ขอเชิญร่วมสัมมนา e-Business Vision & Strategy Development Program- รุ่นที่ 6

ข่าวทั่วไป Monday October 8, 2001 16:39 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--8 ต.ค.--แมกซ์ เซฟวิ่งส์ (ประเทศไทย)
ขอเชิญร่วมสัมมนา e-Business Vision & Strategy Development Program- รุ่นที่ 6 โครงการพัฒนาวิสัยทัศน์ และกลยุทธ์การบริหารแบบ e-Business - รุ่นที่ 6 "หลักสูตรพัฒนาแนวคิดและการวางแผน ด้านการบริหารเชิงยุทธ์ด้าน e-Commerce & e-Business"วันที่ 6-7 พฤศจิกายน 2544 เวลา 8:30 -16:45 น. ณ ห้อง Panorama I โรงแรม The Emerald (ถ. รัชดาภิเษก กทม.)
เรียนรู้หลักการวางแผนเชิงยุทธ์แบบ e-Business เพื่อการดำเนินกลยุทธ์ด้าน e-Commerce ที่มีประสิทธิภาพ เริ่มตั้งแต่การศึกษากลไกการค้า e-Commerce พื้นฐาน ไปจนถึง การบริหารการค้า และองค์กรบนเว็บด้วย e-Business ทุกรูปแบบเพื่อสร้างนักบริหาร นักวางแผนกลยุทธ์ และนักปฏิบัติยุคใหม่ ให้พร้อมรับมือกับการแข่งขันในโลกการค้ายุค Digital
สถานการณ์ปัจจุบัน
การค้าบนระบบ Internet หรือ e-Commerce ปัจจุบัน มิได้จำกัดขอบเขตอยู่เฉพาะการซื้อมาขายไประหว่างองค์กรธุรกิจกับผู้บริโภคทั่วไปเท่านั้น หากแต่ได้ขยายตัวอย่างรวดเร็วมาเป็นระบบการค้าระหว่างองค์กรด้วยกัน หรือที่เรียกว่า Business-to-Business (B2B) ซึ่งจะมีมูลค่าสูงถึง 2,800,000ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2546 หรือเป็น 6 เท่าของระบบการค้าแบบ Business-to-Consumer (B2C) ทั้งนี้เพราะ ระบบการค้าแบบ B2B ก่อให้เกิดเครือข่ายทางการค้าที่เชื่อมโยงกันในทุกกระบวนการของธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่ขายวัตถุดิบ ผู้ที่ให้บริการด้านการเงิน ผู้ค้าส่ง และผู้ค้าปลีก อันส่งผลให้เกิดระบบการจัดการธุรกิจยุคใหม่ที่เรียกว่า e-Business และทำให้โลกการค้าเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจใหม่ ที่เราเรียกว่า เศรษฐกิจแบบดิจิตอล (Digital Economy) ซึ่งเป็นยุคของการค้าไร้กระดาษ (Paperless) ที่บริหารจัดการด้วยระบบอัตโนมัติผ่านเครือข่าย Internet
ภัยคุกคามทางธุรกิจ
ระบบธุรกิจแบบ e-Business ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงวิถีทางการค้าครั้งใหญ่ ที่ทำให้ระบบการค้าเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายทั่วโลก อันก่อให้เกิดการแข่งขันอย่างรุนแรง ทั้งในด้านความเร็วในการบริการ และการลดต้นทุนการบริหารและจัดการอย่างขนานใหญ่ อันเนื่องจากการซื้อ-ขายเป็นแบบ "อัตโนมัติ" ที่เชื่อมโยงถึงกันทั้งระหว่างองค์กรกับองค์กร และกับผู้บริโภคทั่วประเทศและหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งเทียบผลตอบแทนของการลงทุนและการเติบโตแล้ว ถือเป็นระบบที่ให้ประสิทธิภาพสูงสุดเท่าที่เคยมีมา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อต่อเชื่อมโยงเข้ากับระบบการบริหารงานของภาครัฐที่เรียกว่า e-Government ของภาครัฐ ซึ่งถือเป็นลูกค้ารายใหญ่ของภาคเอกชน ฉะนั้น นี่จึงเป็น "โอกาสสุดท้าย" ของการปรับตัว หากท่านหวังจะอยู่รอดต่อไป!!
ปัญหาอยู่ที่วิสัยทัศน์
ปัญหาของนักธุรกิจ และผู้บริหารของไทยในการปรับตัวเข้าสู่ระบบธุรกิจและเศรษฐกิจใหม่นี้ ก็คือ ความเฉื่อยชาในการปรับตัว อันเนื่องมาจาก "ความประมาท" และ "ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์" อันเป็นผลมาจาก "การขาดวิสัยทัศน์" หรือการมองการณ์ไกล เมื่อเทียบกับชาติคู่แข่ง อย่างประเทศสิงคโปร์ จีน และมาเลเซียที่มีการปรับตัวเข้าสู่ระบบ e-Business อย่างรวดเร็ว และยิ่งมีปัญหาของบริษัทดอทคอมในตลาดหุ้น NASDAQ ด้วยแล้ว ยิ่งทำให้ผู้บริหารของไทยทั้งภาครัฐ และเอกขน เกิดความความประมาทและเฉื่อยชาในการปรับตัวมากยิ่งขึ้น !! เหตุเพราะ "ความไม่รู้จริง" ในสถานการณ์เศรษฐกิจโลก นั่นเอง
จุดสำคัญอยู่ที่กลยุทธ์
โครงการฝึกอบรมครั้งนี้ จึงมีเป้าหมาย เพื่อถ่ายทอดความรู้ทั้งจากประสบการณ์ในการทำธุรกิจ e-Commerce และ e-Business และเรียนรู้จากบทเรียนของประเทศที่พัฒนาแล้ว ทั้งนี้ เพื่อปรับวิสัยทัศน์ และรับรู้วิธีการวางแผนกลยุทธ์ รวมทั้งการศึกษาระบบการค้า e-Business ในรูปแบบต่างๆ ที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน และที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อการเตรียมพร้อม และสร้างแนวกลยุทธ์ที่จะนำไปสู่การบริหารงานที่ประสบความสำเร็จในการแข่งขันในยุค New Economy
สิ่งที่เราให้ท่าน
- สอน "วิธีการวางแผนกลยุทธ์ และการบริหารงาน e-Commerce อย่างมีประสิทธิภาพ"
- สอน "วิธีการจัดการองค์กรแบบ Paperless/Digital อย่างมีประสิทธิภาพด้วยระบบ e-Business"
- แจก "รหัสผ่านการเข้าใช้งานระบบบริหารงานจำลองแบบ e-Business บนระบบ Internet จริง"
หลักสูตรและกำหนดการ
Day One : วันที่ 6 พฤศจิกายน 2544
08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียน
09.01 - 10.00 น. Episode I : The Real e-Business Concept & Revolution of e-Commerce Management
- กลไกพื้นฐานของ e-Commerce และความสัมพันธ์เชิงกลยุทธ์ของ e-Business
- หลักการที่แท้จริงของ e-Business คืออะไร?
- ประโยชน์เชิงกลยุทธ์ของการบริหารแบบ e-Business
- การเพิ่มประสิทธิภาพ e-Commerce ด้วยการจัดการแบบ e-Business
- e-Commerce & e-Business Models กับการประยุกต์ใช้งานในปัจจุบัน
- บทบาทของ e-Business ในยุคการค้า Paperless ปี ค.ศ. 2005 ตามข้อตกลงของ APEC
10.01 - 10.10 น. พักรับประทานอาหารว่าง
10.11 - 11.10 น. Episode II : B2B2C2C : The New Effectiveness of e-Commerce Management Network
- หมดยุคการค้า e-Commerce แบบขายหน้าร้าน (Storefront) อย่างเดียว
- B2B จุดเริ่มต้นระบบการค้า e-Commerce แบบต่อเนื่องอัตโนมัติ
- กลยุทธ์การเชื่อมโยงเครือข่าย Internet สู่ Intranet และต่อเนื่องสู่ Extranet
- การบริหารระบบเครือข่ายด้วยระบบ e-Business
- กรณีศึกษาการค้าเครือข่ายต่อเนื่องแบบ B2B2C2C
11.11 - 12.10 น. Episode III: e-Supply Chain : What is in The Real Practical Business?
- หลักการ และกลไกของ e-Supply Chain
- รูปแบบการประยุกต์ใช้ e-Supply Chain ในโลกการค้าจริง
- คู่ค้ากับการพัฒนาระบบ e-Supply Chain อย่างมีประสิทธิผล
- Key Success Factors ของการบริหารระบบ e-Supply Chain
- ปัญหา-อุปสรรค และทางแก้ในการประยุกต์ใช้งาน e-Supply Chain
12.11 - 13.10 น. พักรับประทานอาหารเที่ยง
13.11 - 14.10 น. Episode IV: e-Marketplace/Exchange Mechanism & e-Trade Opportunities
- หลักการและกลไกหลักของ e-Marketplace/Exchange
- ประโยชน์และโอกาสมหาศาลจาก e-Marketplace/Exchange
- กลยุทธ์การสร้างเครือข่าย e-Marketplace/Exchange ภายในแต่ละอุตสาหกรรม
- ข้อควรระวังในการเข้าสู่ระบบการค้า e-Marketplace/Exchange
- กรณีศึกษาของ e-Marketplace/Exchange ของไทยและต่างประเทศ
14.11 - 15.10 น. Episode V : e-Procurement Center : Price War Creation or Purchasing Cost Reduction? - หลักการ และกลไกของการจัดซื้อ Online แบบ e-Procurement
- กุญแจแห่งความสำเร็จของการบริหาร และการใช้งานระบบ e-Procurement
- อำนาจต่อรองระหว่างผู้ซื้อ กับ ผู้ขายที่เปลี่ยนไปในศูนย์จัดซื้อรวมแบบ Online
- e-Procurement ของภาครัฐ กับความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ
- กรณีศึกษาของ e-Procurement ของไทย และ/หรือ ต่างประเทศ
15.11 - 15.20 น. พักรับประทานอาหารว่าง
15.21 - 16.20 น. Episode VI : e-Banking : The Essential Mechanism of e-Commerce & e-Business
- สถานการณ์ e-Banking ในปัจจุบันของไทย และของโลก
- รูปแบบ และการให้บริการของ e-Banking บนเว็บ
- กลไก และระบบรักษาความปลอดภัยของระบบ e-Banking
- ข้อควรระวัง และการใช้ระบบเครือข่าย e-Banking อย่างมีประสิทธิภาพ
- การสร้างวินัยทางการเงินขององค์กรธุรกิจด้วยระบบ e-Banking
- กรณีศึกษาของการใช้ระบบ e-Banking ของไทย และ/หรือ ต่างประเทศ
16.21 - 16.45 น. ถาม - ตอบ และให้คำปรึกษาเพิ่มเติม
Day Two : วันที่ 7 พฤศจิกายน 2544
09.01 - 10.00 น. Episode VII : e-Government Management & Its Effects on Business Sectors
- ทิศทางการพัฒนาโครงการ e-Thailand และ e-Government ของรัฐบาล
- กลไก และหลักการของการบริหารงานแบบ Paperless ของภาครัฐ
- การวางโครงสร้าง และพัฒนาเครือข่ายฐานข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐ
- การบริหารงบประมาณ และระบบจัดเก็บภาษีใหม่ภายใต้โครงการ e-Government
- โอกาสและภัยคุกคามต่อภาคเอกชน จากโครงการ e-Government 10.01 - 10.10 น. พักรับประทานอาหารว่าง
10.11 - 11.10 น. Episode VIII : e-Marketing & e-CRM: The New Concept of Marketing & Customer Management
- คุณลักษณะที่แตกต่างระหว่างตลาดการค้าปกติกับตลาดการค้าบนเว็บ
- กลยุทธ์การตลาดยุคใหม่ แบบ e-Marketing
- การจัดสร้างและจัดเก็บข้อมูลเพื่อบริหารลูกค้าสัมพันธ์แบบ e-CRM
- การประยุกต์ใช้งาน e-CRM ในเชิงกลยุทธ์
- กรณีศึกษาของกลยุทธ์ e-Marketing & e-CRM
11.11 - 12.10 น. Episode IX : New Trend - New Technology of e-Commerce & e-Business
- WebTV & iDTV กับความเป็นไปได้ในอนาคต
- Mobile Commerce (WAP vs. iMode) กับโอกาสการค้ามหาศาลบนโทรศัพท์มือถือ
- เข้าสู่ยุคการค้าแบบไร้สาย (Wireless) ผ่าน e-Book, Pocket PC, Palm, …
- ชื่อโดเมนใหม่ .Biz, .Info, .Coop และ Multilingual Domain กับผลกระทบเชิงยุทธ์
12.11 - 13.10 น. พักรับประทานอาหารเที่ยง
13.11 - 14.10 น. Episode X: Virtual Private Network (VPN) & The New Concept of Security System
for e-Commerce & e-Business
- หลักการทำงานและกลไกของ VPN เพื่อสร้างเครือข่ายการค้า Online
- พัฒนาการระบบรักษาความปลอดภัย และระบบ VPN
- เครือข่ายเฉพาะ กับการประยุกต์ใช้งาน VPN ที่มีประสิทธิภาพ
- ข้อควรระวังในการใช้งานระบบเครือข่ายการค้าเฉพาะกลุ่ม และเครือข่ายสาธารณะ
- กรณีศึกษาการประยุกต์ใช้งาน VPN ในประเทศไทย และต่างประเทศ
14.11 - 15.10 น. Episode XI : Application Service Provider (ASP) & Internet Data Center (IDC) :
The Origin of the Real Virtual Office
- รูปแบบการให้บริการเช่าระบบหรือโปรแกรมบนเว็บ (ASP)
- ความสำคัญของศูนย์ข้อมูลบนเครือข่าย Internet (IDC)
- ปัญหา และอุปสรรคของการใช้บริการ ASP และ/หรือ IDC
- ปัจจัยในการพิจารณาเลือกใช้ผู้ให้บริการ ASP และ/หรือ IDC
- กรณีศึกษาการให้ และ/หรือ การใช้บริการ ASP และ IDC
15.11 - 15.20 น. พักรับประทานอาหารว่าง
15.21 - 16.20 น. Episode XII: e-Government, e-Commerce & e-Business Integration Strategies
to Your Business Success
- แนวโน้มการเชื่อมโยงเครือข่ายการค้าระหว่างประเทศหลังปี ค.ศ. 2005
- แนวโน้มการเชื่อมโยงระบบการค้าภาคเอกชน กับระบบ e-Government ของภาครัฐ
- รูปแบบ และระบบการค้ารัฐ-เอกชนแบบ C2G และ B2G หรือ G2B ที่เป็นไปได้
- กลยุทธ์การปรับตัวของภาคเอกชนภายใต้ระบบ e-Government
16.21 - 16.45 น. ถาม - ตอบ และให้คำปรึกษาเพิ่มเติม
เหมาะสำหรับ
- ผู้บริหารระดับสูง - ระดับกลางขององค์กร ( ที่ต้องการปรับ Vision สู่ระบบการค้าแบบ e-Business )- ผู้บริหาร ด้าน IT และ CIO ทั้งภาครัฐ และเอกชน ( ที่ต้องวางแผน และลงมือปฏิบัติการด้าน e-Business )- ผู้จัดการฝ่ายการตลาด ฝ่ายขาย และฝ่ายส่งออก ( ที่ต้องการค้าผ่าน Internet ไปทั่วโลกอย่างเป็นระบบ )- ผู้จัดการฝ่ายผลิต จัดซื้อ การเงิน และบัญชี ( ที่ต้องเข้าสู่ระบบ e-Supply Chain, e-Banking, e-Management )- ที่ปรึกษาทางธุรกิจ และนักวางแผนกลยุทธ์ ( ที่ต้องการสร้างความได้เปรียบในเชิงการแข่งขันทางการค้า )
จัดสัมมนาโดย
ศูนย์พัฒนาอินเตอร์เน็ต และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย (TIEDC) ( ภายใต้การดำเนินงานของ Maxcyber Division , Max Savings (Thailand) Co., Ltd. )
นำทีมบรรยายโดย
นายวัชรพงศ์ ยะไวทย์ - กรรมการผู้จัดการ Max Savings (Thailand) Co., Ltd.
- ที่ปรึกษา และคณะทำงานด้าน e-Commerce ของ ททท. และกระทรวงพาณิชย์
- ที่ปรึกษาด้านการส่งออกและการตลาดระหว่างประเทศ- วิทยากร-อาจารย์พิเศษ ด้าน e-Commerce และ e-Business และวิทยากรผู้มีประสบการณ์ด้าน e-Commerce & e-Business จากองค์กรชั้นนำของไทย
อัตราค่าสัมมนา
ท่านละ 6,500.- บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม ค่าอาหารว่าง และอาหารกลางวันแล้ว) รับเพียงรุ่นละ 50 ที่นั่งเท่านั้น
(ทั้งนี้ เพื่อประสิทธิภาพและผล ในการถ่ายทอดวิทยาการ )
สิทธิพิเศษ
- ผู้ที่สมัครสัมมนา และชำระเงินภายใน วันที่ 10 ตุลาคมศกนี้ จักได้รับส่วนลด 10%
การชำระเงิน
โปรดโอนเงินเข้า บัญชีออมทรัพย์ ในนาม "บริษัท แมกซ์ เซฟวิ่งส์ (ประเทศไทย) จำกัด" เลขที่ 133-444-3239 ธนาคารกรุงเทพ สาขาตรอกจันทน์ หรือชำระเป็นเช็คในนามบริษัท ฯ หรือสามารถสมัครและชำระเงินด้วยบัตรเครดิตได้ที่ www.maxcyber.com/seminar-- จบ--
-อน-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ