การใช้เข็มขัดนิรภัย

ข่าวทั่วไป Wednesday March 22, 2000 11:56 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--22 มี.ค.--กรมการขนส่งทางบก
ประเภทของเข็มขัดนิรภัย
1. แบบรัดหน้าตักและรั้งพาดไหล่ (แบบ 3 จุด)
สำหรับผู้ขับรถและผู้ที่นั่งตอนหน้าแถวเดียวกับผู้ขับรถที่อยู่ด้านริมสุด
2. แบบรัดหน้าตัก (แบบ 2 จุด) สำหรับผู้ที่นั่งตอนกลางระหว่างผู้ขับรถและ
ผู้ที่นั่งตอนหน้าแถวเดียวกับผู้ขับรถ ที่อยู่ด้านริมสุด
ประเภทรถยนต์ที่กำหนดให้ติดตั้งเข็มขัดนิรภัย
1. รถยนต์ตาม พ.ร.บ.รถยนตร์ พ.ศ. 2522
1.1 รถที่จดทะเบียนตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2531 เป็นต้นไป ดังนี้
รถยนต์นั่งส่วนบุคคล (รถเก๋ง)
รถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัด
รถยนต์รับจ้างบรรทุกผู้โดยสารไม่เกิน 7 คน (รถแท็กซี่)
1.2 รถที่จดทะเบียนตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2537 เป็นต้นไป ดังนี้
รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน (รถตู้)
รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รถปิคอัพ)
2. รถยนต์ตาม พ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 เฉพาะรถที่จดทะเบียนตั้งแต่
วันที่ 1 มกราคม 2537 เป็นต้นไป ดังนี้
2.1 รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารที่มีจำนวนที่นั่งไม่เกิน 15 ที่นั่ง ซึ่งจดทะเบียนรหัส
นำหน้า 10 (การขนส่งประจำทาง) 30 (การขนส่งไม่ประจำทาง), 40 (การขนส่งส่วนบุคคล)
2.2 รถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ ที่มีน้ำหนักรถไม่เกิน 1,600 กิโลกรัม
ที่จดทะเบียนรหัสนำหน้า 70 (การขนส่งไม่ประจำทาง)
2.3 รถขนาดเล็กที่มีจำนวนที่นั่งไม่เกิน 15 ที่นั่ง ซึ่งจดทะเบียน รหัสนำหน้า 20
(รถประจำทางวิ่งในเขตเมือง)
การบังคับใช้
ประกาศกรมการขนส่งทางบกมีผลบังคับใช้ทั่วประเทศตั้งแต่วันที่ 7 ตุลาคม 2540 เป็นต้นไป
กรณีไม่ติดตั้งเข็มขัดนิรภัยตามกำหนด
กรมการขนส่งทางบกจะไม่ผ่านการตรวจสภาพรถให้
1. มีความผิดตาม พ.ร.บ.รถยนตร์ พ.ศ. 2522 ปรับไม่เกิน 1,000 บาท
2. มีความผิดตาม พ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 ปรับไม่เกิน 50,000 บาท
3. ผู้ขับรถและผู้นั่งตอนหน้าแถวเดียวกับผู้ที่ขับรถ หากไม่คาดเข็มขัดนิรภัย จะมีความผิดตาม
พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2538 ปรับรายละไม่เกิน 500 บาท--จบ--

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ