กรุงเทพฯ--27 พ.ย.--ไมดาส พีอาร์
ทบทวนตรวจสอบขอบเขตและผลกระทบของการข่มเหงรังแกบนฐานวิถีทางเพศ อัตลักษณ์ทางเพศและการแสดงออกทางเพศที่แตกต่างจาก 40 ประเทศ และแสดงให้เห็นจุดอ่อนในการแก้ไขปัญหาในภาคส่วนการศึกษา
การข่มเหงรังแกนักเรียนที่เป็น หญิงรักหญิง ชายรักชาย คนรักสองเพศ คนข้ามเพศ และคนที่แสดง ลักษณะสองเพศตั้งแต่กำเนิด (Lesbian, Gay, Bisexual, Transgender and Intersex หรือ LGBTI) เป็นเรื่องที่พบเห็นได้เสมอในภูมิภาค เอเชียแปซิฟิกและความพยายาม จากภาคส่วนการศึกษาในการแก้ไข ปัญหาดังกล่าวยังไม่เพียงพอ จากผลการรายงานที่ได้เปิดตัวในวันนี้ โดยองค์การยูเนสโก สำนักงาน กรุงเทพฯ
"From Insult to Inclusion - จากการเหยียดหยาม สู่การยอมรับ: รายงานด้านการข่มเหงรังแก การใช้ความรุนแรงและการกีดกัน หรือ เลือกปฏิบัติบนฐานวิถีทางเพศ อัตลักษณ์ทางเพศ และการแสดงออก ทางเพศที่แตกต่าง" นับเป็นรายงานระดับภูมิภาคที่สมบูรณ์ฉบับแรก ที่ศึกษาปัญหาเหล่านี้อย่างละเอียดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก รวมถึง ผลกระทบที่บาดลึกจากการรังแกข่มเหงดังกล่าว และมาตรการต่างๆ ที่รัฐบาลต่างๆ นำมาใช้หรือสามารถนำมาใช้ จะได้ถูกหยิบยกมาพูดถึงในรายงานด้วย
รายงาน "From Insult to Inclusion - จากการเหยียดหยาม สู่การยอมรับ" รวบรวมมาจากเอกสารกว่า 500 ฉบับ ซึ่งหมายรวมถึงทั้งเอกสารที่ได้รับการตีพิมพ์ และไม่ได้รับการตีพิมพ์ เอกสารที่มีการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ ด้านเดียวกัน และรายงานที่ผลิตโดยสื่อมวลชน จาก 40 ประเทศในเอเชียแปซิฟิก และยังได้รับข้อมูลและข้อเสนอ แนะโดยตรงจากผู้ที่เกี่ยวข้องอีกมากมายในภูมิภาคฯ รวมทั้งจากผู้เข้าร่วมการประชุมปรึกษาหารือระดับภูมิภาค กว่า 100 คนจาก 13 ประเทศ ซึ่งจัดโดยองค์การยูเนสโก และสำนักงานโครงการ พัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) เมื่อเดือนมิถุนายน 2558 ที่ผ่านมา
กวาง-โจ คิม ผู้อำนวยการองค์การยูเนสโก กรุงเทพฯ กล่าวว่ารายงานฉบับดังกล่าว ออกมาได้ประจวบเหมาะกับ แนวทางการศึกษาใหม่ระดับโลก ซึ่งตรงกับเป้าหมายการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนข้อที่สี่ ว่าด้วยเรื่อง "inclusive and quality education for all – การศึกษาที่ครอบคลุมและมีคุณภาพสำหรับทุกคน"
"การได้รับการศึกษาที่เท่าเทียมกันและปลอดภัยไม่ใช่เอกสิทธิ์ของคนส่วนใหญ่ในแต่ละสังคม" กวาง-โจ คิม กล่าว "พลังแห่งการศึกษาและศักยภาพของการศึกษาในการสร้างความเปลี่ยนแปลงนั้น อยู่ที่ว่าการศึกษาเข้าถึง ประชาชนได้อย่างกว้างขวาง การศึกษาจึงสามารถมอบโอกาสต่างๆ ให้สำหรับผู้คนที่ถือว่าเป็นชายขอบของ สังคม รวมทั้งสามารถเปลี่ยนแปลงบรรทัดฐานและปฏิบัติการทางสังคมได้ นำไปสู่สังคมที่ทุกคนมีส่วนร่วม และ ได้รับความเคารพ"
ในขณะที่รัฐบาลส่วนมากของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ได้แสดงความมุ่งมั่นที่จะให้เยาวชนทุกคน ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพโดยปราศจากการเลือกปฏิบัติหรือการกีดกัน แต่ในความเป็นจริงนักเรียนกลุ่ม LGBTI ส่วนมากในโรงเรียนแถบภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกกลับไม่ได้รับสิทธิประโยชน์จากส่วนนี้
รายงานดังกล่าวได้พบว่าเยาวชน LGBTI ส่วนใหญ่ในแถบภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกต่างกล่าวว่า พวกเขาถูกกลั่น แกล้ง และใช้ความรุนแรงไม่ทางใดก็ทางหนึ่งในโรงเรียน – ในบางประเทศนักเรียน LGBTI จำนวนสี่ในห้าคน ล้วนได้รับผลกระทบดังกล่าวจากการข่มเหงรังแกที่ส่งผลบาดลึก ผลการศึกษาในบางประเทศพบว่า หนึ่งในสาม ของนักเรียน LGBTI ตกอยู่ในภาวะซึมเศร้า จำนวนเจ็ดใน 10 คนเคยทำร้ายตัวเอง และเกือบห้า ใน 10 คนกล่าวว่าเคยพยายามฆ่าตัวตาย
จัสตีน แซซ ที่ปรึกษาระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกด้านเอชไอวีและสุขศึกษา องค์การยูเนสโก กรุงเทพฯ กล่าวว่า รายงานดังกล่าวเรียกร้องให้เกิดการดำเนินการแก้ไขปัญหาการข่มเหงรังแก เนื่องจากการข่มเหงรังแกกัน มีผลกระทบตั้งแต่ระดับปัจเจกบุคคลจนถึงระดับสังคมในภาพรวม
"ตัวรายงาน "From Insult to Inclusion - จากการเหยียดหยาม สู่การยอมรับ" ได้รวบรวมหลักฐานทาง วิชาการจำนวนมาก ซึ่งบ่งชี้ว่าการข่มเหง การใช้ความรุนแรงและการเลือกปฏิบัติบนฐานวิถีทางเพศ
อัตลักษณ์ทางเพศ และการแสดงออกทางเพศที่แตกต่างเป็นปัญหาที่แพร่หลายมาก และสร้างผลกระทบทางลบ อันยาวนานแก่ตัวนักเรียนและสังคมภายในโรงเรียน" จัสตีน แซซ กล่าว "กระทรวงศึกษาธิการในประเทศต่างๆ ต้องมีส่วนร่วมในการสร้างสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาที่ปลอดภัย และให้ทุกคนมีส่วนร่วม เพื่อให้นักเรียน ทุกคนมาศึกษาและเติบโตไปพร้อมกันได้"
รายงาน "From Insult to Inclusion - จากการเหยียดหยาม สู่การยอมรับ" ถ่ายทอดประสบการณ์ของนักเรียน LGBTI ที่ต้องเผชิญหน้ากับปัญหาเหล่านี้ รวมทั้งชี้ให้เห็นว่าบริบททางกฎหมาย และการศึกษาในประเทศต่างๆ ในภูมิภาค ว่าเกี่ยวข้องกับการข่มเหงบนฐานวิถีทางเพศ อัตลักษณ์ทางเพศ และการแสดงออกทางเพศที่แตกต่าง อย่างไร จากการศึกษา ยังแสดงอีกว่าในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มีเพียงประเทศออสเตรเลียและประเทศนิวซีแลนด์ ที่ได้สร้างระบบการป้องกันการข่มเหงรังแกกันที่ปกป้องนักเรียน LGBTI โดยให้ทั้งโรงเรียนมีส่วนร่วม และสร้าง บนฐานหลักวิชาการ และนำระบบดังกล่าวไปใช้ในโรงเรียนจำนวนมาก และมีเพียงสองสามประเทศ ที่ได้บรรจุ ประเด็นที่เกี่ยวกับวิถีทางเพศ อัตลักษณ์ทางเพศ และการแสดงออกทางเพศไว้ในหลักสูตรระดับชาติ
องค์การยูเนสโก สำนักงานกรุงเทพฯ และสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ได้ร่วมกัน ให้การสนับสนุนไปยังกลุ่มเป้าหมายในประเทศจีน อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์และไทย และในภายภาคหน้า จะสนับสนุนการจัดประชุมปรึกษาหารือระดับชาติในประเทศดังกล่าว เพื่อยกระดับการดำเนินการแก้ไขปัญหา ตามที่ได้ระบุไว้ในรายงาน
รายงานดังกล่าวได้รับการเปิดตัวในงานแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนและบุคคลทั่วไป ณ สโมสรผู้สื่อข่าวต่างประเทศ แห่งประเทศไทย ภายในงานยังได้มีการอภิปราย โดยมีนักเรียน LGBTI รายหนึ่งที่ได้ร่วมแบ่งปันประสบการณ์ ในการรับมือกับปัญหาแบบที่กล่าวไว้ในรายงาน "From Insult to Inclusion - จากการเหยียดหยาม สู่การยอมรับ"
ท่านสามารถดาวน์โหลดข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายงาน "From Insult to Inclusion - จากการเหยียดหยาม สู่การยอมรับ" ได้ที่http://unesdoc.unesco.org/images/0023/002354/235414E.pdf
ผลการวิจัยที่สำคัญสามารถดาวน์โหลดได้ที่ http://goo.gl/uiojdN
เสียงจากเยาวชน LGBTI ที่ปรากฏในรายงานสามารถดาวน์โหลดได้ที่ http://goo.gl/TfXMzNA
ประวัติโดยสังเขปของผู้ร่วมงานแถลงข่าว ณ สโมสรผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย สามารถดาวน์โหลด ได้ที่ http://goo.gl/V88A0K