กรุงเทพฯ--4 ธ.ค.--สปาร์ค คอมมิวนิเคชันส์
จากซ้ายไปขวา
คุณสมพร มูลสาร, ผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคล
บ.อิชิตัน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
คุณอนุรักษ์ ชัชวาลพงศ์พันธ์, ผู้ช่วยผู้จัดการแผนกสรรหาและว่าจ้าง
บริษัท ลอรีอัล (ประเทศไทย) จำกัด
คุณบูรยา เถกิงรังสฤษดิ์, ที่ปรึกษาอาวุโส ด้านการประเมินและพัฒนาศักยภาพผู้นำ
บริษัท เอออน ฮิววิท (ประเทศไทย) จำกัด
มร.จิลส์ มาเอ, ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เครือข่ายมหาวิทยาลัยนานาชาติลอรีเอท
ลอรีเอท ประเทศไทย
คุณอรรจนา เกตุแก้ว, ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่าย ทรัพยากรบุคคล
โรงแรมสยามเคมปินสกี้ กรุงเทพฯ
คุณสุกิจ อุทธินธุ, รองประธาน ฝ่ายงานความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร (CSR)
บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
ดร.อภิเทพ แซ่โค้ว, ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการบัณฑิตวิทยาลัย/ คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด
เมื่อเร็วๆ นี้ มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด ผู้นำด้านมหาวิทยาลัยนานาชาติของประเทศไทย เปิดตัวโปรแกรมความร่วมมือกับองค์กร หรือ Corporate Partnership Program โดยเป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลันนานาชาติแสตมฟอร์ด และบริษัทชั้นนำกว่า 20 แห่ง ในประเทศไทย
โดยโปรแกรมดังกล่าว มีจุดประสงค์เพื่อสนับสนุนและช่วยพัฒนาศักยภาพให้กับบุคลากร ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญในการรักษาพนักงานที่ดีไว้กับองค์กร
มร. จิลลส์ มาเฮ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เครือข่ายมหาวิทยาลัยนานาชาติ ลอรีเอทประเทศไทย กล่าวว่า "ปัญหาสำคัญที่สังคมไทยกำลังเผชิญในปัจจุบัน คือ เรื่องของช่องว่างระหว่างการศึกษาและธุรกิจ เราจึงมีความมุ่งมั่นที่จะเชื่อมโยงทั้งสองภาคส่วนนี้เข้าด้วยกัน โดยโปรแกรมความร่วมมือระหว่างองค์กรที่มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ดพัฒนาขึ้นจะช่วยให้เราเข้าใจถึงเทรนด์และสิ่งที่บุคลากรต้องการสำหรับการทำงานในอนาคต รวมไปถึงความท้าทายที่องค์กรกำลังประสบ ซึ่งเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าโปรแกรมนี้จะได้รับผลการตอบรับที่ดี เป็นโปรแกรมที่จะช่วยตอบโจทย์ภาคธุรกิจ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของบุคคลากรและศึกษาสู่โลกแห่งการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ"
พันธมิตรของมหาวิทยาลัยนานาชาติแสมฟอร์ด จะได้รับสิทธิประโยชน์มากมาย อาทิ:
โปรเจคร่วมกับภาคธุรกิจ ช่วยให้นักศึกษาได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง นักศึกษาจะได้ร่วมทำโครงการกับบริษัทในสถานการณ์จริง ซึ่งจะช่วยให้นักศึกษาได้พัฒนาทักษะในการแก้ไขปัญหาธุรกิจ ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง ทั้งยังสร้างให้เกิดแนวคิดใหม่ๆในองค์กรและช่วยองค์กรในการมองหาทักษะและศักยภาพที่สำคัญในตัวบุคลากรในอนาคต
หลักสูตรร่วมกับภาคธุรกิจ ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการในโลกธุรกิจ โดยการฝึกฝนและพัฒนาทักษะของนักศึกษาเพื่อให้ได้คุณสมบัติ ที่ตอบโจทย์ความต้องการของภาคธุรกิจนั้นๆ
การฝึกอบรมและเวิคช็อปโดยแสตมฟอร์ด หลักสูตรการฝึกอบรมนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นจากการศึกษาและงานวิจัยโดยผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ดเพื่อพัฒนาศักยภาพของบุคคลากรให้ตอบโจทย์ความท้าทายของภาคธุรกิจ
โปรแกรมการฝึกงาน สำหรับนักศึกษาทั้งไทยและต่างชาติ โดยโปรแกรมฝึกงานจำนวน 480 ชั่วโมงนี้ จะช่วยให้องค์กรที่เข้าร่วมจะได้รับประโยชน์จากทักษะและไอเดียสดใหม่ของนักศึกษา รวมทั้งอาจได้รับพนักงานในอนาคตที่มีคุณสมบัติตรงตามที่องค์กรต้องการได้ ซึ่งมหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ดจะเป็นผู้ช่วยในการคัดเลือกนักศึกษาเข้าสู่โปรแกรมการฝึกงานนี้
การให้คำแนะนำด้านอาชีพ โดยมหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด ซึ่งจะช่วยในการพัฒนานักศึกษาให้เข้าสู่โลกการทำงานจริงอย่างมีศักยภาพ ซึ่งนอกจากให้คำแนะนำแล้ว มหาวิทยาลัยได้มีการจัดนิทรรศการจัดหางานและการฝึกงานภายในพื้นที่มหาวิทยาลัยอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยเพิ่มโอกาสในการเข้าทำงานให้กับนักศึกษา
องค์กรที่เป็นพันธมิตรกับมหาวิทยาลัยจะได้หลากหลายสิทธิประโยชน์ อาทิ ส่วนลดสำหรับค่าเล่าเรียนสิบเปอร์เซ็นสำหรับบุคลากร และส่วนลดสิบห้าเปอร์เซ็นต์สำหรับบุคลากรที่สมัครรียนเป็นกลุ่มตั้งแต่หกคนขึ้นไป
การเปิดศูนย์การศึกษา อโศก แคมปัส แห่งใหม่ใจกลางกรุงเทพมหานคร ช่วยยกระดับการศึกษาสำหรับคนวัยทำงานไปอีกขั้น เพื่อมอบทางเลือกหลักสูตรที่หลากหลายเพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่แตกต่างของคนวัยทำงาน ในหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ที่เลือกเรียนได้แบบเต็มเวลา ระหว่างสุดสัปดาห์ หรือช่วงเย็นในระหว่างสัปดาห์
องค์กรที่เข้าร่วมเป็นพันธมิตรในปัจจุบัน ได้แก่ บริษัทเดอะมอลล์กรุ๊ป จำกัด, บริษัทแมคแคน เวิลด์กรุ๊ป, บริษัทโอกิลวี่ แอนด์ เมเธอร์ ประเทศไทย, บริษัท ไทยสมายล์แอร์เวย์ จำกัด, สายการบินกาตาร์แอร์เวย์, บริษัท อา ร์ เอ ส จำกัด (มหาชน), บริษัทเอชแอนด์เอ็ม ประเทศไทย, ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
"หลากหลายองค์กรในปัจจุบันพบเจอกับปัญหาในการรักษาพนักงานที่ดีไว้กับองค์กร รวมไปถึงการฝึกฝนพนักงานใหม่เพื่อให้เหมาะสมกับพันธกิจขององค์กร ซึ่งเรามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เปิดตัวโปรแกรมความร่วมมือระหว่างองค์กร ณ อโศก แคมปัสของเรา ซึ่งเราหวังว่า เราจะช่วยให้องค์กรมองเห็นปัญหานี้ รวมไปถึงวิธีแก้ไขเพื่อตอบสนองความต้องการของการเจริญเติบโตของธุรกิจในปัจจุบัน" มร. จิลลส์ กล่าวปิดท้าย