กรุงเทพฯ--1 มี.ค.--ดีซี คอนซัลแทนส์ แอนด์ มาร์เก็ตติ้ง คอมมูนิเคชั่นส์
หมดหนาวไปได้ไม่นานก็ถึงคราวที่อากาศอบอ้าวของฤดูร้อนซึ่งคนไทยคุ้นเคยกันดีเริ่มเข้ามาแทนที่ นอกจากทำให้อ่อนเพลียไม่สบายตัวแล้ว ฤดูร้อนยังเป็นช่วงเวลาที่เชื้อโรคต่างๆ เจริญเติบโตได้ดี ทำให้มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดโรคมากมาย อาทิ โรคท้องร่วง อาหารเป็นพิษ บิด ไทฟอยด์ อหิวาตกโรค โรคพิษสุนัขบ้า รวมถึงโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจต่างๆ เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ปอดบวม
แต่เคยสังเกตไหมว่าทำไมบางคนตลอดทั้งปีแทบไม่เคยป่วยไข้ ขณะที่บางคนกลับป่วยง่ายไม่สบายบ่อยต้องเข้าออกโรงพยาบาลเป็นว่าเล่นทุกครั้งที่อากาศเปลี่ยน ศ.ดร.พิเชษฐ์ วิริยะจิตรา หัวหน้าคณะนักวิจัย Operation BIM นักวิทยาศาสตร์ไทยคนแรกผู้คิดค้นวิธีการดูแลสุขภาพด้วยการสร้างภูมิสมดุล (Balancing Immunity) อธิบายว่ากุญแจสำคัญของเรื่องนี้อยู่ที่ "ความแตกต่างของระดับภูมิคุ้มกันร่างกาย" ที่แต่ละคนมีไม่เหมือนกัน
"ร่างกายคนเราเกิดมาพร้อมกระบวนการธรรมชาติในการรักษาตัวเอง โดยมีกองทัพเซลล์เม็ดเลือดขาวประมาณ 22,000 ล้าน – 55,000 ล้านเม็ด เป็นพระเอกหลักในการสร้างภูมิต้านทานขึ้นมาปกป้องร่างกายจากสิ่งแปลกปลอมต่างๆ เช่น เชื้อแบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา รวมถึงสิ่งแปลกปลอมอื่นๆ เช่น เซลล์ที่กำลังเจริญเติบโตไปเป็นมะเร็ง เมื่อร่างกายถูกโจมตีจะทำให้ระดับภูมิคุ้มกันเสียสมดุล จนแสดงออกเป็นอาการความผิดปกติต่างๆ แต่หากสามารถกระตุ้นเม็ดเลือดขาวให้มีปริมาณเพิ่มขึ้นจนกลับเข้าสู่ภาวะสมดุลได้ ร่างกายของเราก็จะแข็งแรงเพียงพอที่จะรับมือกับโรคได้เอง"
ดร.พิเชษฐ์ระบุว่า ตามปกติแล้วเม็ดเลือดขาวแบ่งได้ตามหน้าที่เป็น 3 ชนิด คือ 1) เซลล์เม็ดเลือดขาวกลุ่มเพชฌฆาตทำหน้าที่ทำลายเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมโดยตรง 2) เม็ดเลือดขาวกลุ่มบีเซลล์ทำหน้าที่สร้างแอนติบอดี้หรือสารภูมิคุ้มกันต่อต้านสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย 3) เม็ดเลือดขาวกลุ่ม T helper cell โดยเฉพาะ Th1 และ Th17 ซึ่งเป็นอีกหนึ่งกุญแจสำคัญที่ช่วยให้ร่างกายมีภูมิต้านทานต่อสู้กับโรคได้ดียิ่งขึ้น โดยเม็ดเลือดขาวกลุ่มนี้ทำหน้าที่เสมือนเป็นกองทหารสื่อสาร ทันทีที่พบเชื้อโรคก็จะส่งสัญญาณเตือนกระตุ้นให้เหล่าเม็ดเลือดขาวเพชฌฆาตตรงเข้าจัดการกับผู้บุกรุกทันที ทั้งนี้ ภูมิต้านทานโรคของแต่ละคนจะมีมากหรือน้อยขึ้นกับหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นพันธุกรรม ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต แต่หลักๆ แล้วสามารถเพิ่มภูมิให้ตัวเองได้ง่ายๆ ในหลายวิธี เช่น
1. ลดเครียด สมัยนี้คนยุคใหม่ใช้เวลาบนโลกออนไลน์มากขึ้น ทำให้เกิดความเครียดมากขึ้นโดยไม่รู้ตัว ผลการศึกษาชิ้นหนึ่งในพบว่า ร้อยละ 1.2 ของคนอายุระหว่าง 16-51 ปีในอเมริกาที่ใช้เวลากับอินเทอร์เน็ตมากเกินไป มีแนวโน้มเครียดได้ง่ายตั้งแต่ระดับปานกลางจนถึงรุนแรง ส่งผลกระทบในร่างกายลดการหลั่งสารโพรสตาแกลนดินซึ่งช่วยในการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน คนที่มีความเครียมรุมเร้าจึงมักเป็นหวัดง่ายและจะไม่สบายอยู่บ่อยๆ จึงไม่ควรหมกหมุ่นอยู่กับจอสี่เหลี่ยมนานเกินไป
2. พักผ่อนให้เพียงพอ การนอนมีผลโดยตรงต่อการสร้างเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน เช่น แอนติบอดี้ งานวิจัยของม.ชิคาโก พบว่าผู้ที่นอนหลับคืนละ 7 ชั่วโมงเป็นเวลา 4 วัน เมื่อฉีดวัคซีนไข้หวัด คนกลุ่มนี้จะสามารถสร้างแอนติบอดีต่อเชื้อหวัดได้มากกว่าผู้ที่นอนหลับคืนละ 4 ชั่วโมงถึง 50% หรือ หากอดนอน 1 คืน เซลล์ที่เป็นป้อมปราการต้านเนื้องอกจะอ่อนแอลงถึง 30% ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งมากขึ้น นอกจากนี้การทำงานของสมองยังแย่ลงอีกด้วย ทางที่ดีควรนอนให้ได้สัก 7-8 ชั่วโมงต่อวัน นอกจากนี้ช่วงเวลาเข้านอนก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะฮอร์โมนและสารต่างๆ ที่จำเป็นต่อการสร้างภูมิจะผลิตเป็นเวลาตามที่ร่างกายกำหนด ช่วงเวลาแนะนำให้เข้านอนไม่ควรจะเกิน 4 ทุ่ม
3. เปลี่ยนนิสัยการทาน อาหารหลายอย่างมีผลทำให้ระบบภูมิต้านเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ เช่น น้ำตาล มีผลทำให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง มีการศึกษาพบว่าการรับประทานน้ำตาล 100 กรัม (เทียบเท่าน้ำอัดลม 3 กระป๋อง) มีผลทำให้การทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาวในการต่อสู้กับเชื้อโรคหยุดชะงักไปถึง 5 ชั่วโมงเลยทีเดียว และควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว เพื่อความชุ่มชื้นและชำระล้างสารพิษตกค้างในร่างกาย นอกจากนี้ควรทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะผักสดและผลไม้ตระกูลส้มที่มีวิตามินซีสูง
หากเป็นไปได้ควรควบคุมน้ำหนักไม่ให้มากเกินไป เพราะจะทำให้ฮอร์โมนเสียสมดุลก่อให้เกิดการอักเสบ สำหรับคนที่มีปัญหาด้านการรับประทาน ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมก็เป็นทางเลือกที่ได้ผลดีเช่นกันในการสร้างภูมิคุ้มกันให้สมดุล อาทิ นวัตกรรมสูตรสารสกัดธรรมชาติ ซึ่งเป็นงานศึกษากว่า 38 ปีของคณะนักวิจัย Operation BIM ที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของ T helper cell ชนิด Th1 และ Th17 อย่างเห็นได้ชัด โดยงานวิจัยเกิดจากการนำพืชไทย 5 ชนิด ได้แก่ มังคุด ถั่วเหลือง งาดำ ฝรั่ง บัวบก มาเสริมฤทธิ์กันและยังได้รับการพิสูจน์ผลแล้วโดยศูนย์วิจัยเทคโนโลยีชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
"จำไว้ว่าสุขภาพดีเราสร้างได้เอง ภูมิต้านทานก็เหมือนกำแพงที่ธรรมชาติสร้างขึ้นเพื่อปกป้องเรา หากไม่รู้จักใส่ใจดูแล กำแพงก็ย่อมผุพังไปตามกาลเวลา จนทำให้ร่างกายของเราพ่ายแพ้แก่โรคภัยที่เข้ามาโจมตีในที่สุด" ศ.ดร.พิเชษฐ์ กล่างทิ้งท้าย