ความคิดเห็นของประชาชนต่อผลกระทบจาก“สังคมก้มหน้า”

ข่าวทั่วไป Monday February 29, 2016 09:12 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--29 ก.พ.--นิด้าโพล สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 1-12 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ร่วมกับ ศูนย์สำรวจความคิดเห็น "นิด้าโพล" สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง "ความคิดเห็นของประชาชนต่อผลกระทบจาก"สังคมก้มหน้า"" ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 8 - 12 กุมภาพันธ์ 2559 จากประชาชนทั่วประเทศ กระจายทั่วทุกภูมิภาค รวมทั้งสิ้น จำนวน 4,819 หน่วยตัวอย่าง ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Sampling) ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีลงพื้นที่ภาคสนาม โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0 และมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error : S.E.) ไม่เกิน 0.7 จากผลการสำรวจ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ใช้อุปกรณ์พกพาเคลื่อนที่ ร้อยละ 88.94 และไม่ใช้อุปกรณ์พกพาเคลื่อนที่ ร้อยละ 11.06 และใช้มือถือ (Smartphone) เป็นส่วนใหญ่ ร้อยละ 93.94 รองลงมาแท็บเล็ต (Tablet) ร้อยละ 3.51 และไอแพด (I-pad) ร้อยละ 2.56 เมื่อถามต่อไปว่าส่วนใหญ่ใช้อุปกรณ์พกพาเคลื่อนที่ช่วงเวลาใดมากที่สุดและใช้ระยะเวลาเท่าใด พบว่า ส่วนใหญ่ใช้บนเตียงนอน (ก่อนนอน/ตื่นนอน) ร้อยละ 35.28 รองลงมาระหว่างทำงาน ร้อยละ 17.44 และระหว่างการเดินทาง ร้อยละ 12.27 และส่วนใหญ่ใช้เวลาในการเข้าใช้สื่อสังคมออนไลน์ 1-2 ชั่วโมงต่อวัน ร้อยละ 24.74 รองลงมา 2-3 ชั่วโมงต่อวัน ร้อยละ 19.24 และน้อยกว่า 1 ชั่วโมงต่อวัน ร้อยละ 19.17 เหตุผลที่ประชาชนส่วนใหญ่เข้าใช้สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) อันดับแรก คือ พูดคุย/ติดต่อกับบุคคลที่รู้จัก ร้อยละ 90.60 อันดับที่ 2 คือ หาข้อมูล/แลกเปลี่ยนข้อมูล ร้อยละ 46.55 และ อันดับที่ 3 คือ โพสข้อความ/รูปภาพ ร้อยละ 39.25 ด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับความรุนแรง "ปัญหาสังคมก้มหน้า" ประชาชนส่วนใหญ่คิดว่าเป็นปัญหาที่รุนแรงปานกลาง ร้อยละ 36.65 รองลงมาเป็นปัญหาที่รุนแรงค่อนข้างมาก ร้อยละ 29.39 และรุนแรงมากที่สุด ร้อยละ 22.47 ซึ่งมีค่าเฉลี่ย 6.69 ซึ่งปัญหาที่รุนแรงในระดับค่อนข้างมาก และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.321 เมื่อถามถึงความคิดเห็นเกี่ยวกับผลกระทบจากสังคมก้มหน้า พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่คิดว่าสังคมก้มหน้ามีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ เพราะมัวสนใจอยู่แต่กับสิ่งที่อยู่ตรงหน้า ร้อยละ 55.78 รองลงมาทำให้เกิดความสัมพันธ์ ที่ไม่ลงรอย หรือมีปฎิสัมพันธ์กับคนรอบข้างน้อยลงไป ร้อยละ 51.16 และเสี่ยงต่อการที่จะมีพฤติกรรมเสพติดด้านอื่นๆ เช่น ติดเกม Social Network ร้อยละ 39.34 และเมื่อถามว่าตัวท่านเองคิดว่าตนเองจัดอยู่ในกลุ่มประเภทของ "สังคมก้มหน้า" ประชาชนส่วนใหญ่ตอบว่า เป็นบ้างในระดับหนึ่ง ร้อยละ 59.35 รองลงมาไม่เป็นเลย ร้อยละ 34.24 และเป็นมาก ร้อยละ 6.41 ท้ายที่สุดประชาชนให้ข้อเสนอแนะหรือวิธีแก้ปัญหาในเรื่องสังคมก้มหน้า อันดับแรก คือ รณรงค์ในการเล่นมือถือให้เหมาะสมกับเวลาและสถานที่ ร้อยละ 36.36 อันดับที่ 2 ทำกิจกรรมภายในครอบครัวและคนรอบข้างให้มากขึ้น เช่น พูดคุย ไปเที่ยว ร้อยละ 14.55 และอันดับที่ 3 เยาวชนควรได้รับการควบคุมในการเล่นมือถือจากผู้ปกครอง ร้อยละ 12.61 เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง ตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 60.71 เพศชาย ร้อยละ 38.34 และเพศทางเลือก ร้อยละ 0.96 มีอายุระหว่าง 18 – 25 ปี ร้อยละ 27.10 รองลงมา 26 – 35 ปี ร้อยละ 21.56 36 – 45 ปี ร้อยละ 19.78 46 – 60 ปี ร้อยละ 18.42 และ มากกว่า 60 ปี ร้อยละ 13.14 ส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรส ร้อยละ 46.48 รองลงมามีสถานภาพโสด 45.86 และหม้าย/ หย่าร้าง/แยกกัน ร้อยละ 7.66 ตัวอย่างส่วนใหญ่มีการศึกษาระดับ ปริญญาตรี/เทียบเท่า ร้อยละ 36.91 รองลงมาระดับมัธยมศึกษา/เทียบเท่า ร้อยละ 26.65 ระดับประถมศึกษา/ต่ำกว่าร้อยละ 15.98 ระดับอนุปริญญา/เทียบเท่า ร้อยละ 14.70 สูงกว่าระดับปริญญาตรี/เทียบเท่า ร้อยละ 5.76 ตัวอย่างส่วนใหญ่ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้างของรัฐ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 27.86 รองลงมา นักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 20.46 เจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 15.69 ผู้ใช้แรงงาน/รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 12.72 พ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 9.26 พนักงานเอกชน ร้อยละ 8.84 และเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 5.17 ตัวอย่างส่วนใหญ่มีรายได้รวมเฉลี่ยต่อเดือน ระหว่าง 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 32.12 รองลงมา ต่ำกว่า 10,000 บาท ร้อยละ 25.73 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 18.55 รายได้ระหว่าง 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 12.60 รายได้ระหว่าง 30,001 – 40,000 บาท ร้อยละ 3.76 มากกว่า 40,001 บาทขึ้นไป ร้อยละ 2.74 ตัวอย่างส่วนใหญ่พักอาศัยอยู่นอกเขตเทศบาล ร้อยละ 50.42 และอาศัยอยู่ในเขตเทศบาล ร้อยละ 49.58

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ