กรุงเทพฯ--16 ธ.ค.--เครือข่ายองค์กรที่ทำงานด้านประชากรข้ามชาติ
ด้วยวันที่ 18 ธันวาคมของทุกปี ได้รับการกำหนดให้เป็นวันแรงงานข้ามชาติสากล เนื่องจากเป็นวันที่องค์การสหประชาชาติได้มีการรับรองอนุสัญญาว่าด้วยการปกป้องและคุ้มครองแรงงานข้ามชาติและครอบครัว 1991 (United Nations Convention on the Protection of the Rights of Migrant workers and members of their Families) และได้กำหนดให้วันที่ 18 ธันวาคมของทุกปีเป็นวันแรงงานข้ามชาติสากล เพื่อเป็นการรณรงค์ถึงความสำคัญของแรงงานข้ามชาติ และ ผู้ติดตามที่เป็นบุคคลในครอบครัว ที่ทำงานและย้ายถิ่นทั่วโลกได้รับการคุ้มครองสิทธิทั้งสิทธิมนุษยชนและสิทธิเป็นแรงงาน ในช่วงปี 2558 มีการอพยพย้ายถิ่นที่สำคัญในหลายพื้นที่ของโลกซึ่งแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบการย้ายถิ่นที่สำคัญมากขึ้น และกลายเป็นปีที่วิกฤติของการอพยพย้ายถิ่นปีหนึ่ง ซึ่งก็ได้ส่งให้มีการเปลี่ยนแปลงในเชิงนโยบายการจัดการแรงงานข้ามชาติ และมีสถานการณ์สำคัญเกี่ยวกับคนอพยพย้ายถิ่นในสังคมไทยอยู่พอสมควร
ดังนั้นเพื่อเป็นการทบทวนและนำเสนอประเด็นความเปลี่ยนแปลง และผลกระทบในการจัดการแรงงานข้ามชาติในช่วงปี ทางเครือข่ายองค์กรที่ทำงานด้านประชากรข้ามชาติ (Migrant Working Group) จึงจัดงานแถลงข่าว การนำเสนอสถานการณ์ และรายงานประจำปี เนื่องในวันผู้อพยพย้ายถิ่นสากล 2558"Migration Crisis to Protection" ในวันพฤหัสบดีที่ 17 ธันวาคม พ.ศ.2558เวลา 08.30 น. – 14.30 ที่บ้านเซเวียร์ ถนนราชวิถี อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิเพื่อให้สื่อมวลชนได้รับทราบนโยบายและข้อมูลการจัดการแรงงานข้ามชาติและสถานการณ์การย้ายถิ่น รวมทั้งผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสังคมไทยด้วย
องค์กรเครือข่ายองค์กรที่ทำงานด้านประชากรข้ามชาติ (Migrant working group ) จึงใคร่เรียนเชิญสื่อมวลชนเข้าร่วมงานแถลงข่าวในครั้งนี้ โดยในงานแถลงข่าวสื่อมวลชนจะได้พบกับ
· การแสดงวัฒนธรรมของชุมชนคนย้ายถิ่นในประเทศไทย
· การนำเสนอ 5 สถานการณ์เด่นด้านประชากรข้ามชาติในประเทศไทยปี 2558
- สถานการณ์นโยบายแรงงานข้ามชาติและนโยบายการจัดการแรงงานข้ามชาติคุณอดิสร เกิดมงคล ตัวแทนเครือข่ายองค์กรที่ทำงานด้านประชากรข้ามชาติ
- การบังคับโยกย้ายถิ่น/ค้ามนุษย์ โดยคุณศิววงศ์ สุขทวี ตัวแทนเครือข่ายองค์กรที่ทำงานด้านประชากรข้ามชาติ
- การศึกษาและการคุ้มครองเด็ก โดย ตัวแทนSAVE The Children
- สุขภาพและการเข้าถึงของแรงงานข้ามชาติ โดยคุณเสถียร ทันพรม FAR
- เงินทดแทนและผู้หญิงทำงานในบ้าน โดยคุณปรีดา ทองชุมนุม
- การเข้าถึงสิทธิและการคุ้มครองแรงงานในประเทศไทย โดยคุณบัณฑิต แป้นวิเศษ