“การป้องกันการทุจริตคอร์รัปชัน”

ข่าวทั่วไป Monday February 15, 2016 11:05 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--15 ก.พ.--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ศูนย์สำรวจความคิดเห็น "นิด้าโพล" สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) และคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง "การป้องกันการทุจริตคอร์รัปชัน" ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 8 – 9 กุมภาพันธ์ 2559 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป ทั่วประเทศ กระจายทุกระดับการศึกษาและอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,250 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการกำหนดกลไกการป้องกันการทุจริตคอร์รัปชันของนักการเมืองทุกระดับลงในร่างรัฐธรรมนูญ การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ "นิด้าโพล" ด้วยความน่าจะเป็นแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) โดยแบ่งภูมิภาคออกเป็น 5 ภูมิภาค จากนั้นในแต่ละภาคสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ (Systematic Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่า ความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0 และมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error: S.E.) ไม่เกิน 1.4 จากการสำรวจ เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อการกำหนดในรัฐธรรมนูญว่า "ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคนใดทำให้การเลือกตั้งไม่สุจริตและไม่เป็นธรรม ควรตัดสิทธิการลงสมัครรับเลือกตั้งตลอดชีวิต" พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 82.88 ระบุว่า เห็นด้วย รองลงมา ร้อยละ 13.20 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 2.40 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ เห็นด้วยในการตัดสิทธิการลงรับสมัครรับเลือกตั้ง แต่ควรตัดสิทธิเป็นระยะเวลา 3 – 10 ปี ขึ้นอยู่กับเจตนาและความร้ายแรง และร้อยละ 1.52 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ ด้านความคิดเห็นของประชาชนต่อการกำหนดในรัฐธรรมนูญว่า "รัฐมนตรีคนใดที่ศาลตัดสินว่ามีความผิด ให้จำคุกหรือให้รอ ลงอาญา (เว้นแต่คดีเล็กน้อย) ต้องให้พ้นจากตำแหน่งทันที ไม่ต้องรอศาลสุดท้าย (ชั้นศาลฎีกา)" พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 87.68 ระบุว่า เห็นด้วย รองลงมา ร้อยละ 10.64 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 0.32 ระบุว่าอื่น ๆ ได้แก่ ไม่เชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมการตัดสินของศาล และร้อยละ 1.36 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ สำหรับความคิดเห็นของประชาชนต่อการกำหนดในรัฐธรรมนูญว่า "ผู้ที่ถูกศาลตัดสินว่าผิดเพราะทำการทุจริตต่อหน้าที่หรือร่ำรวยผิดปกติ ควรถูกห้ามลงสมัครรับเลือกตั้งตลอดชีวิต" พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 86.00 ระบุว่า เห็นด้วย รองลงมา ร้อยละ 12.24 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 0.80 ระบุว่าอื่น ๆ ได้แก่ ควรตัดสิทธิการลงรับสมัครเป็นระยะเวลา 3 – 10 ปี และร้อยละ 0.96 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อการกำหนดในรัฐธรรมนูญว่า "ส.ส. หรือ ส.ว. คนใดหรือกลุ่มใดแปรญัตติ นำงบประมาณไปใช้เพื่อประโยชน์ทั้งทางตรง และทางอ้อมแก่ตนเองและพวกพ้องต้องพ้นจากตำแหน่ง และถูกตัดสิทธิลงสมัครรับเลือกตั้งในทุกระดับตลอดไป" พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 92.72 ระบุว่า เห็นด้วย รองลงมา ร้อยละ 6.40 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 0.88 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ ด้านความคิดเห็นของประชาชนต่อการกำหนดในรัฐธรรมนูญว่า "รัฐมนตรีคนใดมีคำสั่งให้จัดทำแผนงานโครงการ อันเป็นการนำงบประมาณไปใช้เพื่อประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและพวกพ้อง รัฐมนตรีผู้นั้นต้องพ้นจากตำแหน่งและต้องคืนเงินต้นพร้อมดอกเบี้ย" พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 92.48 ระบุว่า เห็นด้วย รองลงมา ร้อยละ 5.20 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 0.32 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ ควรตรวจสอบให้แน่ชัดว่าเป็นโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนร่วมอย่างแท้จริงหรือไม่ และหากมีความผิดจริงควรลงโทษโดยให้พ้นจากตำแหน่งเพียงอย่างเดียว และร้อยละ 2.00 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อการกำหนดในรัฐธรรมนูญว่า "ข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐผู้ใดไม่ได้คัดค้านเป็นลายลักษณ์อักษรต่อคำสั่งของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองให้จัดทำแผนงานโครงการอันเป็นการนำงบประมาณไปใช้เพื่อประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและพวกพ้องข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐผู้นั้น ต้องถูกลงโทษทางวินัยและต้องคืนเงินต้นพร้อมดอกเบี้ย" พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 84.00 ระบุว่า เห็นด้วย รองลงมา ร้อยละ 12.00 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 0.56 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ ควรพิจารณาตามความผิด และหากมีความผิดจริงควรถูกลงโทษทางวินัยเพียงอย่างเดียวโดยไม่ต้องคืนเงินต้นพร้อมดอกเบี้ย และร้อยละ 3.44 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 8.72 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 25.36 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑลและภาคกลาง ร้อยละ 18.16 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.52 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 14.24 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่าง ร้อยละ 56.56 เป็นเพศชาย ร้อยละ 43.36 เป็นเพศหญิง และร้อยละ 0.08 เป็นเพศทางเลือก ตัวอย่าง ร้อยละ 8.40 มีอายุ 18 – 25 ปี ร้อยละ 17.04 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 23.44 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 35.44 มีอายุ 46 – 59 ปี ร้อยละ 13.52 มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป และร้อยละ 2.16 ไม่ระบุอายุ ตัวอย่าง ร้อยละ 95.20 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 2.00 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 0.64 นับถือศาสนาคริสต์และอื่น ๆ และร้อยละ 2.16 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่าง ร้อยละ 20.64 สถานภาพโสด ตัวอย่างร้อยละ 75.04 สมรสแล้ว ตัวอย่างร้อยละ 2.00 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 2.32 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส ตัวอย่างร้อยละ 26.16 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 30.32 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 8.88 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 25.92 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 5.84 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 2.88 ไม่ระบุการศึกษา ตัวอย่างร้อยละ 13.68 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 13.20 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 22.96 ประกอบอาชีพเจ้าของ ธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 14.64 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 17.52 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 11.76 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 3.28 เป็นนักเรียน/นักศึกษา และร้อยละ 2.96 ไม่ระบุอาชีพ ตัวอย่างร้อยละ 12.96 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 17.76 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 34.80 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 13.44 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 5.44 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 – 40,000 บาท ร้อยละ 7.84 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมากกว่า 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 7.76 ไม่ระบุรายได้

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ