กรุงเทพฯ--18 ธ.ค.--กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
การสืบสวนของสำนักข่าวเอพี(Associated Press)ที่เผยแพร่ในวันนี้พบว่า ไทยยูเนี่ยนเจ้าของแบรนด์ Chicken of the Sea ในสหรัฐอเมริกามีส่วนเกี่ยวข้องกับการบังคับใช้แรงงานและสภาพการทำงานที่เลวร้ายในประเทศไทยอีกครั้งหนึ่ง งานข่าวเชิงสืบสวนสอบสวนนี้เกิดขึ้นในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา โดยที่ทีมข่าวของสำนักข่าวเอพีทำการติดตามรถบรรทุกส่งกุ้งจากโรงงานแกะเปลือกกุ้งแห่งหนึ่งไปจนถึงบริษัทส่งออกกุ้งรายใหญ่ของไทย และติดตามไปจนถึงผลิตภัณฑ์กุ้งที่วางขายทั่วโลก
รายงานข่าวเชิงสืบสวนสอบสวนระบุว่าแรงงานย้ายถิ่นรวมถึงเด็กถูกบังคับใช้แรงงานโดยได้รับค่าตอบแทนน้อยมากและไม่ได้รับเลยจากการแกะเปลือกกุ้ง ที่เป็นผลิตภัณฑ์กุ้งแช่แข็งวางขายอยู่ในร้านค้าทั่วอเมริกา รวมถึงในยุโรป และเอเชีย
"ไทยยูเนี่ยนในฐานะเป็นผู้นำและเชี่ยวชาญอาหารทะเลระดับโลกได้ตอบรับเรื่องอื้อฉาวที่เกิดขึ้นใหม่แต่ละเรื่องอย่างคับแคบเท่าที่จะเป็นไปได้" จอห์น โฮซิวา ผู้อำนวยการรณรงค์ด้านมหาสมุทร กรีนพีซ สหรัฐอเมริกากล่าว "ไทยยูเนี่ยนทำเพียงเพื่อกลบกระแสข่าวในขณะที่ยังคงแสวงผลกำไรจากแรงงานอพยพจากประเทศเพื่อนบ้านที่ถูกบังคับใช้แรงงานตลอดห่วงโซ่อุปทานของตน"
"ข้อกล่าวหาล่าสุดที่เกิดขึ้นนี้เป็นเรื่องที่น่ากังวลอย่างยิ่งเนื่องจากเป็นเรื่องราวที่บอกว่าไทยยูเนี่ยนรับรู้ประเด็นการบังคับใช้แรงงานและมีเจ้าหน้าที่ของบริษัทตรวจเยี่ยมโรงงานแกะเปลือกกุ้งเป็นประจำทุกวัน เป็นที่ชัดเจนอย่างยิ่งว่า ไทยยูเนี่ยนไม่อาจเพิกเฉยต่อการบังคับใช้แรงงานในห่วงโซ่อุปทานได้อีก มันต้องใช้สิ่งที่มากกว่าคำสัญญาลอยๆ ที่เป็นเงื่อนไขต่ำสุดเพื่อทำให้ความเชื่อมั่นและความไว้วางใจของลูกค้าของไทยยูเนี่ยนกลับคืนมา"
ไทยยูเนี่ยน ซึ่งเป็นบริษัทที่ถูกระบุว่าห่วงโซ่อุปทานนั้นเชื่อมโยงกับการบังคับใช้แรงงานในรายงานข่าวเชิงสืบสวนสอบสวนทั้งของ สำนักข่าวนิวยอร์กไทม์ ( New York Times ) และเอพี (Associated Press) ได้รับกุ้งแกะเปลือกมาจากโรงงานแกะกุ้ง Gig และโรงงานอีกแห่งซึ่งโดนจับกุมในเดือนพฤษภาคม ซึ่งมีคนงานถูกบังคับใช้แรงงานเป็นเวลานานโดยไม่มีวันหยุด ในโรงงานแกะกุ้งดังกล่าว หญิงตั้งท้องแปดเดือนถูกบังคับให้แท้งลูกบนพื้นและยังต้องแกะเปลือกกุ้งต่อไปอีก 4 วันแม้จะมีอาการตกเลือดอยู่ เด็กเล็กๆ ที่มาด้วยและตกลงจากที่สูง 12 ฟุตก็ถูกปฏิเสธการรักษาทางการแพทย์ ส่วนแรงงานหญิงที่ตั้งครรภ์อีกคนหนึ่งพยายามหนีแต่ถูกจับและบังคับให้ใช้แรงงานโดยสวมกุญแจมือไว้กับอีกคนหนึ่ง แรงงานที่ทำงานอยู่ระบุว่ามีเจ้าหน้าที่ของไทยยูเนี่ยนมาตรวจเยี่ยมโรงแกะเปลือกกุ้งนี้เป็นประจำทุกวัน
"ไม่มีใครต้องการซื้ออาหารทะเลที่มาจากการบังคับใช้แรงงงาน และเรารู้ว่าประเด็นนี้ไปไกลกว่าเฉพาะกุ้ง" โฮซิวา กล่าวเสริม "ทุกๆ บริษัทที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่การทำประมงทะเลไปจนถึงซุปเปอร์มาร์เก็ตที่ขายอาหารทะเล จะต้องถือเป็นภาระรับผิดสำหรับผู้คนนับร้อยนับพันที่ทนทุกข์ภายใต้สภาพการทำงานอันเลวร้ายเยี่ยงนี้"
"เรื่องราวจากรายงานข่าวเชิงสืบสวนสอบสวนนี้นำไปสู่การตั้งข้อสังเกตต่อประเด็นที่ว่าทั้งไทยยูเนี่ยนและภาคอุตสาหกรรมอาหารทะเลของไทยโดยรวมได้ตอบสนองและแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังมากน้อยเพียงใด"โฮซิวา กล่าวเสริม "การละเลยของอุตสาหกรรมอาหารทะเลทั้งหมดและเพียงการออกแถลงการณ์ให้ดูดีนั้นไม่อาจยอมรับได้ ถึงเวลาที่ไทยยูเนี่ยนและผู้ค้าทั้งหมดต้องตรวจสอบดูแล
และทำให้ความเชื่อมโยงทุกอันในห่วงโซ่อุปทานปราศจากซึ่งการบังคับใช้แรงงานและการละเมิดสิทธิของแรงงานในทันที ไม่ใช่เพียงแต่การแก้ปัญหาเฉพาะเมื่อเกิดเรื่องอื้อฉาวล่าสุดขึ้น"
หมายเหตุ
อ่านรายงานข่าวเชิงสืบสวนสอบสวนทั้งหมดได้ที่ Associated Press investigation