กรุงเทพฯ--24 ส.ค.--เอ็น.ซี.ซี แมนเนจเม้นท์ แอนด์ ดิเวลลอปเม้นท์
กิจกรรมในงานเป็น เวทีแห่งการเผยแพร่ความก้าวหน้า ในวิทยาการด้านเทคโนโลยีและวิศกรรมของประเทศไทย เป็นศูนย์รวมการนำเสนอเทคโนโลยีล่าสุด
สมาคมนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เตรียมเปิดตัวครั้งใหญ่ที่ออกนอกรั้วมหาวิทยาลัย นำผลงานวิจัยกว่า 20 ชิ้นงาน แสดงแก่สาธารณชนที่ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ จับมือร่วมกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนถึง 200 แห่ง จัดงาน THAITECH 2001 ในวันที่ 15-17 พฤศจิกายนนี้
ดร.เกษม ใจหงษ์ นายกสมาคมนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า จากสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันของประเทศไทย ที่กำลังเผชิญหน้ากับปัญหาเศษฐกิจที่ตกต่ำ ทุกฝ่ายได้เร่งหาทางแก้ไขร่วมกัน โดยภาครัฐได้วางนโยบายที่ให้ทุกฝ่ายมุ่งเน้นในเรื่องเศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge-Based Economy) ซึ่งหมายถึง การนำความรู้มาสร้างฐานในเกิดเศรษฐกิจใหม่ ทำให้เราจำเป็นต้องรู้จักคิดค้น และแสวงหาความรู้เทคโนโลยีระดับสูง ที่หลั่งไหลกันเข้ามาจากภายนอกกับคลื่นการแข่งขันของเศรษฐกิจโลก
คำถามสำคัญที่เกิดกับประเทศไทยทุกวันนี้ คือ ด้วยสภาพเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน เราจะสามารถเลือกใช้เทคโนโลยีที่เป็น ของต่างประเทศมาผสมผสานกับภูมิปัญญา ที่ผ่านการคิดค้นวิจัยจากคนไทยอย่างไรให้เหมาะสม ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (SufficiencyEconmics) เพื่อการมุ่งไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดี (Quality of Life) ของสังคมไทยอย่างไร
ซึ่งได้เล็งเห็นความสำคัญของแนวคิดการพัฒนาประเทศดังกล่าว จึงได้ร่วมมือกับหน่วยงาน ทั้งภาครัฐและเอกชน กว่า 200 บริษัท อาทิ ชินคอร์ปปอเรชั่น การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ซีพี ฯลฯ ร่วมกันสร้างสรรค์และสนับสนุน ให้การจัดงาน Thaitech 2001 คืองานแสดงนวัตกรรมเทคโนโลยี และสัมมนาเชิงวิชาการที่รวบรวม ผลิตภัณฑ์ วัสดุ และเครื่องมือทางวิศวกรรมอันทันสมัยแบบครบวงจรในแนวคิด คือ “Technology For Quality of Life ” การจัดงานครั้งนี้ได้มอบหมายให้ บริษัท เอ็น.ซี.ซี แมนเนจเม้นท์ แอนด์ ดิเวลลอปเม้นท์ จำกัด ,บริษัท พีวีเอ โฮลดิ้ง (1999) จำกัด เป็นผู้บริหารและดำเนินการจัดงาน Thaitech 2001 ในวันที่ 15-17 พฤศจิกายน 2544 ณ ห้องเพลนนารี ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้กิจกรรมในงานเป็น เวทีแห่งการเผยแพร่ความก้าวหน้า ในวิทยาการด้านเทคโนโลยีและวิศกรรมของประเทศไทย เป็นศูนย์รวมการนำเสนอเทคโนโลยีล่าสุด ทั้งเทคโนโลยีเพื่อธุรกิจภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตรกรรม ภาคการบริการ การสื่อสารและคอมพิวเตอร์ รวมถึงเทคโนโลยีด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม เพื่อส่งเสริมพัฒนาศักยภาพของวิศวกรไทย สู่ระดับสากล และเพื่อประชาสัมพันธ์ ผลงานของนิสิตเก่า และนิสิตปัจจุบันที่เป็นประโยชน์แก่สังคม ให้ได้ทราบอย่างแพร่หลาย ที่สำคัญยังมีการนำผลงานต้นแบบที่เป็นสุดยอดผลงานวิจัยของวิศวกรไทยที่พร้อมจะพัฒนาสู่เชิงพาณิชย์กว่า 20 ผลงาน--จบ--
-จบ-