นตัวสู่สภาพปกติ โดยผู้ป่วยจะรู้สึกตัวและร่าเริงขึ้น เริ่มกินอาหารได้ โดยอาการจะดีขึ้นตามลำดับภายในช่วงระยะ 7-10 วันหลังจากผ่านพ้นระยะที่ 2 ของโรค
การป้องกันไม่ให้เกิดโรคไข้เลือดออกก็คือ กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และพยายามหาทางหลีกเลี่ยงไม่ให้ลายกัดได้ ยุงลายนั้นชอบออกหากินในเวลากลางวัน และในบ้านของคุณลองสังเกตดูว่ามีตรงไหนบ้างที่มีน้ำขังก็ให้รีบแก้ไขให้เร็วที่ เช่น
1. ถ้วยรองขาตู้กับข้าวให้เติมน้ำเดือดลงไปทุกๆ 7 วัน หรือใส่ขัน/เกลือ น้ำส้มสายชู/ขี้เถ้า ขวด
2. เลี้ยงพลูด่างควรเปลี่ยนน้ำทุกๆ 7 วัน
3. โอ่งน้ำให้ปิดฝาให้มิดชิด หรือถ้าโอ่งไม่มีฝาให้ใส่ทรายอะเบท 1 กรัม/น้ำ 10 ลิตร
4. จานรองกระถางต้นไม้ให้เทน้ำที่ขังอยู่ทิ้งลงพื้นดินทุก 7 วันหรือใส่ทรายธรรมดา
5. จานรถยนต์เก่าให้ใช้วิธีปกปิดเจาะรูหรือดัดแปลงให้น้ำไม่สามารถขังอยู่ได้ อ่างบัว ให้ใส่ปลาที่กินลูกน้ำด้วย เช่นปลาสอด ปลาหางนกยูง ปลาหัวตะกั่ว
6. แอ่งน้ำให้ใช้ทรายหรือดินกลบถม
7. ท่อระบายน้ำอย่าปล่อยให้ท่ออุดตันหลุมบ่อ
ภาวะแทรกซ้อน นอกจากภาวะเลือดออกรุนแรง (ถ้ามีเลือดออกในกระเพาะอาหารจำนวนมากหรือมีเลือดออกในสมองมักมีอัตราตายสูง) และภาวะช็อกแล้ว ยังอาจเกิดภาวะตับวาย (มีอาการดีซ่าน) ซึ่งเป็นภาวะร้ายแรงถึงตายได้ มักพบในผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกอยู่นาน นอกจากนี้ อาจเป็นปอดอักเสบ (อาจมีภาวะมีน้ำในโพรงเยื่อหุ้มปอดร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้) หลอดลมอักเสบ หรือกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบแทรกซ้อนได้ แต่ก็มีโอกาสเกิดขึ้นน้อยมาก นอกจากนี้ ถ้าให้น้ำเกลือมากไป อาจเกิดภาวะปอดบวมน้ำ เป็นอันตรายได้ ดังนั้น เวลาให้น้ำเกลือทางหลอดเลือด ควรตรวจดูอาการอย่างใกล้ชิด
การรักษา แพทย์ยังไม่มีวิธีฆ่าเชื้อไวรัสไข้เลือดออก แต่สามารถรักษาภาวะแทรกซ้อนได้ ถ้ามีเลือดออกมากต้องให้เลือด ถ้ามีอาการ shock เนื่องจากของน้ำและเกลือแร่ออกไปจากหลอดเลือดมากก็ต้องให้น้ำและเกลือแร่ตามความเหมาะสม หญิงตั้งครรภ์, เด็ก, ทารก, ผู้สูงอายุ, คนอ้วน, ผู้เป็นเบาหวาน, โรคไต จะมีอาการรุนแรงกว่าปกติ
สุดท้ายนี้ขอเน้นอีกครั้งว่า โรคไข้เลือดออกไม่ใช่โรคธรรมดาอย่างที่ใครหลายคนทราบ และไม่ได้เป็นแค่ตัวเราคนเดียว ยังมีอีกหลายล้านคนที่มีอาการเหมือนกับตัวเรา และโรคนี้สามารถรักษาหายได้ด้วยวิธีการต่างๆ ดังนั้นแค่กล้าที่ออกไปขอคำจากปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และรับการรักษาที่ถูกต้อง ก็จะพบว่าได้คุณภาพชีวิตที่ดีกลับคืนมาอีกครั้ง สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร สายด่วน 1645 กด 2โรงพยาบาลธนบุรี 2 บริการด้วยน้ำใจ เอาใจใส่ดุจญาติมิตรพุทธมณฑลสาย 2 ถนนบรมราชชนนี Facebook.com/Thonburi2Hospital