ดัชนีความเชื่อมั่นฯ พฤศจิกายน 2558 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเดือนที่ 3 ติดต่อกันสูงสุดในรอบ 7 เดือน

ข่าวทั่วไป Tuesday December 22, 2015 11:31 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--22 ธ.ค.--สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรมไทย (Thai Industries Sentiment Index: TISI) ในเดือนพฤศจิกายน 2558จำนวน 1,200 ราย ครอบคลุม 44 กลุ่มอุตสาหกรรมของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยแยกเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมขนาดย่อม อุตสาหกรรมขนาดกลาง และอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ร้อยละ 29.9,35.2 และ 34.9 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด ตามลำดับ นอกจากนี้ยังแบ่งเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมในภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ ร้อยละ 46.0, 13.9, 12.7, 12.3 และ 15.1 ตามลำดับ และแบ่งตามกลุ่มอุตสาหกรรมที่เน้นตลาดในประเทศ และกลุ่มอุตสาหกรรมที่เน้นตลาดต่างประเทศ ร้อยละ 82.7 และ17.3 ตามลำดับ ผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนพฤศจิกายน 2558 อยู่ที่ระดับ 85.8 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 84.7 ในเดือนตุลาคม ทั้งนี้ค่าดัชนีฯที่เพิ่มขึ้นเกิดจากองค์ประกอบ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิตและผลประกอบการ ทั้งนี้การปรับตัวเพิ่มขึ้นของดัชนีฯ ในเดือนพฤศจิกายน เป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน และอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 7 เดือน ผู้ประกอบการที่เป็นกลุ่มตัวอย่างเห็นว่าการบริโภคภายในประเทศมีทิศทางที่ดีขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมแฟชั่น กลุ่มเฟอร์นิเจอร์ กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และเครื่องจักรกล และกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารและยา ขณะเดียวกันราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ปรับลดลงต่อเนื่องส่งผลดีต่อต้นทุนการขนส่งของผู้ประกอบการ ความเชื่อมั่นที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นทำให้ผู้ประกอบการมีการลงทุนในการปรับปรุงเครื่องจักรและเทคโนโลยีในกระบวนการผลิต เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินกิจการ แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการส่งออกยังคงมีความกังวลต่อการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า รวมทั้งปัญหาภัยแล้งซึ่งส่งผลกระทบต่อรายได้ของภาคเกษตร ทั้งนี้ ผู้ประกอบการเห็นว่า ยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมโยง ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคจะส่งผลดีต่อการขยายการค้าการลงทุนภายใต้ความผันผวนของสภาวะเศรษฐกิจโลก ขณะที่ค่าดัชนีคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 104.4 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 103.4 ในเดือนตุลาคม โดยค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯคาดการณ์ที่เพิ่มขึ้น เกิดจากองค์ประกอบ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ ส่วน ดัชนีความเชื่อมั่นจำแนกตามขนาดของของกิจการ ในเดือนพฤศจิกายน 2558 จากการสำรวจพบว่าดัชนีความเชื่อมั่นฯของอุตสาหกรรมขนาดย่อม ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคม โดย อุตสาหกรรมขนาดย่อม พบว่า ค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนพฤศจิกายน 2558 อยู่ที่ระดับ 78.2ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 77.5 ในเดือนตุลาคมโดยองค์ประกอบดัชนีฯที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นได้แก่ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ สำหรับอุตสาหกรรมขนาดย่อมที่ค่าดัชนีฯปรับตัวเพิ่มขึ้นได้แก่ อุตสาหกรรมยา,อุตสาหกรรมสมุนไพร,อุตสาหกรรมเซรามิก เป็นต้น ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 101.3 เพิ่มขึ้นจาก 99.6 ในเดือนตุลาคม โดยองค์ประกอบดัชนีฯคาดการณ์ที่เพิ่มขึ้นได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ อุตสาหกรรมขนาดกลาง มีค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนพฤศจิกายน 2558 อยู่ที่ระดับ 84.1เพิ่มขึ้นจาก 83.2 ในเดือนตุลาคม องค์ประกอบดัชนีฯที่เพิ่มขึ้นได้แก่ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม, ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ สำหรับอุตสาหกรรมขนาดกลางที่ค่าดัชนีฯปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมหนังและผลิตภัณฑ์หนัง,อุตสาหกรรมหล่อโลหะ,อุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษ เป็นต้น ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 104.5 เพิ่มขึ้นจาก 103.9 ในเดือนตุลาคมโดยองค์ประกอบดัชนีฯคาดการณ์เพิ่มขึ้นได้แก่ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ ด้าน อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนพฤศจิกายน 2558 อยู่ที่ระดับ 94.2เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากระดับ 94.1 ในเดือนตุลาคม โดยองค์ประกอบดัชนีฯที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นได้แก่ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการสำหรับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ค่าดัชนีฯปรับตัวเพิ่มขึ้นได้แก่ อุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและทำความเย็น,อุตสากรรมผู้ผลิตไฟฟ้า,อุตสาหกรรมโรงกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม เป็นต้น ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯคาดการณ์3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับอยู่ที่ระดับ 106.8 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากระดับ 106.7 ในเดือนตุลาคม โดยองค์ประกอบดัชนีฯคาดการณ์เพิ่มขึ้น ได้แก่ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ ผลสำรวจ ดัชนีความเชื่อมั่นฯ รายภูมิภาค ประจำเดือนพฤศจิกายน 2558 จากการสำรวจพบว่าค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯของภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคใต้ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคม ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก ปรับตัวลดลงจากเดือนตุลาคม ภาคกลาง พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนพฤศจิกายน 2558 อยู่ที่ระดับ 88.5 เพิ่มขึ้นจากระดับ86.9 ในเดือนตุลาคม องค์ประกอบดัชนีฯที่เพิ่มขึ้นในเดือนนี้ ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ โดยอุตสาหกรรมในภาคกลางที่ส่งผลด้านบวกต่อค่าดัชนีฯได้แก่ อุตสาหกรรมอาหาร (ผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแช่แข็ง, เนื้อสุกร, ไก่เนื้อ, ไข่ไก่ มียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น เนื่องจากใกล้ช่วงเทศกาลจึงทำให้ความต้องการเพิ่มขึ้นขณะที่ผลิตภัณฑ์แป้งมันสำปะหลัง อาหารสัตว์ มีการส่งออกไปญี่ปุ่นและจีน เพิ่มขึ้น, อาหารทะเลแช่แข็งมีการส่งออกเพิ่มขึ้น จากตลาด สหรัฐฯ ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น และจีน)อุตสาหกรรมรองเท้า(สินค้าประเภทรองเท้าสำเร็จรูปมียอดคำสั่งซื้อในประเทศเพิ่มขึ้น สำหรับรองเท้ากีฬาและรองเท้าผ้าใบ มีการส่งออกไปตลาดสหรัฐฯและเอเชีย เพิ่มขึ้น)อุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์กระดาษ (ผลิตภัณฑ์กล่องกระดาษและภาชนะกระดาษสินค้าประเภทการ์ด สติกเกอร์ติดสินค้า แผ่นโฆษณา มีการผลิตและยอดขายในประเทศเพิ่มขึ้นเนื่องจากเป็นช่วงใกล้เทศกาลปีใหม่) สำหรับอุตสาหกรรมในภาคกลางที่ค่าดัชนีฯปรับตัวลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมอลูมิเนียม (สินค้าประเภทชิ้นส่วนประกอบบานประตู บานพับต่างๆ เทปอลูมิเนียมฟอยล์แบบมีเส้นใยมียอดขายในประเทศลดลง ขณะที่อลูมิเนียมแบบม้วนและแผ่น มีการส่งออกไปประเทศสหรัฐฯ เกาหลีใต้ และอินเดีย ลดลง ประกอบกับตลาดส่งออกยุโรปชะลอตัวอีกทั้งยังได้รับผลกระทบจากสินค้าจีนที่มาตีตลาดในประเทศ) ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นฯคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ104.7 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากระดับ 104.6 ในเดือนตุลาคม องค์ประกอบดัชนีฯที่คาดการณ์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ ภาคเหนือ พบว่า ค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนพฤศจิกายน 2558 อยู่ที่ระดับ 87.8 เพิ่มขึ้นจากระดับ 83.2 ในเดือนตุลาคม องค์ประกอบดัชนีฯที่ปรับเพิ่มขึ้น ได้แก่ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ สำหรับอุตสาหกรรมในภาคเหนือที่ส่งผลด้านบวกต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่ อุตสาหกรรมสิ่งทอ (ผลิตภัณฑ์เส้นด้าย ผ้าลาย มียอดสั่งซื้อในประเทศเพิ่มขึ้น ผลิตภัณฑ์ผ้าผืน ผ้าลูกไม้ มียอดการส่งออกไปประเทศ สหรัฐฯ เวียดนาม และพม่า เพิ่มขึ้น เนื่องจากความนิยมผ้าผืนไทย)อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม(สินค้าประเภทเสื้อกันหนาว มียอดขายในประเทศและจากประเทศเพื่อน บ้าน เช่น ลาว กัมพูชาเพิ่มขึ้นเนื่องจากเป็นช่วงฤดูหนาว ขณะที่ผลิตภัณฑ์เสื้อยืด กางเกง เสื้อผ้าสำเร็จรูป มียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้นเนื่องจากช่วงปลายปีประชาชนเริ่มมีการการจับจ่ายมากขึ้น)อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ (ผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์ไม้แปรรูป มียอดส่งออกไปประเทศจีนและญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นขณะเดียวกันผู้ประกอบการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายมากขึ้นในช่วงปลายปี ทำให้ยอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น) ส่วนอุตสาหกรรมในภาคเหนือ ที่ค่าดัชนีฯปรับตัวลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมหลังคาและอุปกรณ์ (สินค้าประเภทหลังคาสังกะสีและหลังคาเหล็กเคลือบ มียอดสั่งซื้อและยอดขายในประเทศลดลงขณะที่ผลิตภัณฑ์กระเบื้องหลังคา มีการส่งออกไปยังประเทศพม่า ลาว เวียดนาม จีน และฟิลิปปินส์ ลดลง) ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ107.1 เพิ่มขึ้นจากระดับ 106.5 ในเดือนตุลาคมองค์ประกอบดัชนีฯคาดการณ์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า ค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนพฤศจิกายน 2558 อยู่ที่ระดับ 77.4 ปรับตัวลดลงจากระดับ 83.0 ในเดือนตุลาคม องค์ประกอบดัชนีฯที่ปรับตัวลดลงได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการ สำหรับอุตสาหกรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ส่งผลด้านลบต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่ อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (สินค้าประเภทอุปกรณ์ไฟฟ้า แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องคอมพิวเตอร์(พีซี)มียอดขายในประเทศลดลง ขณะที่เครื่องใช้ไฟฟ้ามียอดสั่งซื้อลดลงจากประเทศสหรัฐฯ สิงคโปร์ และฮ่องกง เนื่องจากประเทศคู่ค้ามีสต๊อกสินค้าในปริมาณสูง)อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ (ผลิตภัณฑ์ปูนซีเมนต์ คอนกรีตบล็อก มียอดการส่งออกไปอาเซียนลดลง ขณะที่ปูนซีเมนต์ชนิดผงและปูนซีเมนต์สำเร็จ มียอดขายในประเทศลดลง เนื่องจากอสังหาริมทรัพย์ในประเทศชะลอตัว)อุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ(ผลิตภัณฑ์สารชีวภาพที่ใช้กำจัดศัตรูพืชประเภทสะเดาไทยมียอดขายในประเทศลดลง) ส่วนอุตสาหกรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ค่าดัชนีฯปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ หัตถอุตสาหกรรม (ผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา ดอกไม้ประดิษฐ์ และของที่ระลึก มียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้นเนื่องจากเป็นฤดูท่องเที่ยวและมีการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการขายมากขึ้น) ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 107.4 เพิ่มขึ้นจากระดับ 104.5 ในเดือนตุลาคม องค์ประกอบดัชนีฯคาดการณ์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการ ภาคตะวันออก ค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนพฤศจิกายน 2558 อยู่ที่ 86.0 ปรับตัวลดลงจากระดับ 92.9 ในเดือนตุลาคม องค์ประกอบดัชนีฯที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ สำหรับอุตสาหกรรมในภาคตะวันออกที่ส่งผลด้านลบต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่ อุตสาหกรรมเคมี (ผลิตภัณฑ์โทลูอีนและไซลีนซึ่งเป็นวัตถุดิบที่ใช้ผลิตสี ทินเนอร์ เส้นใย มียอดขายในประเทศลดลง ขณะที่ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยเคมี มียอดขายในประเทศและต่างประเทศเช่น ลาว พม่า กัมพูชา ลดลง)อุตสาหกรรม ปิโตรเคมี (ผลิตภัณฑ์เม็ดพลาสติกมียอดการส่งออกไปประเทศ อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ลดลงขณะที่เส้นใยสังเคราะห์ เอทิลินโพรไพลิน โพลิออล และโพลิออลผสม มียอดสั่งซื้อจากประเทศจีน สหรัฐฯ และประเทศในกลุ่ม CLMV ลดลง) อุตสาหกรรมเหล็ก (ผลิตภัณฑ์เหล็กแปรรูป มียอดการส่งออกไปประเทศสหรัฐฯและยุโรป ลดลง ขณที่โครงเหล็ก เหล็กรีดร้อน และเหล็กเส้น มียอดขายในประเทศลดลง เนื่องจากความต้องการใช้งานในประเทศลดลงสวนทางกับปริมาณเหล็กในตลาดที่มีมาก และมีการแข่งขันสูง ประกอบกับปริมาณสต๊อกเหล็กในประเทศสูง) ส่วนอุตสาหกรรมในภาคตะวันออกที่มีค่าดัชนีฯปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและทำความเย็น(สินค้าประเภทเครื่องปรับอากาศ มียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นช่วงสิ้นปี และผู้ประกอบการมีการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการขายมากขึ้น สินค้าประเภทคอมเพรสเซอร์ และเครื่องทำความเย็น มียอดสั่งซื้อจากญี่ปุ่น ยุโรปและตะวันออกกลางเพิ่มขึ้น) ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 106.5 เพิ่มขึ้นจาก 102.6 ในเดือนตุลาคมประกอบดัชนีฯคาดการณ์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการ ส่วน ภาคใต้ พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นฯ เดือนพฤศจิกายน 2558 อยู่ที่ระดับ 83.3 เพิ่มขึ้นจากระดับ 76.3 ในเดือนตุลาคม องค์ประกอบดัชนีฯที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ สำหรับอุตสาหกรรมในภาคใต้ที่ส่งผลด้านบวกต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ยาง (สินค้าประเภทยางแปรรูป และยางแผ่น มียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น ขณะที่น้ำยางข้น 60% มียอดการส่งออกไปประเทศเวียดนาม จีน และกัมพูชา เพิ่มขึ้น) อุตสาหกรรมโรงเลื่อยและโรงอบไม้ (ผลิตภัณฑ์ไม้แปรรูป มียอดคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากโรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์ในประเทศ ขณะที่ผลิตภัณฑ์ประเภทไม้ยางพาราแปรรูปมียอดส่งออกไปประเทศจีนเพิ่มขึ้น) อุตสาหกรรมไม้อัดไม้บางและวัสดุแผ่น (ผลิตภัณฑ์ไม้เส้นฟิงค์เกอร์จอยด์ ไม้อัดวีเนียร์ แผ่นปาร์ติเกิลบอร์ดและไม้อัดแท่งมียอดการส่งออกไปประเทศจีน และมาเลเชีย เพิ่มขึ้น) ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 102.1 เพิ่มขึ้น จากระดับ 97.6 ในเดือนตุลาคม องค์ประกอบดัชนีฯที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมจำแนกตามการส่งออก (ดัชนีความเชื่อมั่นฯ จำแนกตามร้อยละของการส่งออกต่อยอดขาย แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่เน้นตลาดในประเทศกับกลุ่มที่เน้นตลาดต่างประเทศ) โดยจากการสำรวจพบว่า ในเดือนพฤศจิกายน 2558 จากการสำรวจพบว่าค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ กลุ่มที่เน้นตลาดในประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคม ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ กลุ่มที่เน้นตลาดต่างประเทศ ปรับตัวลดลงจากเดือนตุลาคม กลุ่มที่มีการส่งออกน้อยกว่าร้อยละ 50 ของยอดขาย (เน้นตลาดในประเทศ) พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนพฤศจิกายนอยู่ที่ระดับ 84.9 ปรับตัวเพิ่มจากระดับ 83.1 ในเดือนตุลาคม องค์ประกอบดัชนีฯที่เพิ่มขึ้นได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ สำหรับอุตสาหกรรมในกลุ่มนี้ที่ค่าดัชนีฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์กระดาษ, อุตสาหกรรมผู้ผลิตเครื่องมือแพทย์และสุขภาพ, อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง เป็นต้น ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 103.6 เพิ่มขึ้นจากระดับ 102.5ในเดือนตุลาคม องค์ประกอบดัชนีฯ คาดการณ์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ กลุ่มที่มีการส่งออกตั้งแต่ร้อยละ 50 ของยอดขายขึ้นไป (เน้นตลาดในต่างประเทศ) พบว่า ค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนพฤศจิกายน อยู่ที่ระดับ 90.6 ลดลงจากระดับ 91.4 ในเดือนตุลาคม องค์ประกอบดัชนีฯที่ลดลงได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการ สำหรับอุตสาหกรรมในกลุ่มนี้ที่ค่าดัชนีฯลดลงได้แก่ อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์,อุตสาหกรรมปิโตรเคมี, อุตสาหกรรมพลาสติก เป็นต้น ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 108.0 เพิ่มขึ้นจากระดับ 107.0 ในเดือนตุลาคม องค์ประกอบดัชนีฯคาดการณ์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการ สำหรับด้านสภาวะแวดล้อมในการดำเนินกิจการ เมื่อพิจารณาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการประกอบการอุตสาหกรรมในเดือนพฤศจิกายน 2558 พบว่าปัจจัยที่ผู้ประกอบการมีความกังวลเพิ่มขึ้น ได้แก่ สภาวะเศรษฐกิจโลก ส่วนปัจจัยที่ผู้ประกอบการมีความกังวลลดลง ได้แก่ อัตราแลกเปลี่ยน สถานการณ์การเมืองในประเทศ ราคาน้ำมันและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการที่มีต่อภาครัฐในเดือนพฤศจิกายน คือ เร่งการเบิกจ่ายงบลงทุนในโครงการขนาดเล็ก ตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล สนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และปรับปรุงกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพ เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน พร้อมทั้งอำนวยความสะดวกการค้าชายแดนด้านการขนส่งสินค้า ให้มีความคล่องตัวมากขึ้น และจัดตั้งศูนย์กระจายสินค้าในประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าอุตสาหกรรมและรองรับการเติบโตของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน...

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ