กรุงเทพฯ--15 ม.ค.--สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)
ดร.อุ ตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที เปิดเผยว่า ปัจจุบันแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทยระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2559-2561) ซึ่งไอซีทีร่วมกับสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ EGA ได้เข้าสู่กระบวนการรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานรัฐทั้งหมดแล้ว คาดว่าภายใน 3 เดือนนี้จะมีบทสรุป และนำไปสู่ภาคปฏิบัติได้ทันที
โดยยุทธศาสตร์ของรัฐบาลได้วางภาครัฐเป็นส่วนที่มีบทบทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล ด้วยการกำหนดให้เป็นDigital by Default หรือเริ่มจากระบบดิจิทัล ตั้งแต่เริ่มต้น และยังกำหนดในยุทธศาสตร์ที่ 3 ในหัวข้อการส่งเสริมการสร้างบริการดิจิทัล ซึ่งเป็นการเร่งพัฒนารากฐาน และปฏิวัติรูปแบบบริการใหม่ให้แก่การทำงานและให้บริการในภาครัฐ มุ่งเน้นการลดเอกสารกระดาษในทุกขั้นตอนการดำเนินงาน เพิ่มความสะดวก รวดเร็วและถูกต้องก่อให้เกิดความโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้ ส่งเสริมให้เกิดความสร้างสรรค์หรือนวัตกรรมในงานด้านการบริการของภาครัฐให้ มากยิ่งขึ้น โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนและภาคธุรกิจมีส่วนร่วมในการกำหนดและร่วมสร้างบริการ และการเข้าถึงข้อมูลของภาครัฐ เพื่อนำไปต่อยอดเพิ่มมูลค่าสร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมต่อไป จึงจำเป็นที่ต้องมีแผนการพัฒนาและยกระดับในภาพรวมของประเทศ เป็นที่มาและความสำคัญของการพัฒนาแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทยในระยะ 3 ปีนี้
ทางรัฐบาลจึงได้สั่งการให้หน่วยงานภาครัฐทุกหน่วยงานต้องมีวิสัยทัศน์ที่สอดคล้องร่วมกัน หรือ Common Vision เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ซ้ำซ้อน ไม่ใช่การพัฒนาในลักษณะ "ต่างคนต่างทำ" ซึ่งทำให้งานและระบบต่างๆ ขาดมาตรฐานและไม่สามารถนำมาใช้ร่วมกันได้เหมือนที่เป็นมาในอดีต
ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อำนวยการสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์กรมหาชน) หรือ EGA เปิด เผยว่า ร่างแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทยระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2559 – 2561) ได้กำหนดยุทธศาสตร์และแนวทางในการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลให้ตอบสนองต่อความต้อง การของภาคประชาชนและภาคธุรกิจ รวมถึงให้มีมาตรฐานเท่าเทียมกับระดับสากล ซึ่งในการจัดงานครั้งนี้ EGA ได้ สำรวจความต้องการของภาคประชาชน ภาคประชาสังคม และภาคธุรกิจ ซึ่งเป็นกลุ่มผู้รับบริการหรือได้รับประโยชน์รวมถึงผลกระทบจากการมีรัฐบาลดิ จิทัล และศึกษารูปแบบขีดความสามารถเชิงดิจิทัลของประเทศที่มีขีดความสามารถในการ แข่งขันด้านรัฐบาลดิจิทัลสูง (Leading Practices) เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการพัฒนา รวมถึงจัดการประชุมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในแต่ละด้าน เพื่อประเมินขีดความสามารถเชิงดิจิทัลของภาครัฐไทยในปัจจุบัน
จากการร่างแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทยระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2559 – 2561) ที่อยู่ระหว่างการรับฟังความคิดเห็นในขณะนี้ ได้ระบุขีดความสามารถเชิงดิจิทัลของภาครัฐไทยออกเป็น 26 ด้าน โดยการจัดทำแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลระยะที่หนึ่ง ครอบคลุมขีดความสามารถหลักทั้งหมด 18 จาก 26 ด้าน ได้แก่ การบูรณาการข้อมูลภาครัฐเพื่อยกระดับบริการ, การยืนยันตัวตนและบริหารจัดการสิทธิ, การให้ข้อมูล, การรับฟังความคิดเห็น, โครงสร้างพื้นฐานการให้บริการอิเล็กทรอนิกส์, การพัฒนาศักยภาพบุคลากรภาครัฐ, การให้ความช่วยเหลือ, การเพิ่มประสิทธิภาพแรงงาน, การเพิ่มประสิทธิภาพภาคการเกษตร, การท่องเที่ยว, การลงทุน, การค้า (นาเข้า/ส่งออก), วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม, ภาษีและรายได้, ความปลอดภัยสาธารณะ, การบริหารจัดการชายแดน, การป้องกันภัยธรรมชาติ และการจัดการในภาวะวิกฤต