กรุงเทพฯ--24 พ.ย.--Nowism
นับตั้งแต่ปี 2005 (พ.ศ. 2548) มะเร็งเต้านมนับเป็นโรคมะเร็งอันดับหนึ่งในหญิงไทย และดูเหมือนว่าผู้ป่วยทั่วโลกจะพุ่งสูงขึ้นทุกปี โดยมะเร็งเต้านมระยะแพร่กระจายถึอเป็นระยะที่รุนแรงที่สุด เกิดขึ้นเมื่อมะเร็งได้ลุกลามจากเต้านมไปสู่ส่วนอื่นๆ ของร่างกาย เช่น กระดูก ปอด ไต และสมอง ในแต่ละปีมีผู้ป่วยระยะนี้เพิ่มขึ้น 1.7 ล้านคน และเป็นผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะนี้ถึงร้อยละ 6
Pfizer Inc และ Union for International Cancer Control หรือ UICC เล็งเห็นถึงปัญหาของโรคมะเร็งเต้านมระยะแพร่กระจายและทราบถึงความต้องการด้านการรักษา จึงได้มอบทุนในโครงการ Seeding Progress and Resources for the Cancer Community: Metastatic Breast Cancer Challenge (SPARC MBC Challenge) ซึ่งเป็นโครงการแรกที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อช่วยผู้หญิงที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งเต้านมระยะแพร่กระจายทั้วโลก โดยผลตอบรับจากผู้สนใจและส่งใบสมัครมากกว่า 80 องค์กร ใน 46 ประเทศ ไฟเซอร์จึงได้มอบทุนการรักษาเพิ่มขึ้นจากเดิม 500,000 เหรียญ เป็น 760,000 เหรียญ หรือราว 26 ล้านบาท
และในครั้งนี้เครือข่ายการดูแลรักษามะเร็งเต้านมในเขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย หรือที่รู้จักกันในนาม "Suandok Breast Cancer Network" ได้รับคัดเลือกให้เป็นหนึ่งใน 20 องค์กรจาก 18 ประเทศทั่วโลก ที่ได้รับทุนรักษาครั้งนี้
ศาสตราจารย์ซันเชีย อรานดา ประธานของ UICC กล่าวว่า "ทุกประเทศในโลกต้องการความช่วยเหลือด้านการวินิจฉัย การจัดการ และการดูแลผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะแพร่กระจาย ซึ่งเป็นโรคที่มีความซับซ้อน สร้างปัญหาทางด้านจิตใจให้แก่ผู้ป่วย และยังเป็นประเด็นที่มีการเข้าใจกันผิดอยู่มาก เราหวังว่าโครงการนี้จะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้มากขึ้น"
พญ.อิ่มใจ ได้ให้ข้อมูลว่า "ด้วยเงินทุนนี้จะทำให้เราสามารถดำเนินการขยายการบำบัดรักษาที่เหมาะสมให้กับผู้ป่วยด้วยมะเร็งเต้านมระยะลุกลามได้ในระยะยาวต่อไป" และคาดว่าในห้าปีศัลยแพทย์ทั่วไป และแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป (ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย) จะสามารถจัดให้มีการบำบัดรักษาผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะลุกลามที่เหมาะสมได้ดีขึ้น และที่ยังสามารถจัดการขั้นตอนแรกของการดูแลก่อนการส่งต่อผู้ป่วยไปยังการดูแลขั้นตติยภูมิได้ ทั้งนี้ ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะลุกลามนั้นควรได้รับสิทธิให้ลัดคิวเพื่อผ่านไปยังเส้นทางที่ด่วนพิเศษด้วยความจำเป็นฉุกเฉินผ่านระบบคิวออนไลน์เอ็กซ์เพรส และยิ่งไปกว่านั้น เรายังหวังที่จะเห็นความร่วมมือที่เพิ่มขึ้นระหว่างพยาบาลและอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ทั้งในระดับตำบลและหมู่บ้านเพื่อให้ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะลุกลามได้รับการบำบัดรักษาและการดูแลแบบประคับประคองได้อย่างดียิ่งขึ้น ณ ภูมิลำเนาของเค้าเหล่านั้น ทั้งยังทำให้ได้รับการสนับสนุนที่ดียิ่งขึ้นทั้งในด้านการดูแลทางการแพทย์และจิตวิทยา รวมไปถึงผู้ป่วยและครอบครัวของผู้ป่วยในช่วงเวลาสุดท้ายของชีวิต นอกจากนี้ ยังสามารถส่งตัวผู้ป่วยไปโรงพยาบาลได้อย่างทันท่วงทีเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้น