หุ่นยนต์คือตัวช่วยหนุนอุตสาหกรรมด้านอาหารของไทย

ข่าวทั่วไป Friday December 18, 2015 14:59 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--18 ธ.ค.--พิตอน คอมมิวนิเคชั่น การนำโซลูชั่นหุ่นยนต์มาใช้งานสร้างความได้เปรียบในการผลิตให้ผู้ประกอบการ และสร้างความโดดเด่นให้แก่ธุรกิจในการแข่งขัน ตลาดขยายตัวเติบโตต่อเนื่อง ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมการผลิตของไทยได้แตกแขนงไปหลายสาขาด้วยความสำเร็จเป็นอย่างดีในอุตสาหกรรมยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคส่วนอาหารและเครื่องดื่ม (Food and Beverage sector หรือ F&B) ซึ่งถือเป็นหนึ่งในตัวขับหลักของการพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยปัจจุบันประเทศไทยเป็นหนึ่งในสิบประเทศผู้ผลิตอาหารหลักของโลก ด้วยอัตราการเติบโตต่อปีที่ 9% และอัตรากำลังการผลิตต่อปีมากกว่า 24 พันล้านกิโลกรัม ผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป รวมถึงสินค้าต่างๆ เช่น อาหารสัตว์ปีกเป็ดไก่ อาหารกระป๋อง ชากาแฟ ขนมขบเคี้ยวและพืชผัก คิดเป็นขนาดมากกว่ากึ่งหนึ่งของมวลรวมของตลาดด้านอาหารของประเทศ คาดการณ์ว่าส่วนแบ่งตลาดจะขยายตัวต่อเนื่อง จากปัจจัยความต้องการที่เพิ่มขึ้นในด้านของตัวเลือกรูปแบบอาหารเพื่อความสะดวกสบาย ผ่านการปรุงแต่งและบรรจุภัณฑ์เรียบร้อย การนำออโตเมชั่นโซลูชั่นเข้ามามีบทบาทในกระบวนการผลิต ออโตเมชั่นโซลูชั่นได้รับความสนใจและเป็นที่นิยมทั่วประเทศ จากการสำรวจพบว่า 36% ของธุรกิจในประเทศไทยเริ่มตระหนักถึงคุณประโยชน์และความสำคัญของการปรับเปลี่ยนกระบวนการให้มีความทันสมัย (modernization) พร้อมแผนงานในการทำออโตเมชั่นขั้นตอนปฏิบัติงานหลักของบริษัทให้เสร็จสิ้นภายใน 12 เดือนจากนี้ไป อย่างไรก็ตาม ตัวเลขนี้ถือต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก นั่นหมายความว่าประเทศไทยกำลังดำเนินการอยู่ในอัตราความเร็วที่ช้ากว่าประเทศเพื่อนบ้าน จึงมีความเป็นไปได้ที่ผู้ผลิตในประเทศไทยจะล้าหลังประเทศคู่แข่งอื่นๆ ในอนาคต ยกเว้นเสียแต่จะรีบดำเนินการให้เร็วกว่านี้ จากผลการสำรวจเดียวกันนี้ แรงจูงใจในการยกระดับความทันสมัยนี้เกิดจากความจำเป็นทางธุรกิจที่จะต้องเร่งสร้างศักยภาพในการผลิต ความคล่องตัว และมีกรอบค่าใช้จ่ายที่ลดลง ยุคนี้ มีตัวเลือกมากมายและความต้องการสินค้าก็แปรเปลี่ยนตามฤดูกาล วงจรชีวิตสินค้าจึงหดสั้นลง ดังนั้น ความคล่องตัวจึงกลายมาเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ต่อการก้าวให้ทันการผลิตที่ต้องรับผลิตสินค้าเฉพาะแบบและหลากหลายโดยไม่เน้นปริมาณ (High Mix, Low Volume) ส่วนต้นทุนค่าใช้จ่ายกลับถูกกดให้ลดลง อันเป็นผลจากการแข่งขันที่ดุเดือด เนื่องจากมีหลายบริษัทขยายตัวเข้ามาในธุรกิจสายอาหาร และยังจะมีมาตรการการค้าที่ยกระดับความเข้มงวดขึ้นทั่วโลก ดังนั้น การรับมือกับความท้าทายเหล่านี้ ผู้ผลิตต้องหันมาพิจารณาออโตเมชั่นโซลูชั่น อาทิ การใช้หุ่นยนต์อุตสาหกรรม หุ่นยนต์ทำงาน การนำหุ่นยนต์มาใช้งานทำให้พัฒนาปรับปรุงศักยภาพของกระบวนการในการผลิตและเพิ่มประสิทธิภาพได้ โดยหุ่นยนต์อุตสาหกรรมถูกนำมาใช้ในโรงงานด้านอาหาร ช่วยทำออโตเมทงานส่วนต่างๆ ในสายการผลิตได้ดี เช่น หยิบและวาง รวมทั้งการบรรจุ และการจัดเรียงสินค้าที่บรรจุแล้ว เป็นต้น ตัวอย่างเช่น การตรวจสอบคุณภาพสามารถทำได้ง่ายด้วยการติดตั้งบาร์โค้ดสแกนเนอร์ไว้บนแขนของหุ่นยนต์ เพื่อคอยดูตัวอย่างอาหารก่อนส่งต่อไปยังเครื่องจักรเพื่อการวิเคราะห์ เมื่อพิจารณามาตรฐานนานาชาติมากมายหลากหลายที่มีอยู่เกี่ยวกับความปลอดภัยด้านอาหาร คุณภาพของสินค้าด้านอาหารนี้จึงถือเป็นสิ่งจำเป็นที่สำคัญมาก ผู้ผลิตสามารถที่จะรักษาระดับคุณภาพได้ด้วยความสม่ำเสมอต่อเนื่องและความแม่นยำของการใช้งานหุ่นยนต์ที่สามารถตั้งโปรแกรมการเคลื่อนไหวได้ เป็นการลดความผิดพลาดในการผลิต และลดต้นทุนค่าใช้จ่ายได้อีกด้วย ธุรกิจการค้าการผลิตต่างจะได้รับประโยชน์จากความคล่องตัวในกระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพที่ได้รับจากการติดตั้งหุ่นยนต์อุตสาหกรรม เป็นความได้เปรียบท่ามกลางภาวการณ์แข่งขันตลาดส่งออกอาหารระดับโลกที่ดุเดือด อุตสาหกรรมอาหารนี้ถือว่ามีความอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงรสชาติ ความชอบ และทิศทางของผู้บริโภคที่รวดเร็ว เช่น การเปลี่ยนแปลงรูปแบบบรรจุภัณฑ์สามารถกระตุ้นความต้องการของสินค้านั้นขึ้นมาได้ ผลคือ วงจรชีวิตของสินค้าจะลดทอนให้สั้นลง และความได้เปรียบจากการปรับเปลี่ยนสายการผลิตได้คล่องตัว ดาวน์ไทม์น้อย จึงเป็นกลยุทธ์สำคัญในการแข่งขันทางธุรกิจ หุ่นยนต์ที่เพย์โหลด 3 กิโลกรัม แต่หนักเพียง 11 กิโลกรัมเท่านั้น และกว้างเพียง 5 นิ้ว ทำให้เคลื่อนย้ายยกสะดวกไปได้ทั่วโรงงาน และมีอินเทอร์เฟซที่ไม่ซับซ้อนยุ่งยากต่อการตั้งโปรแกรมใช้งาน ดังนั้น จึงสามารถที่จะเซ็ตอัพในสายการผลิตใหม่ได้อย่างรวดเร็วใช้เวลาไม่นานเพื่อเริ่มกระบวนการบรรจุภัณฑ์ใหม่ เป็นต้น การลดดาวน์ไทม์ได้นั้น ถือเป็นการช่วยเร่งวงจรการพัฒนาสินค้า เพื่อรองรับการเติบโตธุรกิจและวิ่งแข่งคู่แข่งขันในระดับโลกได้อย่างทัดเทียมเท่าทัน วางแผนเพื่อการเติบโตระยะยาว จากการที่ตลาดอาหารเติบโตด้วยความหลากหลายมีสีสันมากขึ้น ธุรกิจก็ต้องพิจารณาตัวช่วยอย่างออโตเมชั่นโซลูชั่นเข้ามาพัฒนายกระดับกระบวนการทำงานที่มีอยู่ในปัจจุบันให้ดีขึ้น หุ่นยนต์เป็นตัวช่วยสำคัญในการช่วยผู้ผลิตให้ตั้งราคาได้เหมาะสมในการแข่งขันในตลาด และย่นระยะเวลาของวงจรสินค้า ความได้เปรียบเหล่านี้จะสร้างความโดดเด่นและยืนยาวในวงการที่ตนเองทำการค้าอยู่ได้ในระยะยาว เกี่ยวกับยูนิเวอร์แซล โรบอทส์ ยูนิเวอร์แซล โรบอทส์เป็นผลแห่งความสำเร็จในการวิจัยค้นคว้าด้านหุ่นยนต์อย่างหนักหน่วงติดต่อกันหลายปี ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของบริษัทประกอบด้วย หุ่นยนต์ทำงานร่วมกับมนุษย์ UR3 UR5 และ UR10 หุ่นยนต์แขนกลเหล่านี้ตั้งชื่อรุ่นตามน้ำหนักที่รับในหน่วยกิโลกรัม ตั้งแต่ UR ตัวแรกก้าวเข้าสู่ตลาดเมื่อเดือนธันวาคมปี พ.ศ. 2551 บริษัทก็ได้เติบโตมาอย่างต่อเนื่อง และสามารถทำตลาดได้ในประเทศต่างๆ มากกว่า 50 ประเทศทั่วโลกที่ให้ความสนใจในการนำหุ่นยนต์มาใช้งาน ระยะเวลาในการคืนทุนโดยเฉลี่ยสำหรับหุ่นยนต์ UR นี้เพียง 195 วันเท่านั้นถือเป็นอัตราที่เร็วที่สุดในอุตสาหกรรม บริษัทยูนิเวอร์แซล โรบอทส์มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองโอเดนส์ ประเทศเดนมาร์ก พร้อมด้วยงานพัฒนาวิจัยและผลิต เป้าหมายการจำหน่ายทั่วโลกอยู่ที่ การเติบโตยอดรายได้เท่าตัวทุกปี นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 ถึง พ.ศ. 2560 สนใจเยี่ยมชมเว็บไซต์ ได้ที่ www.universal-robots.com

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ