กรุงเทพฯ--11 ธ.ค.--Major Creation
วันเสาร์ที่ 19 ธันวาคม 2558 เวลา 14.00 น.
ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
มูลนิธิวงดุริยางค์ซิมโฟนีกรุงเทพ ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ร่วมกับทายาทครูแก้ว อัจฉริยะกุล มูลนิธิสุนทราภรณ์ ร่วมสนับสนุนโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย มูลนิธิสุขุโม บีกริม และ บริษัทกรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) จัดคอนเสิร์ตเนื่องในโอกาส 100 ปี ชาตกาล ครูแก้ว อัจฉริยะกุล รายการ "บีเอสโอ บรรเลงเพลงครูแก้ว" ซึ่งการแสดงครั้งนี้เป็นการคัดสรรบทเพลงที่ทรงคุณค่าที่ท่านประพันธ์ไว้กว่า 3,000 บทเพลง
ครูแก้ว อัจฉริยะกุล เกิดเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2458 เป็นชาวกรุงเทพ บิดาชื่อนายใหญ่ อัจฉริยะกุล เป็นชาวกรีก มารดาชื่อนางล้วน อัจฉริยะกุล ครูแก้วสำเร็จการศึกษา ชั้นมัธยมปีที่ 8 จากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน มีความสามารถด้านภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เขียนบทร้อยแก้วและร้อยกรอง ได้เริ่มงานประพันธ์คำร้องมาตั้งแต่อายุ 19 ปี มีผลงานการประพันธ์เพลงที่เขียนด้วยสำนวนกวีกว่า 3,000 เพลง ร่วมงานกับครูเพลงในเวลานั้นหลายท่าน ครูเวส สุนทรจามร, หลวงสุขุมนัยประดิษฐ, ครูนารถ ถาวรบุตร, ครูสริ ยงยุทธ, ครูสุรัฐ พุกกะเวส, ครูสมพงษ์ ทิพยะกลิน, ครูธนิต ผลประเสริฐ, ครูสมศักดิ์ เทพานนท์ และครูเอื้อ สุนทรสนาน ซึ่ง ครูแก้วและครูเอื้อได้รับการขนานนามว่าเป็นขุนเพลงแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ครูแก้วได้สร้างสรรค์ผลงานเพลงหลากหลาย ทั้งบทเพลงเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ เพลงประจำสถาบัน เพลงประจำจังหวัด เพลงที่มีคติสอนเด็ก แฝงคติธรรม สะท้อนสภาพสังคม เพลงประกอบละคร เพลงประกอบภาพยนตร์ และเพลงส่งเสริมการท่องเที่ยว อาทิ ถิ่นไทยงาม
การแสดงครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อ เผยแพร่เกียรติคุณครูแก้ว อัจฉริยะกุล ในฐานะครูเพลงที่ได้สร้างผลงานเพลงอมตะที่ยังอยู่ในความทรงจำมากมาย และส่งเสริมให้บทเพลงทรงคุณค่าให้ได้รับความนิยมตลอดไป ถ่ายทอดบทเพลงอันทรงคุณค่าโดยวง Bangkok Symphony Orchestra (BSO) อำนวยเพลงโดย นรอรรถ จันทร์กล่ำ พร้อมการคัดสรรเลือกบทเพลงที่เราคุ้นหูและกลายเป็นเพลงอมตะมาถึงทุกวันนี้ อาทิ จุฬาตรีคูณ ใต้ร่มมลุลี ชื่นชีวิต ปองใจรัก วังน้ำวน ริมฝั่งน้ำ ปาหนัน และบทเพลงอีกมากมายที่ยังอยู่ในความทรงจำ ผ่านการขับร้องจากนักร้องรับเชิญชั้นนำชาวไทย ซึ่งเต็มเปี่ยมไปด้วยคุณภาพ ได้แก่ ศรวณี โพธิเทศ, ธีระนัยน์ ณ หนองคาย, สุเมธ องอาจ, กรกันต์ สุทธิโกเศศ (อาร์ม), พิจิกา จิตตะปุตตะ (ลูกหว้า), นักร้องคลื่นลูกใหม่สุนทราภรณ์ และคณะนักร้องประสานเสียงสวนพลู ร่วมขับกล่อมให้เข้าถึงสุทรียรสในบทเพลงของครูแก้ว
คุณศรวณี โพธิเทศ นักร้องในตำนาน ซึ่งยังคงมีน้ำเสียงไพเราะ สะกดอารมณ์เข้าถึงบทเพลงได้เป็นอย่างดี เต็มเปี่ยมไปด้วยคุณภาพ ไม่ทำให้ผู้ชมผิดหวังอย่างแน่นอน ศรวณี ยังเป็นนักร้องลูกกรุงหญิงหนึ่งเดียวที่ได้รับรางวัลเสาอากาศทองคำพระราชทาน 3 ปีซ้อน และรางวัลอารีรัง (นักร้องยอดเยี่ยม)จากประเทศเกาหลีใต้
คุณธีรนัยน์ ณ หนองคาย เป็นนักร้องและนักแสดงหญิงชาวไทย สามารถร้องเพลงได้ในหลายรูปแบบ เช่น คลาสสิก ป๊อบ แจ๊ส ไทยลูกกรุง เพลงจากภาพยนตร์และ ละครเพลง ๆ ทั้งของไทยและต่างประเทศ ทุกครั้งที่ ธีรนัยน์ขับร้อง บทเพลงที่หลากหลาย น้ำเสียง อันทรงพลังของเธอ ไม่เคยทำให้ผู้ชมผิดหวัง
คุณสุเมธ องอาจ หรือ ที่เรารู้จักในนาม สุเมธ แอนด์เดอะปั๋ง อีกหนึ่งศิลปิน ที่มีความสามารถ เป็นเอกลัษณ์ ที่ถ่ายทอดบทเพลงเก่าๆ มาคัฟเวอร์ใหม่ในสไตส์ของตัวเอง น้ำเสียงที่ถ่ายทอดออกมาได้อย่างลงตัวจนสร้างชื่อเสียงเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในวงการเพลง
กรกันต์ สุทธิโกเศศ (อาร์ม) นักร้องรุ่นใหม่ ที่เปี่ยมไปด้วยความสามารถ ที่หลากหลาย ทั้งร้องเพลง เล่นละครเวที นักพากย์ รวมถึงล่าสุด กับการเป็นผู้ประกาศข่าว อาร์มได้มีโอกาสโชว์น้ำเสียงในการร้องเพลง ร่วมงานแสดงกับทาง BSO อย่างต่อเนื่อง และเป็นที่ชื่นชอบของผู้ชมเป็นอย่างมาก
พิจิกา จิตตะปุตตะ (ลูกหว้า) จากอดีตดีเจรายการวิทยุเพลงแจ๊ส ก้าวเข้าสู่วงการเพลง เริ่มทำอัลบัมด้วย โดยมีเพลงที่ประสบความสำเร็จหลายเพลง นอกจากนี้ยังมีผลงานแสดงละครเวทีหลายเรื่องเช่น คู่กรรม the musical, วิวาห์คาบาเรต์, Pippin the musical, พระมหาชนก, Dreamgirls เป็นต้น รวมทั้งอ่านสารคดี และสปอตวิทยุโทรทัศน์ ร้องเพลงประกอบโฆษณามากมาย โดยเฉพาะการขับร้องเพลงประกอบละครเวที ซึ่งลูกหว้าสามารถถ่ายทอดอารมณ์เพลงได้อย่างมีอรรถรส
"คลื่นลูกใหม่สุนทราภรณ์" ถือกำเนิดโดยคุณอติพร สุนทรนาน เสนะวงศ์ ทายาทของครูเอื้อ สุนทรสนาน โดยมีเป้าหมายเพื่อรับเยาวชนคนรุ่นใหม่ให้เข้ามา สืบสานงานเพลงของสุนทราภรณ์ ทั้งยังทำหน้าที่เสมือนรอยต่อระหว่างอดีตกับปัจจุบัน ทำให้วงดนตรีสุนทราภรณ์เป็นวงที่ร่วมสมัย แต่คงรักษามาตรฐานในการขับร้องเพลง ตามแบบฉบับ "ทางเพลง" ของสุนทราภรณ์ทุกประการ
"คณะนักร้องประสานเสียงสวนพลู" จัดตั้งคณะเพื่อเผยแพร่ศิลปะการขับร้องประสานเสียงในแบบประยุกต์ โดยสอดแทรกวัฒนธรรมไทยเข้าไป ทำให้ 'สวนพลูคอรัส' เป็นที่รู้จักของนานาประเทศ และสามารถคว้ารางวัลระดับโลกจากเวทีต่าง ๆ มาแล้วอย่างมากมาย
กำหนดแสดงในวันเสาร์ที่ 19 ธันวาคม 2558 เวลา 14.00 น. ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย สำหรับคนที่รักและชื่นชอบบทเพลงของท่าน ต้องไม่พลาดชมคอนเสิร์ตในครั้งนี้
เข้าชมฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย
วิธีการขอรับบัตรเข้าชมงาน
ขอรับบัตรชมงานฟรี และ สอบถามรายละเอียดได้ที่
สำนักงานมูลนิธิ BSO โทรศัพท์ 02-255-6617-8
www.bangkoksymphony.org
บีเอสโอ บรรเลงเพลงครูแก้ว
วันเสาร์ที่ 19 ธันวาคม 2558 เวลา 14:00 น.
ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
Overture ราชาเป็นสง่าแห่งแคว้น แก้ว-เอื้อ คณะนักร้องประสานเสียงสวนพลู
ลุ่มเจ้าพระยา แก้ว-นารถ คณะนักร้องประสานเสียงสวนพลู
หงส์เหิร แก้ว-เวส ธีรนัยน์
คิดถึง แก้ว-เอื้อ กรกันต์
ริมฝั่งน้ำ แก้ว-เวส พิจิกา
พรานล่อเนื้อ แก้ว-เอื้อ สุเมธ
เมื่อไหร่จะให้พบ แก้ว-หลวงสุขุม ศรวณี
เมดเล่ย์จุฬาตรีคูณ จ้าวไม่มีศาล แก้ว-เอื้อ กรกันต์
จุฬาตรีคูณ ธีรนัยน์
ปองใจรัก สุเมธ-พิจิกา
ใต้ร่มมลุลี กรกันต์-ธีรนัยน์
อ้อมกอดพี่ สุเมธ
ขอพบในฝัน แก้ว-เอื้อ สุเมธ
โอ้ยอดรัก แก้ว-เอื้อ ศรวณี
ขวัญใจจุฬา แก้ว-เอื้อ กรกันต์+คอรัส
ลาแล้วจามจุรี แก้ว-เอื้อ พิจิกา
ถิ่นไทยงาม แก้ว-เวส คลื่นลูกใหม่
ฟ้าคลุ้มฝน แก้ว-เอื้อ นรอรรถ
ข้างขึ้นเดือนหงาย แก้ว-เอื้อ คลื่นลูกใหม่ ชาย
บ้านเกิดเมืองนอน แก้ว-เอื้อ ร้องหมู่ หญิง
ละครชีวิต แก้ว-เวส ศรวณี+สวนพลูOff Stage
หนึ่งในร้อยFinale แก้ว-สง่า ร้องหมู่ทุกคน+คอรัส
ลำดับเพลงปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม