กรุงเทพฯ--4 ก.พ.--มทร.ธัญบุรี
ตามที่คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ได้จัดโครงการส่งเสริมและพัฒนาทักษะวิชาการด้านภาษาไทย เพื่อความร่วมมือทางด้านวิชาการของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 9 แห่ง โดยมีการจัดกิจกรรมการแข่งขันทักษะวิชาการภาษาไทย ได้แก่ การแข่งขันตอบปัญหาทักษะวิชาการด้านภาษาไทย การแข่งขันพูดสุนทรพจน์แบบฉับพลัน และการแข่งขันการอ่านออกเสียง ซึ่งนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี นายเมธพนธ์ ไชยเทพ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขานาฎศิลป์ไทยศึกษา คณะศิลปกรรมศาสตร์ ได้รับรางวัลชนะเลิศ การแข่งขันพูดสุนทรพจน์แบบฉับพลัน นางสาวปาลิตา จ้อยรุ่ง นักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาการจัดการโรงแรม คณะศิลปศาสตร์ ได้รับรางวัลชนะเลิศการแข่งขันตอบปัญหาทักษะวิชาการด้านภาษาไทย และนายธีรภัทร ทองเกลี้ยง นักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาการจัดการโรงแรม คณะศิลปศาสตร์ ได้รับรางวัลรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 การแข่งขันตอบปัญหาทักษะวิชาการด้านภาษาไทย
นายเมธพนธ์ ไชยเทพ เล่าว่า กติกาในการแข่งขัน ก่อน 1 นาที กรรมการจะบอกหัวข้อในการแข่งขัน ซึ่งหัวข้อในการแข่งขัน คือ "ปัญหาสังคมไทย" โดยตนได้รับหัวข้อ "นักเรียนนักเลง" โดยเวลาในการพูด 3 นาที 30 วินาที ไม่เกิน 4 นาที 30 วินาที จุดเด่นของตนเองอยู่ที่ การควบคุมอารมณ์ ไม่ประมาท มีการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เทคนิคของตนเองกระบวนการในการคิดต้องมีระบบ การที่พูดต้องมีการเรียบเรียงคำพูด พยายามพูดให้เห็นภาพ เกิดการคล้อยตาม สอดแทรกคำคมเข้าไป หรือ เป็นคำถามที่ไม่ต้องการคำตอบ ซึ่งให้กรรมการมีส่วนร่วม และพยายามทำให้เป็นธรรมชาติมากที่สุด "ด้วยประสบการณ์การเป็นพิธีกรงานมหาวิทยาลัย เคยเข้าประกวดพิธีกรมหาวิทยาลัย รองชนะเลิศอันดับ 2 ทำให้กล้าแสดงออก" ใช้เวลาในการซ้อม 1 อาทิตย์ ซึ่งต้องฝึกซ้อมทุกเย็นหลังเลิกเรียน พูดวันละ 1เรื่อง วันละ 2 – 3 ชั่วโมง และต้องขอบคุณคุณแม่ที่ปลูกฝังภาษาไทยมาตั้งแต่เด็ก การใช้ภาษาไทยเป็นสิ่งที่สำคัญ ครูที่สอนเด็กสำคัญมาก ที่จะต้องปลูกฝัง การใช้ภาษาไทยที่ถูกต้องให้กับเด็กๆ ภูมิใจที่ได้รับรางวัล ซึ่งเป็นสิ่งที่ตนเองรัก "จงทำในสิ่งที่รัก ศักยภาพจะเป็นที่ประจักษ์อย่างชัดเจน"
นางสาวปาลิตา จ้อยรุ่ง เล่าว่า ตนเองใช้เวลาในการเตรียมตัว 2 – 3 วัน เทคนิคในการเตรียมตัวจึงทำข้อสอบวันละหลายๆ ชุด เมื่อไม่เข้าใจอาจารย์คอยให้คำปรึกษา บวกกับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ต้องเรียนวิชาทักษะภาษาไทย โดยในการแข่นขันมีข้อสอบทั้งหมด 100 ข้อ ใช้เวลาในการทำข้อสอบ 2 ชั่วโมง ซึ่งใน"เทคนิคในการทำข้อสอบพกดินสอและยางลบ เอาไว้คอยขีดเขียนในข้อสอบ ซึ่งกระดาษคำถามจะมีรอยดินสอทุกข้อ ซึ่งตนเองนั่งทำข้อสอบจนจะหมดเวลา ไม่รู้สึกมั่นใจ โดยตอนนั้น คือ 50 : 50 เมื่อผลออกมาดีใจมาก ถือเป็นรางวัลแรกในมหาวิทยาลัย สำหรับตนเองภาษาไทยไม่ใช่ภาษาที่ยาก แต่แน่นอนว่าไม่ใช่ภาษาที่ง่าย จนบางคนมองข้ามไป ใช้กันผิดๆ ถูกๆ โดยทุกวันนี้วัยรุ่นจะติดมาจากการพิมพ์และสนทนาผ่านโทรศัพท์มือถือ จนติดและนำมาใช้ผิดๆ
ต้องปรบมือให้คนเก่ง มทร.ธัญบุรี ที่สามารถนำทักษะภาษาไทยมาใช้ ซึ่งทุกวันนี้ คนในสังคมน้อยคนที่จะใช้ภาษาไทยได้ถูกต้อง