โครงการ งานสัปดาห์สะพานข้ามแม่น้ำแคว ระหว่างวันที่ 25 พฤศจิกายน - 7 ธันวาคม 2543 ณ จังหวัดกาญจบุรี

ข่าวท่องเที่ยว Thursday November 16, 2000 13:57 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--16 พ.ย.--ททท.
โครงการ
งานสัปดาห์สะพานข้ามแม่น้ำแคว
ระหว่างวันที่ 25 พฤศจิกายน - 7 ธันวาคม 2543
ณ จังหวัดกาญจบุรี
*******
ความเป็นมา
กาญจบุรี เป็นจังหวัดสำคัญจังหวัดหนึ่งในภาคกลางมีทรัพยากร แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติวิถีชีวิตขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม ตลอดจนโบราณสถานและประวัติศาสตร์ ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยกองทัพญี่ปุ่นได้ทำการตกลงกับรัฐบาลไทยสร้างทางรถไฟจากชุมทางหนองปลาดุกจังหวัดราชบุรี ผ่านกาญจบุรีไปยังสถานีตันบีซูซาบัด ในประเทศพม่าเพื่อใช้เป็นทางลำเลียงยุทธปัจจัยไปยังประเทศพม่าและอินเดียต่อไป ภารกิจดังกล่าวได้เกณฑ์เชลยศึก ชาวอังกฤษ ฮอลันดา อเมริกา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ตลอดจนได้ว่าจ้างกรรมกรชาวเอเซียร่วมกันสร้างทางรถไฟสายนี้ ซึ่งจะต้องตัดผ่านเทือกเขาและป่าทึบ จังทำให้ผู้คนล้มตายเป็นเรือนหมื่นเรือนแสน จนแทบจะกล่าวได้ว่าไม้หมอนแต่ละท่อนที่รองรับทางรถไฟสายนี้เท่ากับชีวิตแต่ละชีวิตที่สูญเสียไป และในช่วงผ่านลำแควใหญ่ได้สร้างสะพานข้ามแม่น้ำแควขึ้นที่ท่ามะขามสะพานแห่งนี้นับได้ว่ามีราคาแพงที่สุดแห่งหนึ่งของโลก และได้ทำการเปิดใช้เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2486 แต่ต่อมาได้ถูกทหารฝ่ายสัมพันธมิตรทิ้งระเบิดเสียหายเป็นบางส่วน
เพื่อส่งเสริมการศึกษาในด้านประวัติศาสตร์ ให้เกิดความสำนึกถึงความสำคัญของสันติภาพและเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในจังหวัดกาญจบุรี ตลอดจนการท่องเที่ยวโดยรวมของประเทศ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จังหวัดกาญจบุรี การรถไฟแห่งประเทศไทย และ กองพลทหารราบที่ 9 จึงร่วมกันจัดการแสดงแสงและเสียง เรื่อง "สะพานข้ามแม่น้ำแคว ทางรถไฟสายมรณะ" ในงานสัปดาห์สะพานข้ามแม่น้ำแคว ประจำปี 2543
วัตถุประสงค์
1. เพื่อสนับสนุนกิจกรรมปีท่องเที่ยวไทย 2000
2. เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดกาญจบุรี และของประเทศไทย
3. เพื่อสร้างกิจกรรมให้เกิดการท่องเที่ยวในจังหวัดกาญจบุรีเพิ่มขึ้น ในกลุ่มท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ
4. เพื่อเป็นการสร้างงานและกระจายรายได้ไปสู่ภูมิภาค
5. เพื่อให้เกิดประโยชน์ทางการศึกษาในด้านประวัติศาสตร์
6. เพื่อประยุกต์สิ่งที่เป็นอนุสรณ์สถานจากสงครามโลกครั้งที่ 2 มาใช้ประโยชน์ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวได้อย่างถูกต้องตามหลักการ
สถานที่จัดงาน
บริเวณสะพานข้ามแม่น้ำแคว ตำบลท่ามะขาม อำเภอเมือง จังหวัดกาญจบุรี
วิธีดำเนินการ
1. ศึกษางานที่ผ่านและปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นโดยกำหนดวางแบบใหม่
2. ประสานงานระหว่าง ททท. จังหวัดกาญจบุรี การรถไฟแห่งประเทศไทย
กองพลทหารราบที่ 9 และธุรกิจท่องเที่ยวเอกชน
3. ประชุมร่วมระหว่างหน่วยงานเพื่อเตรียมงาน
4. ประชาสัมพันธ์งานและกิจกรรมในงานทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
พร้อมเปิดจำหน่ายบัตรชมการแสดง
5. เตรียมการปรับปรุงจัดรูปแบบการแสดงแสงและเสียงใหม่
6. จัดการแถลงข่าวส่วนภูมิภาคและส่วนกลาง
7. สอบถามรายละเอียดการจัดงานเพิ่มเติมได้ที่
- กองกิจกรรมการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สำนักงานใหญ่ป
โทร. (02) 6941222 ต่อ 1962
- สำนักงาน ททท. ภาคกลางเขต 1 (กาญจนบุรี) โทร. (034) 511200
- สำนักงานจังหวัดกาญจบุรี ฝ่ายอำนวยการ โทร. (034) 511778
ระยะเวลาจัดงาน
กำหนดการจัดงานระหว่างวันที่ 25 พฤศจิกายน - 7 ธันวาคม 2543 รวม 13 วัน
การแสดงแสงและเสียงกำหนดดังนี้
วันเสาร์ที่ 25 พฤศจิกายน 2543 การแสดงรอบปบมฤกษ์ เวลา 20.00-21.00 น.
วันศุกร์ที่ 1, วันเสาร์ที่ 2 และวันจันทร์ที่ 4 ธันวาคม 2543
แสดงวันละ 2 รอบ รอบแรก เวลา 19.00-20.00 น.
รอบสอง เวลา 21.30-22.30 น.
วันที่ 25,26,27,28,29,30 พฤศจิกายน และ 3,5,6,7 ธันวาคม 2543
แสดงวันละ 1 รอบ เวลา 20.00-21.00 น.
หมายเหตุ
1. การแสดงซ้อมใหญ่วันพุธที่ 22 พฤศจิกายน 2543 จำหน่ายบัตรราคา 50 บาท (ทุกที่นั่ง)
2. บัตรผ่านประตูราคา 100 บาท และ 200 บาท (สามารถผ่านประตูสวนสนุกได้)
3. ซื้อบัตรชมการแสดงแสงและเสียงล่วงหน้าได้ที่
- สำนักงานจังหวัดกาญจบุรี ฝ่ายอำนวยการ โทร. (035) 511778, 515208
- ททท. (สำนักงานใหญ่) กรุงเทพมหานคร โทร. (02) 6941222 ต่อ 1180, 1183
4. มีบริการระบบแปลคำบรรยายสำหรับนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศให้ฟรี
เพื่อชมการแสดง 3 ภาษา คือ อังกฤษ ญี่ปุ่น และจีน
งบประมาณ ที่มาของงบประมาณดำเนินการ
1. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
2. จังหวัดกาญจนบุรี
3. สปอนเซอร์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
หน่วยงานที่รับผิดชอบ
1. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
2. จังหวัดกาญจนบุรี
3. การรถไฟแห่งประเทศไทย
4. กองพลทหารราบที่ 9
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. เป็นการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยว
2. พัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศ
3. สร้างงานและกระจายรายได้
4. จะทำให้ประชาชนทั่วไปเห็นถึงความสำคัญของการประยุกต์ใช้มรดกจากประวัติศาสตร์
และอนุสรณ์สถานที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์แก่สังคมปัจจุบัน เพื่อทำให้เกิดความรักและความหวงแหน ร่วมใจกันรักษาให้คงอยู่ต่อไปให้อนุชนรุ่น
หลังได้ศึกษา--จบ--
-อน-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ