กรุงเทพฯ--30 ธ.ค.--นิด้าโพล
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น "นิด้าโพล" สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) และคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง "การแปรญัตติร่าง พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปี" ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 22 – 23 ธันวาคม 2558 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไปทั่วประเทศ กระจายทุกระดับการศึกษาและอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,250 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับ การแปรญัตติร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ "นิด้าโพล" ด้วยความน่าจะเป็นแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) โดยแบ่งภูมิภาคออกเป็น 5 ภูมิภาค จากนั้น ในแต่ละภาคสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ (Systematic Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0 และมี ค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error: S.E.) ไม่เกิน 1.4
จากการสำรวจ เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีในเรื่องต่าง ๆ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 56.64 ระบุว่า เป็นด้านการศึกษา รองลงมา ร้อยละ 19.12 ระบุว่า เป็นด้านการลงทุนสาธารณะ ร้อยละ 8.48 ระบุว่า เป็นด้านการใช้หนี้สาธารณะ (เช่น การใช้หนี้การกู้ยืมของรัฐทั้งในและต่างประเทศ) ร้อยละ 5.92 ระบุว่า เป็นด้านการป้องกันประเทศ ร้อยละ 8.64 ระบุว่า เป็นด้านอื่น ๆ ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจปากท้อง การช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย ผู้สูงอายุ การพัฒนาสังคมและชุมชน การประกันสุขภาพและสาธารณสุข ด้านกีฬา และสื่อมวลชน และร้อยละ 1.20 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ด้านการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในการตั้งงบประมาณเพื่อการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 92.56 ระบุว่า จำเป็นต้องรับฟังความคิดเห็นของประชาชน รองลงมา ร้อยละ 6.16 ระบุว่า ไม่จำเป็นต้องรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ร้อยละ 1.12 ระบุว่า ขึ้นอยู่กับขนาดของโครงการ ให้ดูเป็นรายกรณีไป และร้อยละ 0.16 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
สำหรับความคิดเห็นของประชาชนต่อการที่ ส.ส. แต่ละคน ใช้วิธีการแปรญัตติให้จัดสรรงบประมาณไปลงในพื้นที่ตัวเอง พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 56.40 ระบุว่า เป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง รองลงมา ร้อยละ 34.24 ระบุว่า เป็นการกระทำที่ถูกต้อง ร้อยละ 4.56 ระบุว่า ต้องดูเป็นรายกรณีไป และร้อยละ 4.80 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ด้านความคิดเห็นของประชาชนต่อความเหมาะสม หาก ส.ส. หรือกรรมาธิการพิจารณาร่างกฎหมายงบประมาณสามารถ เสนอเปลี่ยนแปลงรายการใช้จ่ายจากที่กำหนดไว้เดิมไปเป็นงบกลางที่ไม่มีรายละเอียด พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 82.32 ระบุว่า เป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสม รองลงมา ร้อยละ 10.00 ระบุว่า เป็นการกระทำที่เหมาะสม ร้อยละ 0.40 ระบุว่า ต้องดูเป็นรายกรณีไป และร้อยละ 7.28 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อการแถลงเหตุผลของรัฐสภาในการปรับลดวงเงินงบประมาณหรือเปลี่ยนแปลงรายการใช้จ่ายให้ประชาชนทราบ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 96.24 ระบุว่า เห็นด้วย รองลงมา ร้อยละ 1.68 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 0.08 ระบุว่า ต้องดูเป็นรายกรณีไป และร้อยละ 2.00 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 8.72 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 25.44 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑลและภาคกลาง ร้อยละ 18.00 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.60 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 14.24 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่าง ร้อยละ 55.12 เป็นเพศชาย และร้อยละ 44.80 เป็นเพศหญิง และร้อยละ 0.08 เป็นเพศทางเลือก ตัวอย่าง ร้อยละ 9.36 มีอายุ 18 – 25 ปี ร้อยละ 20.32 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 23.28 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 31.84 มีอายุ 46 – 59 ปี ร้อยละ 13.52 มีอายุ 60 ปีขึ้นไปและร้อยละ 1.68 ไม่ระบุอายุ ตัวอย่าง ร้อยละ 94.96 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 2.72 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 0.64 นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ และร้อยละ 1.68 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่าง ร้อยละ 21.44 สถานภาพโสด ตัวอย่างร้อยละ 74.16 สมรสแล้ว ตัวอย่างร้อยละ 2.56 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 1.84 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส ตัวอย่าง ร้อยละ 26.88 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 30.24 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 9.04 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 26.16 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 5.44 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 2.24 ไม่ระบุการศึกษา
ตัวอย่าง ร้อยละ 12.32 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 14.72 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 24.40 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 15.84 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 14.16 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 12.56 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 3.60 เป็นนักเรียน/นักศึกษา และร้อยละ 2.40 ไม่ระบุอาชีพ ตัวอย่างร้อยละ 13.92 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 21.52 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 ร้อยละ 30.72 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 ร้อยละ 12.96 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 6.24 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 – 40,000 ร้อยละ 7.04 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมากกว่า 40,001 บาท ขึ้นไป และร้อยละ 7.60 ไม่ระบุรายได้
1. ท่านเห็นว่างบประมาณรายจ่ายประจำปีควรจัดสรรในเรื่องใดมากที่สุด
ความคิดเห็นของประชาชนต่อการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีในเรื่องต่าง ๆ /ร้อยละ
ด้านการศึกษา56.64
ด้านการลงทุนสาธารณะ19.12
ด้านการใช้หนี้สาธารณะ (เช่น การใช้หนี้การกู้ยืมของรัฐทั้งในและต่างประเทศ)8.48
ด้านการป้องกันประเทศ5.92
อื่น ๆ ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจปากท้อง การช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย ผู้สูงอายุ การพัฒนาสังคมและชุมชน การประกันสุขภาพและสาธารณสุข ด้านกีฬา และสื่อมวลชน8.64
ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ1.20
รวม100.00
2. ท่านเห็นว่า การตั้งงบประมาณเพื่อการลงทุนในโครงการใหญ่ ๆ นั้น จำเป็นต้องรับฟังความคิดเห็นของประชาชนด้วยหรือไม่
การรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในการตั้งงบประมาณเพื่อการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ /ร้อยละ
จำเป็นต้องรับฟังความคิดเห็นของประชาชน92.56
ไม่จำเป็นต้องรับฟังความคิดเห็นของประชาชน6.16
ขึ้นอยู่กับขนาดของโครงการ ให้ดูเป็นรายกรณีไป1.12
ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ0.16
รวม100.00
3. ท่านเห็นว่า การที่ ส.ส. แต่ละคน ใช้วิธีการแปรญัตติให้จัดสรรงบประมาณไปลงในพื้นที่ตัวเองนั้น เป็นการกระทำที่ถูกต้องหรือไม่ความคิดเห็นของประชาชนต่อการที่ ส.ส. แต่ละคน ใช้วิธีการแปรญัตติให้จัดสรรงบประมาณไปลงในพื้นที่ตัวเองร้อยละ
เป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง56.40
เป็นการกระทำที่ถูกต้อง34.24
ต้องดูเป็นรายกรณีไป4.56
ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ4.80
รวม100.00
4. ท่านเห็นว่า การที่ ส.ส. หรือกรรมาธิการพิจารณาร่างกฎหมายงบประมาณสามารถ เสนอเปลี่ยนแปลงรายการใช้จ่ายจากที่กำหนดไว้เดิม
ไปเป็นงบกลางที่ไม่มีรายละเอียดนั้น เป็นการกระทำที่เหมาะสมหรือไม่
ความคิดเห็นของประชาชนต่อความเหมาะสม หาก ส.ส. หรือกรรมาธิการพิจารณาร่างกฎหมายงบประมาณ
สามารถเสนอเปลี่ยนแปลงรายการใช้จ่ายจากที่กำหนดไว้เดิมไปเป็นงบกลางที่ไม่มีรายละเอียดร้อยละ
เป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสม82.32
เป็นการกระทำที่เหมาะสม10.00
ต้องดูเป็นรายกรณีไป0.40
ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ7.28
รวม100.00
5. ท่านเห็นด้วยหรือไม่ว่า รัฐสภาควรแถลงเหตุผลในการปรับลดวงเงินงบประมาณหรือเปลี่ยนแปลงรายการใช้จ่ายให้ประชาชนทราบ
ความคิดเห็นของประชาชนต่อการแถลงเหตุผลของรัฐสภาในการปรับลดวงเงินงบประมาณ
หรือเปลี่ยนแปลงรายการใช้จ่ายให้ประชาชนทราบ
ร้อยละ
เห็นด้วย96.24
ไม่เห็นด้วย1.68
ต้องดูเป็นรายกรณีไป0.08
ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ2.00
รวม100.00