กรุงเทพฯ--30 พ.ย.--เจ.ดีเพาเวอร์
ผลการศึกษาวิจัยคุณภาพรถใหม่ในประเทศไทย ประจำปี 2558 โดย เจ.ดี. พาวเวอร์(J.D. Power 2015 Thailand Initial Quality StudySM (IQS))เปิดเผยในวันนี้ว่า แม้คุณภาพรถยนต์มีการปรับปรุงที่ดีขึ้นใน 3 หมวดหมู่และคงที่ใน 2 หมวดหมู่ แต่กลับมีรายงานจำนวนปัญหาเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากในหมวดหมู่ภายในรถยนต์และเครื่องเสียง, ความบันเทิง หรือระบบนำทาง (ACEN)เกิดการถ่วงดุลทำให้คุณภาพของรถยนต์โดยรวมอยู่ในระดับเดียวกันกับเมื่อปีก่อน
การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาปัญหาคุณภาพรถยนต์ใหม่ที่เจ้าของรถยนต์ประสบในช่วง 2-6 เดือนแรกของการเป็นเจ้าของ โดยการศึกษานี้ได้สอบถามถึงปัญหาหรือความผิดปกติมากกว่า 200 รายการ และสามารถจัดกลุ่มปัญหาหรือความผิดปกติที่พบออกเป็น 8 หมวดหมู่ (โดยเรียงตามลำดับความถี่ของปัญหาที่มีการรายงานเข้ามา(ได้แก่ ปัญหาภายนอกรถยนต์ ตามมาด้วยปัญหาเครื่องยนต์/ระบบเกียร์ ปัญหาประสบการณ์การขับขี่ ปัญหาจากภายในรถยนต์ปัญหาด้านเครื่องเสียง, ความบันเทิงและระบบนำทาง (ACEN)ปัญหาจากระบบฮีทเตอร์,ระบบระบายอากาศและระบบแอร์ (HVAC) ปัญหาจากอุปกรณ์, ปุ่มควบคุมและแผงหน้าปัดและปัญหาจากที่นั่งปัญหาทั้งหมดได้ถูกนำมาสรุปผลเป็นจำนวนปัญหาหรือความผิดปกติที่พบต่อรถยนต์ใหม่ 100 คัน (ในที่นี้ เรียกว่า PP100) โดยรถยนต์รุ่นใดที่ได้คะแนนPP100 น้อยกว่าแสดงว่ารถยนต์รุ่นนั้นเกิดปัญหาน้อยกว่าหรืออีกนัยหนึ่งคือรถรุ่นนั้นมีคุณภาพที่สูงกว่า
"ผู้ผลิตรถยนต์ได้รุดหน้าในการพัฒนาคุณภาพรถยนต์ใหม่ในแทบทุกหมวดหมู่ และที่เด่นชัดที่สุด ได้แก่ หมวดหมู่ภายนอกรถยนต์ เครื่องยนต์/ระบบเกียร์ และประสบการณ์การขับขี่"ศิรส สาตราภัย ผู้จัดการสาขา เจ.ดี. พาวเวอร์ กล่าว "อย่างไรก็ตาม ในหมวดหมู่ภายในรถยนต์และคุณภาพระบบเครื่องเสียงกลับไม่เป็นไปตามที่ลูกค้าคาดหวัง ดังที่ได้รับรายงานปัญหาในส่วนนี้จากเจ้าของรถยนต์เพิ่มมากขึ้น"
ค่าเฉลี่ยคุณภาพรถใหม่โดยรวมอยู่ที่ 91 ปัญหาต่อรถยนต์ 100 คัน (PP100) ในปี 2558 ซึ่งเท่ากับปี 2557การศึกษาพบว่าเปอร์เซนต์ของปัญหาภายในรถยนต์เพิ่มขึ้นเป็น11%ในปี 2558 จาก 8%ในปี 2557 ในขณะที่ปัญหาด้านระบบเครื่องเสียง, ความบันเทิงและระบบนำทาง (ACEN) เพิ่มขึ้นเป็น8%เทียบกับ 6%เมื่อปีที่แล้ว ปัญหาที่มีการพูดถึงบ่อยที่สุดในหมวดหมู่ภายในรถยนต์เกี่ยวข้องกับความยากในการใช้งานของที่วางแก้ว,เสียงรบกวนหรือเสียงกอกแกกจากแผงหน้าปัด หรือคอนโซล และคุณภาพของวัสดุที่ใช้ภายในห้องโดยสารไม่ดี ส่วนปัญหาหลักที่พบในหมวดหมู่เครื่องเสียง, ความบันเทิงและระบบนำทาง (ACEN)มาจากภาครับสัญญาณวิทยุไม่ชัดเจน หรือไม่มีคลื่น และคุณภาพเสียงจากลำโพง สัดส่วนของปัญหาที่เกี่ยวข้องกับที่นั่งเพิ่มขึ้นเล็กน้อยอยู่ที่5%จาก 4%ในปี 2557
คุณศิรสกล่าวย้ำว่า แม้ว่าคุณภาพในหมวดหมู่ของระบบปรับอากาศ(HVAC) รวมทั้งหมวดหมู่อุปกรณ์, ปุ่มควบคุม และแผงหน้าปัดจะอยู่ในระดับคงที่แต่ผู้ผลิตควรระมัดระวังถึงความรุนแรงของปัญหาเนื่องจากการให้คะแนนคุณภาพรถยนต์โดยรวมระหว่างเจ้าของที่ประสบปัญหาและเจ้าของที่ไม่ประสบปัญหาในหมวดหมู่เหล่านี้แตกต่างกันมากที่สุด ซึ่งความแตกต่างนี้ต่างกันมากที่สุดนับตั้งแต่เริ่มมีการศึกษาวิจัยในปี 2543 "เป็นไปได้สูงที่ระบบแอร์จะส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อความพึงพอใจในคุณภาพโดยรวมของรถยนต์สืบเนื่องจากสภาพอากาศร้อนที่เกิดขึ้นเมื่อช่วงต้นปี และเจ้าของรถก็มีความอ่อนไหวในเรื่องของอุปกรณ์, ปุ่มควบคุมและแผงหน้าปัด เพราะอุปกรณ์หลายอย่างได้กลายเป็นอุปกรณ์มาตรฐานที่ติดตั้งมาพร้อมในรถใหม่"คุณศิรสยังได้อธิบายต่อว่า "ปัญหาคุณภาพของชิ้นส่วน อุปกรณ์และระบบภายในห้องโดยสารเป็นโจทย์ที่สำคัญสำหรับผู้ผลิตรถยนต์ที่ต้องการผลิตรถยนต์ที่มีคุณภาพตรงกับความคาดหวังของลูกค้า"
ข้อมูลสำคัญที่ได้จากผลสำรวจ
กลุ่มรถยนต์นั่งส่วนบุคคลโดยรวมมีปัญหา89ปัญหาต่อรถยนต์ 100 คัน(89 PP100) ในปี 2558เพิ่มขึ้น 4PP100 เมื่อเทียบกับปี 2557กลุ่มรถยนต์ที่ทำคะแนนได้สูงสุด-ต่ำสุด ยังคงเป็นกลุ่มรถยนต์เดียวกันกับปี 2557โดยเจ้าของรถยนต์ขนาดกลางระดับพรี-เมี่ยมรายงานปัญหาที่เกิดขึ้นกับรถของตนน้อยที่สุด(59 ปัญหาต่อรถยนต์ 100คัน) และเจ้าของรถยนต์อเนกประสงค์ (MPV) รายงานปัญหามากที่สุด (110 ปัญหาต่อรถยนต์ 100คัน)
เกือบ 2 ใน 3 (61%) ของเจ้าของรถยนต์รายงานว่ามีปัญหาคุณภาพรถยนต์ใหม่อย่างน้อย 1 ปัญหา ในปี 2558เปรียบเทียบกับ51% ในปี 2557
เสียงลมดังเข้าห้องโดยสารมากเกินไป(9.6 ปัญหาต่อรถยนต์ 100 คัน) ยังคงเป็นปัญหาที่มีการรายงานเข้ามาบ่อยที่สุดในปีนี้และเป็นปัญหาที่มีมาตลอดนับตั้งแต่ปี 2551ปัญหาสัญญาณคลื่นวิทยุที่รับไม่ชัดเจน (2.4 ปัญหาต่อรถยนต์ 100คัน) ซึ่งในอดีตอยู่ใน5อันดับสูงสุดของปัญหาที่มีการรายงานเข้ามาบ่อยที่สุดได้กลับมาติด5 อันดับสูงสุดอีกครั้งหลังจากปรับปรุงดีขึ้นในปี 2556 และปี2557
ความภักดีและความตั้งใจในการกลับมาซื้อมีความสัมพันธ์โดยตรงกับความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อคุณภาพโดยรวมของรถยนต์ โดย 78% ของลูกค้าที่พอใจเป็นอย่างมากกล่าวว่าพวกเขาจะแนะนำรุ่นรถที่ใช้อยู่ "อย่างแน่นอน"และ 61%กล่าวว่าพวกเขาจะกลับมาซื้อรถยนต์แบรนด์เดิมอีก "อย่างแน่นอน"ส่วนกลุ่มเจ้าของรถยนต์ที่ผิดหวังกับคุณภาพรถยนต์มีเพียง 23% และ 11% ตามลำดับ ที่กล่าวถึงความตั้งใจในลักษณะเดียวกัน
การจัดอันดับจากผลการศึกษาวิจัยคุณภาพรถใหม่ในประเทศไทย ประจำปี 2558ฮอนด้าคว้ารางวัลใน 2 รุ่นรถ ได้แก่ซีวิค(72 ปัญหาต่อรถยนต์ 100 คัน)ได้รับการจัดอันดับสูงสุดประเภทกลุ่มรถยนต์ขนาดกลางและ ซีอาร์-วี(68 ปัญหาต่อรถยนต์ 100 คัน)ได้รับการจัดอันดับสูงสุดประเภทกลุ่มรถยนต์อเนกประสงค์สมรรถนะสูง
โตโยต้าคว้ารางวัลในกลุ่มรถกระบะ 2ประเภท ได้แก่ไฮลักซ์ วีโก้ แชมป์ พรีรันเนอร์ สมาร์ท แค๊ป(74 ปัญหาต่อรถยนต์ 100 คัน)ได้รับการจัดอันดับสูงสุดประเภทรถกระบะตอนขยายและไฮลักซ์ รีโว่พรีรันเนอร์ ดี-แค๊ปและไฮลักซ์ วีโก้ แชมป์ พรีรันเนอร์ ดี-แค๊ป(67 ปัญหาต่อรถยนต์ 100 คัน)ต่างได้รับการจัดอันดับสูงสุดประเภทรถกระบะ4ประตู ด้วยคะแนนเสมอกัน
มิตซูบิชิ มิราจ(101 ปัญหาต่อรถยนต์ 100 คัน)ครองอันดับสูงสุดประเภทกลุ่มรถยนต์ขนาดเล็กมาสด้า2(77 ปัญหาต่อรถยนต์ 100 คัน)ครองอันดับสูงสุดประเภทรถยนต์ขนาดกลางระดับต้น
ผลการศึกษาวิจัยคุณภาพรถใหม่ในประเทศไทย(IQS)ประจำปี 2558 ได้จากการประเมินคำตอบของเจ้าของรถใหม่จำนวน 4,837 รายที่ซื้อรถในช่วงเดือนตุลาคม 2557 ถึงเดือนกรกฎาคม2558 ซึ่งเป็นเจ้าของรถยนต์นั่งส่วนบุคคล รถกระบะ และรถยนต์อเนกประสงค์จำนวนทั้งสิ้น 89 รุ่น จากทั้งหมด 12 ยี่ห้อ ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนกันยายน 2558