กรุงเทพฯ--15 ก.พ.--สถาบันธรรมวรรณศิลป์
การอบรมหลักสูตร เขียนเปลี่ยนชีวิต กึ่งออนไลน์ รุ่นที่ ๑๒ ประจำปี ๒๕๕๙
"เขียน = ปลดปล่อยชีวิต"
เขียนเพื่อเยียวยา เขียนเพื่อเข้าใจและเติมเต็มชีวิต
มีบาดแผลและรูรั่วอยู่ในหัวใจเรา แต่หมอหัวใจอยู่ก็ข้างในหัวใจด้วยเช่นกัน การเขียนบันทึกเชิงกระบวนการทางจิตวิทยานี้จะพาเรากลับมาพบกับหมอที่อยู่ข้างใน มือแห่งการเยียวยาเหนือหน้ากระดาษ การเขียนชนิดนี้มิใช่การเขียนเพื่อบอกเล่าหรือพัฒนาการคิด แต่เขียนเพื่อดูแลและเข้าใจชีวิตของเรา
ชีวิตประจำวันเราต้องสื่อสารกับผู้คนมากมาย ต้องเดินทางทำงาน ใช้ชีวิต เกี่ยวข้องกับหัวใจหลากหลายดวง แต่น้อยครั้งนักเราจะมีโอกาสสงบฟังเสียงหัวใจและร่างกายเราอย่างจริงจัง เราเที่ยวค้นหาการพักผ่อนด้วยวิธีการต่างๆ มากมาย เหตุใดเรายิ่งอ่อนล้าลง ขณะเรากำลังมุ่งหมายความสำเร็จของชีวิต ไยความสัมพันธ์กลับเปลี่ยวเหงา แตกแยก หรือไม่อาจเติมเต็มหัวใจกัน
หลักสูตรเขียนเปลี่ยนชีวิต เป็นการแนะนำ ชักชวน ร่วมบันทึก และแลกเปลี่ยนการเขียนรูปแบบใหม่ที่ไม่ต้องใช้ทักษะด้านการเขียนหรือการสื่อสาร ใช้เพียงหัวใจ สองมือ หนึ่งร่างกาย สมุดปากกา การแลกเปลี่ยนทางใกล้และไกล เปิดมิติความปัญญาและการเยียวยาด้วยตัวเราและเพื่อน
โดย สถาบันธรรมวรรณศิลป์ ร่วมกับ
คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฆ (ประสานมิตร)
เปิดรับสมัครแล้ว กรอกใบสมัครได้ที่
http://goo.gl/forms/3nZcTNdEUZ
รูปแบบการอบรม
มีให้เลือก ๓ รูปแบบ ได้แก่
การอบรมในห้อง Workshop ๒ วัน
การอบรมกึ่งออนไลน์ ๕ สัปดาห์
การอบรมเต็มที่ทั้งสองรูปแบบ
เรียนกึ่งออนไลน์
การเรียนผ่านทางไกล หรือรูปแบบที่สองเป็นลักษณะพิเศษของการอบรม เป็นนวัตกรรมของการเรียนรู้ทางจิตปัญญาที่ประสานการใช้ชีวิตประจำวันร่วมกับการอบรม กล่าวคือ เป็นการเรียนรู้ผ่านของจริง ผ่านชีวิตจริงนอกห้องเรียน ให้เราได้ฝึกทักษะชีวิตพื้นฐานไปพร้อมกับการอบรมทางไกล เช่น การจัดการตนเอง การแบ่งเวลา และสมาธิ
วิธีการเรียนกึ่งออนไลน์คือ เราทำกิจกรรมผ่านกระบวนการบันทึกซึ่งครูจะร่วมแนะนำขั้นตอน โดยให้เราเลือกหัวข้อหรือประเด็นที่สนใจ ลงมือทำบนหน้ากระดาษสมุดของตนเอง แล้วแชร์ภาพบันทึกและการสะท้อนความรู้สึก ความคิด และบทเรียน ผ่านกลุ่มอีเมล์หรือกลุ่มเฟสบุ๊ค การเรียนกึ่งออนไลน์มีลักษณะเด่นคือเราได้ลงลึกระดับบุคคลมากกว่าในห้องเรียน
เราให้เวลา ๕ สัปดาห์สำหรับการเรียนรู้ทางไกล หมายถึงใน ๕ สัปดาห์นี้เราจะลงมือทำและร่วมแลกเปลี่ยนมากน้อยเพียงใดก็ได้ ตามความสะดวกของตน โดยที่ผมจะคอยติดตามและรับฟังตลอดทั้ง ๕ สัปดาห์ และหากช่วงใดไม่ว่างก็จะขยายเวลาให้ตามความเหมาะสม ถือเป็นการเดินทางร่วมกันระยะยาว และหลายท่านที่ร่วมเรียนก็แวะเวียนเรียนซ้ำ บันทึกจาริกรอยเท้าแห่งตัวตนผ่านกาลเวลา
หัวข้อเนื้อหาหลัก
ของการอบรม Workshop ๒ วัน
โดยจะมีการปรับเปลี่ยนกระบวนการตามลักษณะและประเด็นที่สนใจของผู้เรียน
ทำความรู้จักกันผ่านมุมมองการเขียน
เทคนิคพื้นฐานเขียนไม่หยุดปากกา และ คลัสเตอร์
ศีล สมาธิ ปัญญา กับกระบวนการเขียน
สำรวจความต้องการและความกลัวเบื้องหลังชีวิต
ผูกปมมัดเชือก / ความรู้สึกต่ออุปสรรคภายใน
หยินหยางชีวิต
ความสำคัญของการดูแลความทุกข์ในตัวเรา
ความรู้สึก/ความต้องการเบื้องหลัง
การยอมรับและรักตนเอง
ฉันโอบอุ้ม ฉันหล่อเลี้ยง ฉันรับฟัง ฉันเกื้อกูล
เขียนดูแลความทุกข์ของชีวิต
อ่านเชื่อมโยงไพ่สัญญาณชีวิต
สนทนากับร่างกาย
ชีวิตเดินในความมืด และ ใคร่ครวญความตาย
แก่นสารในความใฝ่ฝัน
แง่งามของอุปสรรค
คลี่คลายเชือกปม เขียนบทกวี
ความแตกต่างของการเรียน
แบบในห้องและกึ่งออนไลน์
การอบรมในห้อง Workshop ๒ วัน จะมีกระบวนการเรียนรู้เพื่อปรับความเชื่อความเข้าใจต่อการเขียน หากผู้เรียนซึ่งต้องการความเชื่อมั่นในการเรียนรู้ผ่านการเขียนมากขึ้นก็จะได้รับมุมมองใหม่ เพราะได้หันย้อนทบทวนความรู้สึกและความเชื่อเดิมที่มีต่อการเขียน ซึ่จะช่วยให้ก้าวเดินบนเส้นทางการเรียนรู้ด้วยใจเปิดกว้าง อีกทั้งการเรียนรู้ในห้องยังมีกระบวนการกิจกรรมการเขียนและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องซึ่งพากลับมาดูแลหัวใจ ทบทวนสมดุลชีวิต ร่วมคิดร่วมแลกเปลี่ยน โดยมีการน้อมนำชักชวนด้วยครูอย่างใกล้ชิด ผ่านบทนำภาวนาเปิดใจ และพลังจากกลุ่มผู้เรียน
สำหรับการอบรมกึ่งออนไลน์ ผู้เรียนจะได้ลงมือปฏิบัติ เรียนรู้จากชีวิตจริง และผ่านการฝึกทักษะที่เกี่ยวข้องไปในตัว การเรียนชนิดนี้เราสามารถลงมือทำเมื่อใดก็ได้ จำนวนกี่ครั้งก็ได้ใน ๕ สัปดาห์ โดยได้ลงลึกระดับบุคคลผ่านการให้คำปรึกษาจากครูและผู้ช่วยสอนมากกว่าในห้องเรียน ผ่านหัวข้อกระบวนการที่มีให้เลือกมากกว่า ๕๐ กระบวนการ
สำหรับรายละเอียดกระบวนการเรียนรู้ของหลักสูตร
"เขียนเปลี่ยนชีวิต" สามารถอ่านได้ตามลิงค์ดังนี้
http://youngawakening.org/write4life/?page_id=1380
เวลาและสถานที่
การอบรมในห้อง ๒ วัน : วันที่ ๑๒ ถึง ๑๓ มีนาคม ๒๕๕๙
ณ ห้อง ณ ห้อง ๒๖๒ ชั้น ๖ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (ประสานมิตร)
ลงทะเบียนเวลา ๘.๓๐ น. เริ่มการอบรม ๙.๐๐ น.
การอบรมกึ่งออนไลน์ : เริ่มต้นวันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๕๙ (๕ สัปดาห์)
ผ่านการกลุ่มอีเมล์/กลุ่มเฟสบุ๊ค โดยเริ่มต้นและลงมือทำตามจังหวะเวลาของตน
ค่าใช้จ่ายในการอบรม
บริจาค ๕๐๐ ถึง ๒,๑๐๐ บาท
ตามกำลังทรัพย์ ทุกรูปแบบการอบรม
ประวัติ / คุณวุฒิ / ของวิทยากร
อาจารย์ อนุรักษ์ เม่นหรุ่ม C.Ht (ครูโอเล่)
ผู้สอนในหลักสูตรของศูนย์การเขียนเปลี่ยนชีวิต และผู้อำนวยการสถาบันธรรมวรรณศิลป์ นักเขียนบำบัด โปรแกรมเมอร์ และบรรณาธิการบางรูปเล่มของนักเขียนที่รู้จักส่วนตัว
มีความถนัดด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ ผ่านกิจกรรมการเขียนเชิงกระบวนการ (Process Writing / Active Journal)และกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่อง ด้านจิตไร้สำนึก จิตวิทยาเชิงกระบวนการ ตัวตนที่หลากหลาย ปัญญาของร่างกาย การบำบัดเยียวยา ปมภายใน การบ่มเพาะภาวะด้านใน การสั่งจิตย้อนวัยและอดีตชาติ เป็นต้น บนพื้นฐานการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมและกระบวนทัศน์ใหม่
เป็นผู้เรียบเรียงและพัฒนา Process Writing / Active Journal สำหรับกระบวนการเรียนรู้และการให้คำปรึกษา
ผู้เขียนหนังสือ "เขียนเยียวยาชีวิต", "หนึ่งคิด ลิขิตใจ" และหนังสือเล่มใหม่ล่าสุด "เขียนดั่งเป็นกระจก"
ผู้แปลหนังสือ "ดอกไม้และความหวัง" ฉบับแรกที่ได้รับลิขสิทธิ์ถูกต้องจากผู้เขียน ทริน่า เพาลัส
รางวัล สันติวิถี-วิถีสันติ วาระ ๓๐ ปี ๖ ตุลาฯ
วิธีการสมัคร เขียน = ปลดปล่อยชีวิต
โดย สถาบันธรรมวรรณศิลป์ ร่วมกับ
คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฆ (ประสานมิตร)
๑. กรอกข้อมูลใบสมัครได้ที่ http://goo.gl/forms/3nZcTNdEUZ
หรือส่งอีเมล์มาทาง dhammaliterary@gmail.com
โดยมีรายละเอียดดังนี้
ต้องการสมัครเข้าร่วมการอบรมแบบใด
คำนำหน้า / ชื่อ / นามสกุล / ชื่อเล่น
อาชีพการงาน
เบอร์โทรศัพท์ / อีเมล์ / เฟสบุ๊ค
ที่อยู่ สำหรับจัดส่งใบประกาศหากอบรมสำเร็จหลักสูตรกึ่งออนไลน์
เหตุผลในการสมัคร / ประเด็นที่ต้องการเรียนรู้ ระบุโดยละเอียด
๒. รอข้อความตอบรับ ยืนยันการพิจารณา
๓. โอนค่าสมัครผ่านบัญชีชื่อ "อนุรักษ์ เม่นหรุ่ม"
บัญชีธนาคาร ไทยพาณิชย์ สาขาแยกศรีวรา เลขที่ 140-256762-0 หรือ
บัญชีธนาคาร กสิกรไทย สาขาดิ อเวนิว รัชโยธิน เลขที่ 627-2-20689-7
๔. แจ้งยืนยันการโอนค่าใช้จ่ายพร้อมแนบหลักฐาน หรือระบุวันเวลาให้ถูกต้อง
๕. รอการตอบกลับเพื่อยืนยันการลงทะเบียน และอีเมล์นัดหมาย
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม
อีเมล์ dhammaliterary@gmail.com
เฟสบุ๊ค www.facebook.com/khianpianchiwit
เบอร์โทรศัพท์ : ๐๘๖-๓๖๓๙๗๕๑ , ๐๘๓-๑๓๓๙๙๖๘