กรุงเทพฯ--27 มี.ค.--การสื่อสารแห่งประเทศไทย
ตราไปรษณียากรชุดผึ้ง
วันแรกจำหน่าย : 19 มีนาคม 2543
ความมุ่งหมาย : เพื่อเผยแพร่ผึ้งพันธุ์พื้นเมืองของไทย และเผยแพร่ชื่อ เสียงทางด้านอุตสาหกรรมผึ้ง และชีววิทยาของผึ้งในระดับโลก โดยภาคชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดการประชุมวิชาการผึ้ง นานาชาติ ครั้งที่ 7 ณ จังหวัดเชียงใหม่ ในวันที่ 19 มีนาคม 2543
ชนิดราคา : 3.00 บาท (4 แบบ)
ขนาด : 35.96 x 25.73 มม. (วัดจากรอยปรุถึงรอยปรุ - แนวนอน)
ภาพ
แบบที่ 1 : ผึ้งมิ้มเล็ก หรือผึ้งม้าม (ชื่อวิทยาศาสตร์ Apis andreniformis) มีขนาดลำตัว และรังเล็กที่สุดในโลก ท้องเป็นปล้องสีดำสลับขาว ลักษณะนิสัยไม่ดุร้าย และต่อยปวดน้อยที่สุด ในประเทศไทยพบผึ้ง มิ้มเล็กในภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ ปัจจุบันพบว่าผึ้งมิ้มเล็กมีปริมาณลดน้อยลงเรื่อยๆ เนื่องจากถูกทำลายได้ง่าย
แบบที่ 2 : ผึ้งมิ้ม (ชื่อวิทยาศาสตร์ Apis florea) มีขนาดลำตัวและรังขนาดเล็กชั้นเดียว ท้องปล้องแรกสีส้ม ปล้องต่อไปจะเป็นสีดำสลับสีเหลืองอ่อน มัก สร้างรังอยู่บนกิ่งไม้ขนาดเล็ก และมีกิ่งไม้ปกปิด เพื่อป้องกันศัตรูพบเห็น ผึ้งมิ้มพบทั่วไปในประเทศไทย และทุกประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ขึ้นไป จนถึงจีนตอนใต้
แบบที่ 3 : ผึ้งโพรง (ชื่อวิทยาศาสตร์ Apis cerana) มีขนาดลำตัวใหญ่กว่าผึ้งมิ้ม แต่เล็กกว่าผึ้งหลวง ลำตัวสีน้ำตาลปนดำ ช่วงท้องแต่ละปล้องมีแถบขาว หรือเหลืองอ่อนสลับดำเห็นชัดเจนมาก มักสร้างรังเป็นชั้นๆ ซ้อนกันในโพรงต้นไม้ หรือในอาคารบ้านเรือนที่มิดชิด ผึ้งโพรงพบทั่วไปในประเทศไทยและทุก ประเทศ ตั้งแต่เอเชียใต้ลงมาจนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผึ้งโพรงไทยสามารถนำมาเลี้ยงในหีบหรือกล่องไม้ได้ และทำรายได้ให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้ง ไม่น้อย
แบบที่ 4 : ผึ้งหลวง (ชื่อวิทยาศาสตร์ Apis dorsata) มีขนาดลำตัวและรังใหญ่ที่สุด สร้างรังเป็นรูปครึ่งวงกลมชั้นเดียว ไม่มีที่ปกปิด มักสร้างรังบนต้นไม้ สูงๆ ตามชายคาบ้านเรือน และตามหน้าผาสูง ช่วงท้องจะมีสีเหลืองและดำ ลำตัวด้านหลังมีสีน้ำตาลอ่อนอมเหลืองจนถึงน้ำตาลแก่ ด้านท้องสีดำ ลักษณะ นิสัยดุ และต่อยปวดกว่าผึ้งทุกชนิด ในเดือนเมษายนจะให้น้ำผึ้งได้ดีที่สุด เรียกว่าน้ำผึ้งเดือนห้า ผึ้งหลวงพบทั่วไปในประเทศไทย และทุกประเทศของทวีป เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ขึ้นไปจนถึงจีนตอนใต้ พม่า ศรีลังกา เนปาล และอินเดีย
ผู้ออกแบบ : นายรอง สายชุ่มดี
บริษัทผู้พิมพ์ : เฮลิโอ คูร์วัวซิเอร์ เอส.เอ. ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
วิธีการพิมพ์และสี : โฟโตกราเวียร์-หลายสี
จำนวนดวงในแผ่น : 20 ดวง
แผ่นตราไปรษณียากรที่ระลึก : แผ่นละ 8 บาท (มี 4 แบบ)
ซองวันแรกจำหนาย : ซองละ 20.00 บาท
ผู้ออกแบบ : น.ส.ปาริชาติ เจริญเชื้อ (การสื่อสารแห่งประเทศไทย)
บัตรภาพตราไปรษณียากร : แบบธรรมดา ชุดละ 10.00 บาท แบบสมบูรณ์ ชุดละ 30.00 บาท
บัตรตราไปรษณียากรที่ระลึก : ชุดละ 25.00 บาท
ตราไปรษณียากรที่ระลึกกรุงเทพฯ 2000 งานแสดงตราไปรษณียากรเยาวชนโลกและงานแสดงตราไปรษณียากรแห่งเอเชีย ครั้งที่ 13 (ชุด 3)
วันแรกจำหน่าย : 25 มีนาคม 2543
ความมุ่งหมาย : เพื่อเป็นที่ระลึกในโอกาสจัดงานแสดงตราไปรษณียากร เยาวชนโลก และงานแสดงตราไปรษณียากรแห่งเอเชีย ครั้งที่ 13 ระหว่างวันที่ 25 มีนาคม - 3 เมษายน พุทธศักราช 2543 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพมหานคร
ชนิดราคา : 2.00 บาท (2 แบบ)
: 15.00 บาท (2 แบบ)
ขนาด : 45 x 27 มม. (แนวนอน)
ภาพ : ประเพณีพื้นบ้านของเด็กไทย
แบบที่ 1 : 2.00 บาท : ทำขวัญเดือน
แบบที่ 2 : 2.00 บาท : โกนจุก
แบบที่ 3 : 15.00 บาท : ไหว้ครู
แบบที่ 4 : 15.00 บาท : บวชลูกแก้ว
ผู้ออกแบบ : นางวีณา จันทนทัศน์ (การสื่อสารแห่งประเทศไทย)
บริษัทผู้พิมพ์ : ไทยบริติช ซีเคียวริตี้ พริ้นติ้ง จำกัด (มหาชน) ประเทศไทย
วิธีการพิมพ์และสี : ลิโธกราฟี่-หลายสี
จำนวนดวงในแผ่น : 20 ดวง
แผ่นตราไปรษณียากรที่ระลึก : แผ่นละ 45 บาท
ซองวันแรกจำหนาย : ซองละ 50.00 บาท
ผู้ออกแบบ : นางวีณา จันทนทัศน์ (การสื่อสารแห่งประเทศไทย)
บัตรภาพตราไปรษณียากร : แบบธรรมดา ชุดละ 10.00 บาท แบบสมบูรณ์ ชุดละ 55.00 บาท
บัตรตราไปรษณียากรที่ระลึก : ชุดละ 55.00 บาท
ตราไปรษณียากรที่ระลึกงานกาชาด 2543
วันแรกจำหน่าย : มีนาคม 2543
ความมุ่งหมาย : เพื่อเป็นที่ระลึกงานกาชาดปีพุทธศักราช 2543
ชนิดราคา : 3.00 บาท
ขนาด : 45 x 27 มม. (แนวนอน)
ภาพ : ภาพในแนวกราฟฟิก แสดงความหมายเพื่อการรณรงค์ ให้มีการบริจาคอวัยวะสำคัญต่างๆ ให้แก่ศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย
ศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2536 มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม สนับสนุน ให้มีการบริจาคอวัยวะให้เพียงพอต่อ การปลูกถ่ายอวัยวะ เป็นศูนย์กลางในการจัดสรรอวัยวะ ที่ได้รับบริจาคด้วยความเสมอภาค ถูกต้องตามหลักวิชาการ และได้รับประโยชน์สูงสุด ทั้งนี้โดยไม่มี การซื้อขาย
ผู้ออกแบบ : นายอุดร นิยมธรรม (การสื่อสารแห่งประเทศไทย)
บริษัทผู้พิมพ์ : ไทยบริติช ซีเคียวริตี้ พริ้นติ้ง จำกัด (มหาชน) ประเทศไทย
วิธีการพิมพ์และสี : ลิโธกราฟฟี่-หลายสี
จำนวนดวงในแผ่น : 20 ดวง
ซองวันแรกจำหนาย : ซองละ 10.00 บาท
ผู้ออกแบบ : นายอุดร นิยมธรรม (การสื่อสารแห่งประเทศไทย)--จบ--