กรุงเทพฯ--18 ก.พ.--
สถาบัน คุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการผลักดันนโยบายยกระดับความสามารถด้านภาษาอังกฤษของ บุคลากรทุกกลุ่ม ด้วยการจัดทำมาตรฐานความสามารถด้านภาษาอังกฤษ เพื่อเป็นมาตรฐานกลางที่สถาบันการศึกษาและหน่วยงานทดสอบสามารถใช้จัดทำหลัก สูตรการเรียนการสอนและพัฒนาการประเมินสำหรับนักเรียน นักศึกษา ตลอดจนจัดระดับความสามารถด้านภาษาอังกฤษสำหรับวิชาชีพ เพื่อเพิ่มศักยภาพคนไทยในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
นาย แพทย์ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า "การยกระดับความสามารถด้านภาษาอังกฤษเป็นนโยบายสำคัญของกระทรวงศึกษาธิการ ที่จะต้องเร่ง ดำเนินการให้เกิดผลสำเร็จที่เป็นรูปธรรมและจับต้องได้โดยเร็ว โดยตั้งเป้าหมายหน้าตาความสำเร็จของความสามารถด้านภาษาอังกฤษที่อยู่บน มาตรฐาน ซึ่งมีตัวประเมินเป็นตัวกำหนด
การ จัดทำมาตรฐานความสามารถด้านภาษาอังกฤษของสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จะเป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนาการเรียนการสอนและการประเมินภาษาอังกฤษของนัก เรียน นักศึกษาทุกหลักสูตร ทุกระดับชั้น เนื่องจากมาตรฐานความสามารถด้านภาษาอังกฤษจะกำหนดว่านักเรียนระดับชั้นนี้ ควรใช้ภาษาอังกฤษทำอะไรได้บ้าง เช่น สามารถฟังอะไรได้เข้าใจระดับไหน พูดเกี่ยวกับอะไรในลักษณะไหน รู้คำศัพท์ที่พบเจอบ่อยกี่คำ เป็นต้น และเพื่อให้ทำสิ่งเหล่านั้นได้นักเรียน นักศึกษาควรจะเรียนอะไรบ้าง เพราะในแง่ปฏิบัติแล้วหลักสูตรไม่สามารถกำหนดให้นักเรียนเรียนทุกอย่างได้ มาตรฐานความสามารถด้านภาษาอังกฤษจึงเป็นเกณฑ์สำหรับการจัดทำหลักสูตรสำหรับ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา"
แนวทางการจัดทำมาตรฐานความสามารถด้านภาษาอังกฤษ
พลเอกเลิศรัตน์ รัตนวานิช ประธานกรรมการบริหารสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพกล่าวว่า "สถาบัน คุณวุฒิวิชาชีพ ในฐานะหน่วยงานที่มีพันธกิจด้านการจัดทำมาตรฐานสมรรถนะ ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดทำมาตรฐานความสามารถด้านภาษาอังกฤษ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการออกแบบหลักสูตรการเรียนการสอน ภาษาอังกฤษที่มุ่งเน้นการสื่อสารสำหรับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้น ฐาน สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ตลอดจนใช้เป็นเกณฑ์ในการจัดทำข้อสอบกลาง อีกทั้งเป็นเครื่องบ่งชี้ระดับความสามารถด้านภาษาอังกฤษที่บุคคลในอาชีพ ต่างๆพึงมีสำหรับเป็นข้อมูลอ้างอิงในการคัดเลือกบุคลากรเข้าทำงาน การพัฒนากำลังคนในสายอาชีพ และการจัดทำหลักสูตรอาชีวศึกษา"
สถาบัน คุณวุฒิวิชาชีพฯ มุ่งเน้นให้มาตรฐานดังกล่าวเป็นมาตรฐานกลางของประเทศ ที่อ้างอิงได้ในระดับสากล โดยได้พัฒนามาตรฐานความสามารถด้านภาษาอังกฤษของคนไทยขึ้นจากกรอบอ้างอิงความ สามารถด้านภาษาของยุโรป ซึ่งเป็นต้นแบบที่ประเทศจำนวนมาก เช่น ญี่ปุ่น ไต้หวัน และเวียดนาม นำไปปรับใช้ และสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งได้ประกาศใช้ Common European Framework of Reference for Languages หรือ CEFR เป็นกรอบความคิดหลักในการจัด
การเรียนการสอนภาษาอังกฤษของประเทศไทย ทั้งในการออกแบบ หลักสูตร การพัฒนาการเรียนการสอน การวัดผล รวมถึง การ พัฒนาครู อีกทั้งปรับจุดเน้นการเรียนการสอนภาษาอังกฤษให้มุ่งเน้นการสื่อสาร เพื่อให้นำภาษาอังกฤษไปใช้ในชีวิตประจำวันและเข้าสู่โลกของการทำงานได้จริง
ด้านนายวีระชัย ศรีขจร ผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ กล่าว ว่า "มาตรฐานความสามารถด้านภาษาอังกฤษที่เราจัดทำขึ้นแม้จะอ้างอิงกรอบฯ สากล โดยเทียบเคียงกับระดับความสามารถด้านภาษาอังกฤษทั้งของยุโรปและอเมริกา แต่มีการปรับให้เข้ากับวัฒนธรรมและบริบทการเรียน การใช้ภาษาอังกฤษของคนไทย เพื่อให้เป็นมาตรฐานกลางของประเทศ ผลลัพธ์ที่ได้จากมาตรฐานความสามารถด้านภาษาอังกฤษ คือ เมื่อเราเห็นคุณวุฒิความสามารถด้านภาษาอังกฤษบนใบรับรองการจบการศึกษา เราจะสามารถบอกได้ว่านักเรียน นักศึกษาสามารถใช้ภาษาอังกฤษฟัง พูด อ่านและเขียน ได้ในระดับไหน และคุณวุฒิระดับนั้นเทียบเคียงได้กับระดับใดตามกรอบอ้างอิงฯสากล สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพพร้อมสนับสนุนให้วิสัยทัศน์ของกระทรวงศึกษาธิการที่ ตั้งเป้าหมายความสำเร็จของความสามารถด้านภาษาอังกฤษบนมาตรฐานที่มีเกณฑ์ ประเมินเป็นเครื่องมือในการกำหนด วัดผลที่เป็นจริงและใช้การได้"
"สถาบัน คุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) ได้ตระหนักถึงความจำเป็นในการใช้ภาษาอังกฤษของหลายสาขาวิชาชีพและของธุรกิจ ขนาดใหญ่ อาทิ บริษัทปูนซิเมนต์ไทย ประกาศว่าจะใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักในการทำงานภายในปี ๒๕๖๑ ทั้งนี้
การ เข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและการเติบโตทางการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวทำให้ความสามารถด้านภาษาอังกฤษเปลี่ยนจากความสามารถพิเศษ เป็นความจำเป็นของผู้สมัครงาน จึงได้ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดให้มีการบ่งชี้ระดับมาตรฐานความสามารถด้านภาษาอังกฤษของ ๔๐ สาขาอาชีพ ตั้งแต่ผู้ประกอบอาหารไทย ซ่อมบำรุงเครื่องบิน ครูสอนภาษา ตลอดจนล่าม โดยจะใช้การสำรวจ การประชาพิเคราะห์ ร่วมระดมข้อคิดเห็นกับกลุ่มผู้ประกอบอาชีพ และกระบวนการทางสถิติในการจัดระดับให้เชื่อถือได้" นายวีระชัย กล่าวเพิ่มเติม
เพื่อให้นโยบายยกระดับความสามารถด้านภาษาอังกฤษสัมฤทธิ์ผล สถาบันฯพร้อมทำงานร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิด้านหลักสูตร การทดสอบประเมินผล และกลุ่มวิชาชีพ เพื่อให้มาตรฐานความสามารถด้านภาษาอังกฤษเป็นมาตรฐานกลางที่ทุกกลุ่มนำไปใช้ เป็นเกณฑ์ได้จริง อีกทั้งยังพร้อมร่วมมือขับเคลื่อนมาตรฐานฯดังกล่าวกับ สพฐ. สกอ. และ สอศ. และพัฒนาสมรรถนะผู้สอนภาษาอังกฤษด้วยมาตรฐานสมรรถนะผู้สอนภาษาอังกฤษ เพื่อเพิ่มโอกาสให้กับบุคลากรและเพิ่มศักยภาพให้กับธุรกิจ อันเป็นปัจจัยหนึ่งที่สนับสนุนขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ รวมถึงรองรับการเข้าร่วมเป็นสมาชิกของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่ใช้ภาษา อังกฤษเป็นภาษากลาง