กรุงเทพฯ--25 พ.ย.--กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึง สถานการณ์น้ำ และ ความก้าวหน้ามาตรการช่วยเหลือภัยแล้ง ปี 2558/59ว่า สถานการณ์น้ำ 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยาขณะนี้ (24 พ.ย. 58) มีน้ำใช้การได้ 4,220 ล้าน ลบ.ม. (น้อยลงจาก 17 พ.ย. 58 จำนวน 25 ล้าน ลบ.ม.) โดยได้วางแผน ระบายน้ำ วันละ 15.85 ล้าน ลบ.ม. เป็นน้ำอุปโภคบริโภค วันละ 7.20 ล้าน ลบ.ม. และรักษาระบบนิเวศน์ วันละ 8.65 ล้าน ลบ.ม. แต่การระบายน้ำ ในห้วงที่ผ่านมาทั้ง 4 เขื่อนหลักมีการระบายทั้งสิ้น368 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งต่ำกว่าแผนประมาณ 11 ล้านลูกบาศก์เมตร เนื่องจากช่วงดังกล่าวยังมีฝนตกในหลายพื้นที่ทำให้มีน้ำตามธรรมชาติเพิ่มขึ้น
สำหรับกรณีในส่วนที่มีข่าวว่า บึงสีไฟ จ.พิจิตร น้ำน้อย เพราะชลประทานไม่ปล่อยน้ำ ปีนี้ลอยกระทงไม่ได้นั้น จึงขอชี้แจงว่า บึงสีไฟเป็นบึงธรรมชาติ มีความลึกเฉลี่ย 1 - 2 ม.อยู่ห่างจากแม่น้ำน่าน ประมาณ 10 กม. ไม่อยู่ในเขตชลประทานคลองรับน้ำโดยรอบบึงสีไฟ ถูกปิดกั้นโดยสิ่งก่อสร้างน้ำส่วนใหญ่ในบึงเกิดจากน้ำฝนที่ตกลงในพื้นที่บึงโดยตรง และ ในปี 2557 - 2558 มีฝนตกในพื้นที่น้อยจึงทำให้มีน้ำในบึงในปีนี้น้อยไม่ได้เกิดจากการไม่ปล่อยน้ำของกรมชลประทาน
ด้านความก้าวหน้ามาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยแล้ง ปี 2558/59 ซึ่งเมื่อวานนี้(24 พ.ย. 58) ครม. ได้เห็นชอบงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ 2559 งบกลาง มาตรการที่1สนับสนุนปัจจัยการผลิต (เพื่อลดรายจ่าย) แบ่งเป็น การปลูกพืชทดแทนวงเงิน 971.98 ล้านบาท และงบประมาณในมาตรการที่ 2 ชดเชยดอกเบี้ยสหกรณ์ (เพื่อลดภาระหนี้สิน) วงเงิน 206.23 ล้านบาท ชดเชยดอกเบี้ย ระยะเวลา 6 เดือน ร้อยละ 3.0 สมาชิก 134,479 ราย
ส่วนความคืบหน้าการดำเนินการในแต่ละมาตรการ พบว่า มาตรการที่ 1 ร้านธงฟ้า 52 ครั้ง 16จังหวัด 14,349 ราย จำหน่ายสินค้า 4.30 ล้านบาท ลดค่าครองชีพได้ 2.87 ล้านบาทมาตรการที่ 2 ลดค่าเช่าที่ดิน ส.ป.ก. เฉพาะที่ดินในส่วนที่ ส.ป.ก. จัดหาจากภาคเอกชนเพื่อให้เกษตรกรเช่า/เช่าซื้อ ซึ่งมีประมาณ 500,000 ไร่ผู้เช่าที่ดิน จำนวน 14,687 ราย ยกเว้นค่าเช่าที่ดิน ระยะเวลา 1 ปี รวมเป็นเงินช่วยเหลือ 28.18 ล้านบาท (จะเสนอ คปก. เห็นชอบต่อไป) ผู้เช่าซื้อที่ดิน จำนวน 7,314 ราย ลดดอกเบี้ยจาก 4 % เหลือ 1 % ระยะเวลา 1 ปี รวมเป็นเงินช่วยเหลือ 19.78 ล้านบาท (จะเสนอ คปก. เห็นชอบต่อไป)
มาตรการที่ 3 (เพื่อเพิ่มรายได้) ในส่วนการจ้างงาน ชป. (จ้างแรงงานเกษตรกร จำนวน 34,109คน)
ณ วันที่ 23 พ.ย. 58 จ้างแรงงานแล้ว 880,846 คน-วัน เป็นเงิน 264.65 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากวันที่ 6 พ.ย.58 จำนวน 355,205 คน-วัน เงินเพิ่มขึ้น 106.72 ล้านบาท เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น เฉลี่ยคนละ 7,700บาท (ตั้งแต่ 1 ต.ค. 58)
มาตรการที่ 4 ทีมประเทศไทย ลงพื้นที่ตั้งแต่วันที่ 3 พ.ย. 58 เพื่อสำรวจความต้องการของชุมชน- การเสนอแผน จะดำเนินการ เป็น 2 ห้วง 1. โครงการปลูกพืชใช้น้ำน้อย/ใช้ความชื้นในดิน จะเสนอโครงการเข้า ครม. โดยเร็ว เพื่อให้สามารถโอนเงินให้เกษตรกรดำเนินการได้ทันใน ธ.ค. 58 2.โครงการเกษตรอื่นๆ /นอกภาคการเกษตร จะเสนอโครงการเข้า ครม. ในปี ธ.ค. 58 ซึ่งจะสามารถโอนเงินให้เกษตรกรดำเนินการได้ในช่วง ก.พ. - มี.ค. 59 มีโครงการที่ผ่านการพิจารณาของจังหวัด จำนวน 514โครงการ วงเงิน 365.08 ล้านบาท คาดว่า คณะกรรมการฯ จะเสนอโครงการปลูกพืชใช้น้ำน้อย/ใช้ความชื้นในดินบางส่วนเข้า ครม. ในวันที่ 1 ธ.ค. 58
มาตรการที่ 5 (เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ) โดยการประชาสัมพันธ์และสร้างการรับรู้ เกี่ยวกับการรณรงค์ใช้น้ำอย่างประหยัด มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาวิกฤตภัยแล้ง การส่งเสริมการปลูกพืชใช้น้ำน้อย สถานการณ์น้ำ เป็นต้น โดยมีการรายงานจากศก.กจ.ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ กว่า 695 ครั้ง ในรอบ 2 สัปดาห์
มาตรการที่ 6 (เพื่อเพิ่มน้ำต้นทุน) เจาะบ่อบาดาลเพิ่มการเกษตร ได้ 251 บ่อ เพิ่มขึ้นจากวันที่ 6พ.ย. 58 จำนวน 241 บ่อดำเนินการโดย ทส./กห. มีเป้าหมาย 6,576 แห่ง จะดำเนินการให้ทันฤดูแล้งปีนี้การพัฒนาแหล่งน้ำการเกษตร โดย กห. จำนวน 136 แห่ง เสร็จเรียบร้อยแล้วการสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ จำนวน 47 แห่ง ทั้งนี้ ได้สั่งการให้พิจารณาดำเนินการเพิ่มเติม เพราะประชาชนมีความต้องการมาก รวมทั้งเพิ่มเติม ฝายกระสอบทรายกั้นลำน้ำสาขาก่อนลงสู่แม่น้ำใหญ่ จำนวน 526 แห่งทั่วประเทศ งบประมาณ 117 ล้านบาท เพิ่มความจุน้ำ 51 ล้าน ลบ.ม. ได้มอบให้ อปท. ดำเนินการ
มาตรการที่ 7 (เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต) จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ 211 โรงพยาบาลจัด จนท.ตำรวจสายตรวจ ลงพื้นที่ 4,676 ครั้งรับแจ้งเหตุ 8 ครั้ง (ขโมยเครื่องสูบน้ำ 6 เครื่อง ขโมยอุปกรณ์การเกษตร 2 เครื่อง)มาตรการที่ 8 (เพื่อสนับสนุน/อื่นๆ) อนุมัติสินเชื่อวิสาหกิจชุมชน จำนวน 7 แห่ง วงเงิน4.50 ล้านบาท