กรุงเทพฯ--27 ม.ค.--ศูนย์บริการปรึกษาการออกแบบและวิศวกรรม
สำนักคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ โดยสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง และศูนย์บริการปรึกษาการออกแบบและวิศวกรรม สวทช. จัดโครงการพัฒนาศักยภาพ ผู้ประกอบการในเขตภาคเหนือด้านการออกแบบเชิงวิศวกรรม เพื่อช่วยพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมการผลิตให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิต เพื่อยกระดับสถานประกอบการโดยอาศัยการออกแบบวิศวกรรมเป็นแรงขับเคลื่อนพร้อมทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญในการสร้างต้นแบบชิ้นงาน หรือ แผน improvement กระบวนการผลิต ที่สามารถนำไปใช้ได้จริง
ผู้ที่เหมาะกับการเข้าร่วมสัมมนา
ผู้ประกอบการ ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ วิศวกร นักศึกษา และผู้ที่สนใจ ในเขตจังหวัดภาคเหนือ
- อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
- อุตสาหกรรมชิ้นส่วนและประดับยนต์
- อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์
- อุตสาหกรรมจักรกลเกษตรและชิ้นส่วน
- อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง
กิจกรรมของโครงการพัฒนาศักยภาพ ผู้ประกอบการในเขตภาคเหนือด้านการออกแบบเชิงวิศวกรรม ประกอบด้วย
1. สัมมนา "การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์และประสิทธิภาพการผลิตด้วยการออกแบบเชิงวิศวกรรม"
จะจัดขึ้นในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 9.00-16.00 น. ณ โรงแรมเชียงใหม่ ออร์คิด จ.เชียงใหม่
ห้วข้อที่น่าสนใจ
- กล่าวเปิดโครงการ โดย ศ.ดร.วัลลภ สุระกำพลธร ผู้อำนวยการสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง สำนักคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน)
- การออกแบบเชิงวิศวกรรมในการเพิ่มประสิทธิภาพอุตสาหกรรมไทย
โดยวิทยากร ศ.ดร. ปราโมทย์ เดชะอำไพ
อดีต Senior Aerospace Engineer ระดับ GS-14 องค์การอวกาศ NASA, USA.
รองผู้อำนวยการศูนย์โลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
- เสวนาความสำคัญของการออกแบบวิศวกรรมกับอุตสาหกรรมในปัจจุบัน
โดยผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงาน สถาบัน และผู้ประกอบการ
- การประยุกต์ใช้การออกแบบวิศวกรรมในอุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านการแก้ปัญหาทางวิศวกรรม ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
- เสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และร่วมแบ่งปันประสบการณ์จากผู้ประกอบการที่ใช้การออกแบบเชิงวิศวกรรมในการพัฒนาธุรกิจของตนเอง
2.คัดเลือกสถานประกอบการโดยคัดเลือกจากแบบประเมินศักยภาพ , ความพร้อมในการพัฒนาต้นแบบจริงและแผนธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ โดยพิจารณาจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สำหรับผู้ประกอบการที่มีความสนใจพัฒนาต้นแบบเชิงวิศวกรรมและพร้อมที่จะบ่มเพาะต่อยอดในการสร้างต้นแบบชิ้นงานต่อไป
3.โดยผู้ที่เข้าร่วมสัมมนามีโอกาสได้รับคัดเลือกให้เข้าอบรมภาคปฏิบัติ การออกแบบเชิงวิศวกรรมสำหรับผลิตภัณฑ์ จำนวนไม่น้อยกว่า 10 บริษัท โดยหลักสูตรนี้มุ่งเน้นการบูรณาการความรู้ในการประยุกต์ใช้ซอฟต์แวร์ CAE กับโจทย์กรณีศึกษาที่น่าสนใจ แสดงผลเป็นตัวอย่างแบบง่าย เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาได้ในวิธีที่ประหยัดกว่าเดิม ระยะเวลารวม 3 วัน ในเดือนมีนาคม 2559 (จะแจ้งให้ทราบอีกครั้งนึง)
4.ให้คำปรึกษาและสร้างต้นแบบ
โดยจะได้รับการสนับสนุนจัดทำต้นแบบ 35,000 บาท/ชิ้นงาน โดยผู้เชี่ยวชาญจากศูนย์ฯ ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญในภูมิภาคให้คำปรึกษาและดำเนินการสร้างต้นแบบชิ้นงาน หรือ แผน improvement กระบวนการผลิตของผู้ประกอบการเป้าหมาย
ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ
• ผู้ประกอบการมีความรู้ความเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือเกี่ยวกับกระบวนการผลิต โดยอาศัยการออกแบบวิศวกรรมเป็นแรงขับเคลื่อน
• ผู้ประกอบการได้รับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญพร้อมการจัดทำต้นแบบชิ้นงานที่ผ่านการทดสอบสำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือชิ้นส่วนทดแทน และสามารถนำไปใช้ได้จริง
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและลงทะเบียนได้ที่ 02-564-6310-11 ต่อ 117 หรือ E-mail: marketing@decc.or.th และ www.decc.or.th
ลงทะเบียนออนไลน์ได้ที่ >> https://goo.gl/cj3N3n
***สมัครได้ตั้งแต่วันนี้ ถึง วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2559 หรือเมื่อมีผู้สมัครเต็มจำนวน
*** ขอสงวนสิทธิการเข้ากิจกรรมในโครงการโดยการลงทะเบียนล่วงหน้าเท่านั้นไม่เปิดรับการลงทะเบียนหน้างาน (Walk in)***