กรุงเทพฯ--24 ธ.ค.--กลุ่มสารนิเทศการคลัง กระทรวงการคลัง
นายธีรัชย์ อัตนวานิช รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ได้แถลงข่าวการดำเนินงานของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ดังนี้
หนี้สาธารณะคงค้าง ณ 31 ตุลาคม 2558 มีจำนวน 5,867,372.68 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 43.80 ของ GDP และเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนตุลาคมเพิ่มขึ้นสุทธิ 84,049.49 ล้านบาท ในการนี้ สบน. ได้ปรับตัวเลขหนี้สาธารณะคงค้างต่อ GDP ณ สิ้นเดือนกันยายน 2558 จากร้อยละ 42.99 ตามที่ได้แถลงข่าวไปในเดือนพฤศจิกายน เป็นร้อยละ 43.26 เนื่องจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้ประกาศตัวเลข GDP ไตรมาสที่ 3 ของปี 2558 เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2558 ทำให้ GDP จริงของปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 เท่ากับ 13,368.45 พันล้านบาท โดยการเปลี่ยนแปลงของหนี้สาธารณะมีรายละเอียด ดังนี้
v หนี้ของรัฐบาล มีหนี้คงค้างเพิ่มขึ้น 98,510.08 ล้านบาท ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเกิดจาก
· การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ จำนวน 99,094.26 ล้านบาท
· การกู้เงินเพื่อการลงทุนจากแหล่งเงินกู้ในประเทศและต่างประเทศ จำนวน 8,622.79 ล้านบาท มีรายการที่สำคัญ ดังนี้
1. การกู้เงินเพื่อให้รัฐวิสาหกิจกู้ต่อ จำนวน 2,072.02 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย จำนวน 1,682.66 ล้านบาท สำหรับดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง สายสีเขียว และสายสีน้ำเงิน และการรถไฟแห่งประเทศไทย จำนวน 389.36 ล้านบาท สำหรับดำเนินโครงการปรับปรุงทางรถไฟที่ไม่ปลอดภัย 8 สายทาง และโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง
2. การกู้เงินบาททดแทนการกู้เงินตราต่างประเทศ จำนวน 6,353 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น เงินกู้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (DPL) จำนวน 353 ล้านบาท และเงินกู้เพื่อใช้ในการดำเนินโครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำและระบบขนส่งทางถนนระยะเร่งด่วน:มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่ 2 จำนวน 6,000 ล้านบาท
3. การเบิกจ่ายเงินกู้เพื่อวางระบบบริหารจัดการน้ำ จำนวน 140 ล้านบาท
· การชำระหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง จำนวน 9,868.06 ล้านบาท แบ่งเป็น
- การชำระหนี้ต้นเงินกู้ที่รัฐบาลให้กู้ต่อ จำนวน 7,304.78 ล้านบาท
- การชำระหนี้ต้นเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ต่างประเทศที่กระทรวงการคลังค้ำประกันจำนวน 516.67 ล้านบาท
- การชำระหนี้ต่างประเทศ จำนวน 327.78 ล้านบาท
- การชำระดอกเบี้ย จำนวน 1,718.83 ล้านบาท แบ่งเป็น ดอกเบี้ยหนี้ในประเทศ 1,606.54 ล้านบาท และดอกเบี้ยหนี้ต่างประเทศ 112.29 ล้านบาท
· การชำระหนี้ที่รัฐบาลกู้เพื่อชดเชยความเสียหายให้แก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ โดยใช้เงินจากบัญชีสะสมเพื่อการชำระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายของกองทุนฟื้นฟูฯ เพื่อชำระดอกเบี้ย จำนวน 2,336.38 ล้านบาท
· ผลของอัตราแลกเปลี่ยนทำให้หนี้ต่างประเทศสกุลต่างๆ ลดลง 1,057.74 ล้านบาท
v หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน มีหนี้คงค้างลดลง 10,311.50 ล้านบาท โดยการเปลี่ยนแปลงเกิดจาก
· ผลของอัตราแลกเปลี่ยนทำให้หนี้ต่างประเทศสกุลต่างๆ ลดลง 6,249.83 ล้านบาท
· การชำระหนี้เงินกู้มากกว่าการเบิกจ่ายเงินกู้ ทำให้หนี้ลดลง 4,061.67 ล้านบาท โดยรายการที่สำคัญเกิดจากการไถ่ถอนหุ้นกู้ จำนวน 7,100.53 ล้านบาท และการออกหุ้นกู้ จำนวน 4,200 ล้านบาท ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และการเช่าซื้อเครื่องบินแอร์บัส A320-200 ของ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน 1,179.40 ล้านบาท
v หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) มีหนี้คงค้างลดลง 4,095.23 ล้านบาท เนื่องจากการชำระหนี้เงินต้นของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรที่กู้มาเพื่อดำเนินโครงการรับจำนำผลิตผลทางการเกษตร โดยใช้เงินจากการระบายสินค้าเกษตร จำนวน 4,082.80 ล้านบาท และผลของอัตราแลกเปลี่ยนทำให้หนี้ต่างประเทศสกุลต่างๆ ลดลง 12.43 ล้านบาท
v หน่วยงานของรัฐ มีหนี้คงค้างลดลงจากเดือนก่อนหน้า จำนวน 53.86 ล้านบาท โดยรายการที่สำคัญเกิดจากการชำระหนี้เงินต้นของสำนักงานธนานุเคราะห์ จำนวน 58.05 ล้านบาท
ในเดือนตุลาคม 2558 สบน. มีการบริหารจัดการหนี้รัฐวิสาหกิจ วงเงิน 13,467.50 ล้านบาท ประกอบด้วย การกู้เงินในประเทศของรัฐวิสาหกิจ จำนวน 2,300 ล้านบาท และการปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศของรัฐวิสาหกิจ จำนวน 11,167.50 ล้านบาท
หนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2558 เท่ากับ 5,867,372.68 ล้านบาท แบ่งเป็น หนี้ในประเทศ 5,514,659.31 ล้านบาท หรือร้อยละ 93.99 และหนี้ต่างประเทศ 352,713.37 ล้านบาท (ประมาณ 10,106.44 ล้านเหรียญสหรัฐ) หรือเท่ากับร้อยละ 6.01 ของหนี้สาธารณะคงค้างทั้งหมด และหากเปรียบเทียบกับเงินสำรองระหว่างประเทศ จำนวน 158,293.93 ล้านเหรียญสหรัฐ (ข้อมูล ณ 30 ตุลาคม 2558) หนี้ต่างประเทศจะคิดเป็นสัดส่วนเพียงร้อยละ 6.38 ของเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงเสถียรภาพและความมั่นคงในด้านการเงินของประเทศ
โดยหนี้สาธารณะแบ่งออกเป็นหนี้ระยะยาวถึง 5,628,574.27 ล้านบาท หรือร้อยละ 95.93และมีหนี้ระยะสั้น 238,798.41 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.07 ของหนี้สาธารณะคงค้างทั้งหมด