ปี 2559 จะเป็นจุดเริ่มต้นของยุค DX ในประเทศไทย: ไอดีซีคาดดิจิตอล ทรานส์ฟอร์เมชันและการใช้งานแพลตฟอร์มรุ่นที่ 3 จะก้าวกระโดด

ข่าวเทคโนโลยี Tuesday December 8, 2015 13:28 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--8 ธ.ค.--ไอดีซีประเทศไทย ไอดีซีประเทศไทยได้เปิดเผยการคาดการณ์ 10 แนวโน้มสำคัญของภาคธุรกิจและภาคเทคโนโลยีของประเทศไทยในปี 2559 โดยไฮไลต์ว่าการทำดิจิตอลทรานส์ฟอร์เมชันนั้นจะช่วยให้องค์กรในประเทศไทยประสบความสำเร็จในการใช้เทคโนโลยีแพลตฟอร์มรุ่นที่ 3 และ เน้นย้ำถึงความจำเป็นที่องค์กรต้องทำการเปลี่ยนแปลงเพื่อรักษาความเป็นผู้นำเอาไว้ ไอดีซีคาดว่าภายในสิ้นปี 2560 กว่า 50% ของ 100 องค์กรชั้นนำในประเทศไทย (T100) จะมีดิจิตอลทรานส์ฟอร์เมชันเป็นศูนย์กลางของกลยุทธ์องค์กร และจะมีการตั้งผู้บริหารตำแหน่งใหม่ขึ้นมา เพื่อกำกับดูแลการดำเนินกลยุทธ์ DX โดยเฉพาะ "ในปี 2559 นี้ การเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมไอซีทีของไทยจะช่วยส่งเสริมแผนแม่บทเศรษฐกิจดิจิตอลของประเทศได้ โดยในปัจจุบันเราได้พบเห็นการเปลี่ยนแปลงมากมายในยุคแห่งการทำทรานส์ฟอร์เมชัน ที่บริษัทต่าง ๆ จะเพิ่มความพยายามในการทำดิจิตอลทรานส์ฟอร์เมชัน และจะลงทุนในเทคโนโลยีแพลตฟอร์มรุ่นที่ 3 เพิ่มขึ้นอย่างมาก เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขัน" นายไมเคิล อาราเน็ตตาผู้จัดการประจำไอดีซีประเทศไทยกล่าว เทคโนโลยีแพลตฟอร์มรุ่นที่ 3 นั้นประกอบด้วย 4 เสาหลัก ได้แก่ คลาวด์ โมบิลิตี้ บิ้กดาต้าอนาไลติกส์ และ โซเชียล ตลอดจนตัวเร่งนวัตกรรม 6 อย่าง ได้แก่ อินเตอร์เน็ตออฟธิงส์ ระบบคอกนิทีฟคอมพิวติ้ง เทคโนโลยีหุ่นยนต์ การพิมพ์ 3 มิติ เวอร์ชวล หรือออกเม้นต์เรียลลิตี้ และระบบเน็กซ์เจนเนอเรชันซีเคียวริตี้ สำหรับในปีนี้ การคาดการณ์ 10 แนวโน้มสำคัญของไอดีซี มีการเปลี่ยนชื่อเป็น IDC FutureScapes สำหรับทั้งผู้ใช้เทคโนโลยี และ ซัพพลายเออร์ด้านไอซีที นายอาราเน็ตตายังกล่าวเสริมว่า "ในภาวะที่สภาพการแข่งขันเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็วเช่นนี้ องค์กรที่ปรับตัวไม่ทันอาจจะสูญเสียความเป็นผู้นำในตลาด ดังนั้นซีไอโอจะต้องปรับเปลี่ยนแผนกไอทีให้กลายเป็นเครื่องจักรขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจอย่างแท้จริง" นอกจากนี้ไอดีซีได้พัฒนากรอบแนวคิดความเป็นผู้นำ ทางด้านดิจิตอลทรานส์ฟอร์เมชัน ภายใต้ชื่อ "Leading in 3D" ร่วมกับการแถลง IDC FutureScapes สำหรับปี 2559 นี้ 3D นั้นมาจากสามมิติของการ "รังสรรค์ ผสาน และ รวมศูนย์" ที่ผู้นำฝ่ายไอทีจำเป็นที่จะทำให้สำเร็จลุล่วง ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ รังสรรค์: ในฐานะผู้ช่วยสร้างความคล่องตัวสร้างนวัตกรรมให้กับธุรกิจผ่านการใช้ไอที ผสาน: ในฐานะผู้นำในการปรับเปลี่ยนแพลตฟอร์มใหม่ ๆ ให้กลายเป็นเครื่องมือในการทำธุรกิจ รวมศูนย์: ในฐานะผู้ให้บริการและจัดหาสินค้าหรือบริการไอทีที่เชื่อถือได้ ในการแถลงข่าวประจำปีในวันนี้ ไอดีซีประเทศไทยจะอธิบายถึงแนวโน้ม 10 อย่างที่จะกำหนดการก้าวเข้าสู่ยุคดิจิตอลทรานส์ฟอร์เมชัน ของประเทศไทย #1: ดิจิตอลทรานส์ฟอร์เมชัน ภายในสิ้นปี 2560 กว่าครึ่งขององค์กรในประเทศไทยจะเริ่มกระบวนการดิจิตอลทรานส์ฟอร์เมชัน ดิจิตอลทรานส์ฟอร์มเมชัน จะเป็นปัจจัยหลักในการผลักดันการลงทุนทางไอทีขององค์กรในปี 2559 เป็นต้นไป โดยดิจิตอลทรานส์ฟอร์มเมชันนั้นเป็นการนำเทคโนโลยีแพลตฟอร์มรุ่นที่ 3 นำมาพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของผู้บริโภค และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้สูงขึ้น ไอดีซีเชื่อว่ากลยุทธ์ทรานส์ฟอร์เมชันจะมุ่งเน้นไปที่ความชำนาญด้านดิจิตอลทั้งในเรื่องของความสัมพันธ์ การปฏิบัติงาน และสินค้าหรือบริการที่มีฐานมาจากข้อมูล ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือการที่ร้านค้า โรงแรม หรืออุตสาหกรรมบริการบางประเภทใช้การผสมผสานกันของเทคโนโลยีโมบิลิตี้ บิ้กดาต้า และ คลาวด์เพื่อเป็นเครื่องมือประกอบการตัดสินใจที่ดีที่สุดและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ทั้งนี้ในอีก 2 ปีข้างหน้า องค์กรจำนวนมากจะมีการทำดิจิตอลทรานส์ฟอร์มเมชันในระดับที่เข้มข้นขึ้น ซึ่งจะสร้างผลกระทบอย่างมากมายให้กับอุตสาหกรรมต่าง ๆ ตั้งแต่ปี 2559 เป็นต้นไป #2: คลาวด์จะกลายเป็นการลงทุนพื้นฐานทางด้านไอที ภายในปี 2561 การลงทุนด้านคลาวด์จะมีสัดส่วนเป็นอย่างน้อยหนึ่งในสี่ของค่าใช้จ่ายด้านไอทีทั้งหมด และภายในปี 2563 30% ของการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานไอทีทั้งหมดจะเกี่ยวข้องกับคลาวด์ ในขณะที่สัดส่วนของคลาวด์จะสูงถึง 30-35% ของค่าใช้จ่ายด้านซอฟต์แวร์ เซอร์วิส และเทคโนโลยีทั้งหมด ในปี 2559 นั้นองค์กรต่าง ๆ มีความจำเป็นจะต้องพัฒนาขีดความสามารถในการใช้งานบริการผ่านคลาวด์ โครงการที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีแพลตฟอร์มรุ่นที่ 3 หรือดิจิตอลทรานส์ฟอร์เมชันในเชิงธุรกิจนั้นจะเกิดขึ้นได้ยาก หากไม่มีคลาวด์เป็นพื้นฐาน ซึ่งหมายความว่าองค์กรเหล่านั้น จะต้องเพิ่มการใช้บริการผ่านคลาวด์ขึ้นอย่างมากในช่วงหลายปีข้างหน้า ภายในปี 2563 การใช้จ่ายขององค์กรสำหรับบริการผ่านคลาวด์ ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์เพื่อซัพพอร์ทบริการผ่านคลาวด์ และการบริการเพื่อใช้งานและจัดการบริการผ่านคลาวด์จะมีมูลค่าสูงกว่า 350 ล้านดอลลาห์สหรัฐซึ่งถือเป็นการเติบโดขึ้น 100% จากปัจจุบัน ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ส่วนใหญ่ที่เวนเดอร์ผลิตก็จะเป็นแบบ "คลาวด์เฟิร์ส" เช่นกัน การเปลี่ยนแปลงของบริการผ่านคลาวด์จากความเป็นสถาปัตยกรรม "ใหม่" ไปสู่ความเป็นเทคโนโลยีขั้นพื้นฐานนั้นจะมีนัยสำคัญสำหรับผู้นำด้านไอทีและธุรกิจ #3: ผู้ใช้สมาร์ทโฟนจะเพิ่มขึ้นอีก 25 ล้านคน ภายในปี 2561 ประเทศไทยจะมีผู้เข้าถึงอินเตอร์เน็ตด้วยสมาร์ทโฟนเป็นอุปกรณ์แรกเป็นจำนวน 50 ล้านคน ซึ่งคิดเป็น 73% ของประชากรทั้งหมด การที่มีผู้ใช้สมาร์ทโฟนเข้าถึงอินเตอร์เน็ตกว่า 50 ล้านคนนั้น ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นวงกว้างต่อองค์กรต่างๆ ไอดีซีคาดว่าจะพบเห็นการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการทางธุรกิจภายในองค์กร เช่น กลยุทธ์และการพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับสมาร์ทโฟน นอกจากนี้องค์กรต่าง ๆ ต้องสร้างวิธีใหม่ๆ ในการนำเสนอสินค้าและบริการโดยผ่านแนวคิดแบบโมบายล์เฟิร์ส การปรับให้เหมาะสมกับตลาดท้องถิ่น และการนำเครือข่ายสังคมออนไลน์มาใช้เป็นมิติใหม่ในการมีส่วนร่วมของลูกค้า การเปลี่ยนแปลงนี้ยังผลักดันให้เกิดการใช้ระบบคอกนิทีฟในการวิเคราะห์ การรองรับการใช้งานแบบออฟไลน์ และประสิทธิภาพของบิ้กดาต้าอย่างมาก เนื่องจากข้อมูลทั้งที่มีอยู่ และที่เกิดขึ้นใหม่นั้นจะถูกจัดเก็บในรูปแบบดิจิตอลซึ่งพร้อมใช้งานได้ทันทีเพื่อตอบสนองผู้ใช้ 50 ล้านราย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ #4: รูปแบบธุรกิจแบบใหม่จะประสบความสำเร็จ ภายในปี 2560 กว่า 20% ขององค์กรขนาดใหญ่จะได้รับผลกระทบจากนวัตกรรมทางโมเดลธุรกิจรูปแบบใหม่นี้ และจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินงานอย่างแน่นอน ในอดีตนั้นผลกระทบต่าง ๆ มักเกิดจากนวัตกรรมทางสินค้าและบริการ แต่อินเทอร์เน็ตและองค์ประกอบของแพลตฟอร์มรุ่นที่ 3 นั้น จะช่วยให้ธุรกิจสามารถสร้างรูปแบบการนำเสนอสินค้าและบริการที่แตกต่างไปจากเดิมได้ ในไม่ช้าธุรกิจแบบเดิมจะได้รับผลกระทบจากธุรกิจแบบใหม่ที่กำลังเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นธุรกิจที่เกิดจากการนำทรัพยากรที่ไม่ได้รับการใช้งานเต็มที่ต่าง ๆ มารวมเข้าไว้ด้วยกัน จนก่อให้เกิดสินค้า บริการ และตลาดใหม่ที่ตัวเองเป็นเจ้าของผู้เดียวได้ Uber และ Airbnb เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของธุรกิจแบบใหม่ที่มีการขยายฐานลูกค้า และ ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็ว และกำลังสร้างผลกระทบต่อธุรกิจรูปแบบเดิม ไอดีซีคาดว่าจะพบเห็นธุรกิจใหม่ในลักษณะนี้เพิ่มมากขึ้น และธุรกิจรูปแบบเดิมต้องปรับตัวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ #5: รูปแบบใหม่ของการชำระเงิน ภายในปี 2560 ผู้นำในภาคอุตสาหกรรมค้าปลีก 10 อันดับแรก จะมีการใช้การตรวจสอบหลายขั้นตอนสำหรับการชำระเงินในร้าน โดยระบบ Near Field Communication (NFC) สแกนนิ้วมือ และไร้สัมผัสจะมีบทบาทที่สำคัญ ภายในตุลาคม 2561 นโยบาย "การปรับภาระความรับผิดชอบ" จะมีผลบังคับใช้ในประเทศไทย และทำให้ร้านค้าทั่วประเทศต้องระวางโทษต่อการทุจริตที่เกี่ยวข้องกับบัตรเครดิตในร้าน เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในต่างประเทศในช่วงที่ผ่านมา ชี้ให้เห็นว่าการละเมิดความปลอดภัยนั้น ส่งผลกระทบต่อลูกค้านับล้านรายและมีค่าใช้จ่ายสูงมาก ซึ่งร้านค้าปลีกในประเทศไทยไม่ว่าจะเป็นขนาดใดต่างก็มีความกังวลอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากการซื้อขายส่วนมากนั้นเกิดขึ้นภายในร้าน แน่นอนว่าร้านค้าปลีกมีหน้าที่ป้องกันการฉ้อโกง ทั้งนี้ยังมีร้านค้าออนไลน์อีกหลายร้านต้องทำให้การซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ตมีความปลอดภัยด้วย หนึ่งในช่องโหว่ที่พบบ่อยคือการตรวจสอบตัวตนโดยเฉพาะกระบวนการการตรวจสอบการชำระเงินและการอนุมัติ การตรวจสอบหลายขั้นตอนนี้สามารถช่วยหลีกเลี่ยงการฉ้อโกงได้ไม่ว่าจะเป็นช่องทางการเข้าถึงลูกค้าใดๆ ก็ตาม ในปี 2560 ร้านค้าปลีกรายใหญ่ต่าง ๆ จะนำระบบชำระเงินในบริเวณใกล้เคียงมาใช้โดยเฉพาะระบบที่ใช้ NFC ระบบดังกล่าวนี้จะช่วยผลักดันความสะดวกให้แก่การตรวจสอบหลายขั้นตอนอย่างมีนัยสำคัญ #6: เครื่องพิมพ์ประเภทสมาร์ทมัลติฟังก์ชัน ภายในปี 2561 เครื่องพิมพ์ประเภทสมาร์ทมัลติฟังก์ชัน (Multifunction Printers - MFPs) จะกลายเป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่ตอบโจทย์โซลูชันการพิมพ์จำนวนมากที่ใช้ในออฟฟิศขนาดใหญ่ ไม่นานมานี้ องค์กรต่างๆ เริ่มนำเอารูปแบบความสามารถขั้นสูงเข้าไปใช้กับกลุ่มเครื่องพิมพ์ประเภทมัลติฟังก์ชันผ่านสถาปัตยกรรมโครงสร้างของอุปกรณ์ ซึ่งเริ่มต้นจากความสามารถในการสแกนแบบพื้นฐาน และ/หรือสามารถรองรับการจัดการด้านเอกสารทั่วไป อย่างไรก็ตาม ไอดีซีคาดว่าโซลูชันดังกล่าวจะได้รับการใช้งานแพร่หลายมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด การเปลี่ยนอุปกรณ์สำหรับพิมพ์หรือทำสำเนามาเป็นอุปกรณ์สำหรับดำเนินงานแบบอัจฉริยะของเครื่องพิมพ์ประเภทมัลติฟังก์ชัน จะเด่นชัดมากขึ้นในอีก 2 ปีข้างหน้า เมื่อองค์กรต่างๆ เริ่มคำนึงถึงขอบเขตความสามารถที่กว้างขึ้นของเครื่องพิมพ์ประเภทนี้ การซัพพอร์ทด้านความปลอดภัย โมบิลิตี้ และคลาวด์จะกลายเป็นมาตรฐานหลัก โดยฟีเจอร์เหล่านี้ต่างช่วยส่งเสริมโครงสร้างอุปกรณ์การพิมพ์ให้ประสิทธิภาพที่ดีขึ้น ซึ่งจะช่วยประหยัดต้นทุน และในขณะเดียวกันก็ยังผลักดันประสิทธิภาพขององค์กร องค์กรต่างๆ ที่ใช้งานเครื่องพิมพ์ประเภทนี้นั้นจะได้รับประโยชน์ทางธุรกิจสูงสุด #7: การเปลี่ยนสถานะของซัพพลายเออร์และพาร์ทเนอร์ ในปี 2563 กว่า 30% ของเวนเดอร์จะเปลี่ยนไปจากที่เรารู้จักในปัจจุบัน ดิจิตอลทรานส์ฟอร์เมชันที่กำลังเกิดขึ้นจะสร้างผลกระทบและแนวโน้มใหม่ๆ ตลอดจน ผู้เล่นรายใหม่เกิดขึ้นในตลาด ทำให้เกิดแรงกดดันอย่างมากต่อซัพพลายเออร์ไอทีแบบดั้งเดิมและผลักดันให้ผู้เล่นรายใหม่กลายเป็นผู้นำในตลาด ในช่วงหลายปีข้างหน้านั้นเราจะพบเห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องในกลุ่มเวนเดอร์ โดยหนึ่งในสามของซัพพลายเออร์ชั้นนำในปัจจุบันจะมีการควบรวมกิจการ ลดขนาด หรือเปลี่ยนสถานะอย่างมีนัยสำคัญ ยกตัวอย่างดังนี้ จะมีผู้ให้บริการผ่านคลาวด์อยู่เพียงไม่กี่รายซึ่งครองส่วนแบ่งการตลาดมากถึง 75-80% กลุ่มเทคโนโลยีไอโอทีจะมีการควบรวมกิจการ บริษัทสตาร์ทอัพจะมีความสำคัญเพิ่มขึ้นอีกมาก เนื่องจากแพลทฟอร์มที่ 3 และดิจิตอลทรานส์ฟอร์เมชันจะเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงหลายปีข้างหน้า ซัพพลายเออร์บางส่วนนั้นจะประสบความสำเร็จ ในขณะที่บางส่วนนั้นจะดับสูญไป #8: การเข้าถึงและเข้าใจผู้บริโภคที่มากขึ้นในวงกว้าง ในปี 2560 บริษัทไทยจะใช้บิ้กดาต้าเพื่อเข้าถึงและเข้าใจผู้บริโภคที่มากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ จากการใช้งานโมบิลิตี้ ออมนิแชนแนล และโซเชียลมีเดีย องค์กรในไทยนั้นประสบความสำเร็จในการสร้างฐานลูกค้าใหม่มากขึ้น ผ่านการสร้างความผูกพันทางดิจิตอลกับลูกค้า ช่องทางเหล่านี้นั้นมีข้อมูลจำนวนมากซึ่งพร้อมสำหรับการวิเคราะห์เนื่องจากโครงสร้างและเครื่องมือที่หาได้ง่ายและมีราคาถูกกว่าเมื่อก่อน หากแต่ว่าช่องทางเหล่านี้ไม่ได้ถูกใช้ประโยชน์อย่างเต็มศักยภาพ เพราะขาดวิสัยทัศน์ และ ความรู้ความชำนาญด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูล ในเรื่องวิทยาศาสตร์ข้อมูลนี้ องค์กร และสถาบันการศึกษาได้รับรู้ถึงการขาดแคลนความชำนาญดังกล่าว และ เริ่มสร้างความเชี่ยวชาญที่จำเป็นออกสู่ตลาด ในขณะเดียวกันมีเพียงไม่กี่องค์กรเท่านั้นที่เพิ่งจะเริ่มดำเนินกลยุทธ์บิ้กดาต้า ไอดีซีเชื่อว่าในปี 2560 บริษัทจะสามารถนำแนวความคิด "การเข้าถึงและเข้าใจผู้บริโภคที่มากขึ้นในวงกว้าง" มาใช้อย่างมีนัยสำคัญได้มากขึ้น #9: เน็กซ์เจนเนอเรชันซีเคียวริตี้และการจัดการความเสี่ยง ภายในปี 2560 กว่า 30% ของฝ่ายไอที่ในองค์กรจะเปลี่ยนความสนใจจากการวางแนวกันด้านซีเคียวริตี้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการโจมตีระบบ มาเป็นการมุ่งเน้นการ "จำกัดและควบคุม" ความเสียหายแทน เมื่อองค์กรเริ่มกระบวนการทำดิจิตอลทรานส์ฟอร์เมชัน ย่อมมีการใช้งานเทคโนโลยีแพลตฟอร์มที่ 3 อย่างเข้มข้นขึ้น ซึ่งถึงแม้เทคโนโลยีใหม่ ๆ จะสามารถสร้างประโยชน์อย่างมากมาย แต่ในขณะเดียวกันก็เพิ่มความเสี่ยงขึ้นด้วย เนื่องจากทำให้ "พื้นที่" ที่สามารถถูกโจมตีได้ เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด อีกทั้งภัยคุกคามเองก็อันตรายขึ้นเรื่อย ๆ นั่นหมายความว่าการสร้าง "แนวกั้น" เพื่อป้องกันการโจมตีนั้นไม่ใช่ตัวเลือกที่มีประสิทธิภาพอีกต่อไป ไอดีซีเชื่อว่าองค์กรจะเปลี่ยนแนวคิดเป็นการ "จำกัดและควบคุม" ความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นแทน ผ่านการจำกัดการเข้าถึงข้อมูลและเพิ่มการตรวจตราด้านซีเคียวริตี้มากขึ้น #10: กลุ่มธุรกิจประกันภัยจะเป็นผู้นำด้านไอโอที ภายในปี 2560 การเพิ่มขึ้นของงบประมาณด้านไอที และ จำนวนนวัตกรรมในกลุ่มธุรกิจประกันภัยจะสูงกว่ากลุ่มธุรกิจธนาคาร เนื่องมาจากโครงการไอโอทีในกลุ่มธุรกิจประกันภัยนั้นจะได้การลัดขั้นตอน เราจะพบกรณีตัวอย่างการใช้งานไอโอทีในกลุ่มธุรกิจประกันภัยรถยนต์เป็นครั้งแรก ไอดีซีคาดว่าโซลูชันสำหรับรถยนต์นั้น จะเติบโตอย่างมากในอีกห้าปีถัดไป ซึ่งจะก่อให้เกิดสินค้าประกันภัยจากเทคโนโลยีเทเลมาติกส์ โปรเจคนำร่องที่ประสบความสำเร็จโดยบริษัทประกันภัยในระดับภูมิภาคจะส่งผลให้เกิดการนำเทคโนโลยีนั้นมาใช้อย่างแพร่หลาย กรณีตัวอย่างอื่นๆ รวมถึงการใช้เทคโนโลยีไอโอทีเพื่อเก็บข้อมูลส่วนบุคคลและเชื่อมโยงกับเบี้ยประกันสุขภาพ และ การใช้เซ็นเซอร์ในการประกันอัคคีภัยและการขนส่งสินค้า นอกจากนั้นยังมีเทคโนโลยีอื่นๆ ช่วยส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมดังกล่าวอีกด้วย การใช้งานคลาวด์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในสำนักงาน และ บริการการจัดการนั้นช่วยผลักดันกลุ่มธุรกิจประกันภัยเข้าสู่แพลทฟอร์มที่ 3 ?ภายในปี 2559 นี้ ไอดีซีคาดว่าจะมีการอัพเกรดระบบหลักของภาคอุตสาหกรรมสามครั้ง ซึ่งจะผลักดันการใช้จ่ายด้านไอทีของกลุ่มอุตสาหกรรมให้เติบโตถึง 10% ในขณะที่กลุ่มธุรกิจการธนาคารจะเติบโตเพียง 6% สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้บริการข้อมูลของไอดีซี กรุณาติดต่อ คุณจตุพร ศุภมงคลเศรษฐ์ที่ +662-645-2370 หรือ jsupramongkonset@idc.com หากต้องการนัดสัมภาษณ์กับคุณไมเคิล อาราเน็ตตา กรุณาติดต่อคุณศศิธร แซ่เอี้ยวที่ +662-645-2370 หรือ sasithorn@idc.com

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ