รายงานภาวะความเคลื่อนไหวของตลาดตราสารหนี้ไทยประจำเดือน เมษายน 2544

ข่าวทั่วไป Friday May 4, 2001 09:38 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--4 พ.ค.--ศูนย์ซื้อขายตราสารหนี้ไทย
- ตราสารหนี้ออกใหม่
ในช่วงเดือนเมษายนมีตราสารหนี้ที่ออกใหม่และขึ้นทะเบียนที่ศูนย์ซื้อขายฯ รวมทั้งสิ้น 126.97 พันล้านบาท โดยแบ่งเป็น ตั๋วเงินคลัง 64
พันล้านบาท พันธบัตรรัฐบาล 9.33 พันล้านบาท พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ 6.94 พันล้านบาท พันธบัตรกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
15.5 พันล้านบาท และหุ้นกู้ภาคเอกชน 31.2 พันล้านบาท
พันธบัตรรัฐบาลที่ออกใหม่ในเดือนเมษายน ได้แก่ LB104A อายุ 9 ปีและ LB214A อายุ 20 ปี จำนวน 7.83 พันล้านบาท และ 1.5
พันล้านบาทตามลำดับ ส่วนองค์กรรัฐวิสาหกิจได้แก่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (EGAT) จำนวน 3 รุ่น รวมมูลค่า 3 พันล้านบาท และ การทาง
พิเศษแห่งประเทศไทย (ETA) 2.94 พันล้านบาท และการรถไฟแห่งประเทศ (SRT) 1 พันล้านบาท สำหรับกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบ
สถาบันการเงินยังคงทยอยประมูลพันธบัตรที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน อายุ 2, 3 และ 5 ปี มูลค่า 6, 2.5 และ 7 พันล้านบาทตามลำดับ ด้านตั๋ว
เงินคลังในเดือนนี้หมดอายุ 33 ล้านบาท และมีการออกจำหน่ายใหม่ทั้งสิ้น 64 พันล้านบาท ทั้งนี้เป็นตั๋วเงินคลังรุ่นอายุ 28 วัน, 91 วันประเภทละ
4 รุ่น และอายุ 182 วัน จำนวน 2 รุ่น และสำหรับองค์กรภาคเอกชนที่ออกหุ้นกู้และนำมาขึ้นทะเบียนกับศูนย์ซื้อขายฯในเดือนนี้ รวมมูลค่า 31.2
พันล้านบาท แบ่งเป็น หุ้นกู้ชนิดทยอยจ่ายคืนเงินต้น ได้แก่ หุ้นกู้บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) (AIS063A) อายุ 5 ปี อัตรา
ดอกเบี้ยร้อยละ 5.3 หุ้นกู้บริษัท โทเทิ่ลแอ็คเซสคอมมูนิเคชั่น จำกัด(มหาชน) (TAC064A) อายุ 5 ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 5.6 และหุ้นกู้บริษัทบ้านปู
จำกัด(มหาชน) (BP064 และ BP084A) อายุ 5 ปีและ 7 ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 5.8 และอัตราลอยตัวตามลำดับ และหุ้นกู้บริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย
กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (NMG043A) อายุ 3 ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 7
- มูลค่าคงค้างของตราสารหนี้ที่ขึ้นทะเบียนในศูนย์ซื้อขายตราสารหนี้ไทย
มูลค่าคงค้างของตราสารหนี้ที่ขึ้นทะเบียนในศูนย์ซื้อขายฯ ณ สิ้นเดือนเมษายน 2544 มีจำนวน 486 รุ่น รวมมูลค่าทั้งสิ้น 1,406.48 พันล้าน
บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.03 จากระดับ 1,365.18 พันล้านบาท ณ สิ้นเดือนมีนาคม โดยในปริมาณดังกล่าวประกอบด้วยพันธบัตรรัฐบาล 595 พันล้านบาท
(ร้อยละ 42.3) พันธบัตรรัฐวิสาหกิจที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน 349.1 พัน ล้านบาท (ร้อยละ 24.8) หุ้นกู้ภาคเอกชน 237.3 พันล้านบาท
(ร้อยละ 16.9) พันธบัตรรัฐวิสาหกิจที่กระทรวงการคลังไม่ค้ำประกัน 58 พันล้านบาท (ร้อยละ 4.1) ตั๋วเงินคลัง 87 พันล้านบาท (ร้อยละ 6.2)
พันธบัตรกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน 76 พันล้านบาท (ร้อยละ 5.4) และ พันธบัตรธปท.และ พันธบัตร อบส. 4.1 พันล้านบาท
(ร้อยละ 0.3)
- ภาวะการซื้อขายในศูนย์ซื้อขายตราสารหนี้ไทย
การเคลื่อนไหวของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลตามเส้น TBDC Government Bond Yield Curve ในเดือนเมษายน พบว่า อัตราผล
ตอบแทนปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงแคบ ๆ ตลอดทุกอายุ โดยพันธบัตรอายุ 1-3 ปี ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น 1-30 bp. พันธบัตรระยะกลางอายุ 5ปีและ 7 ปี ปรับ
เพิ่มขึ้น 14 และ 4 bp. ตามลำดับ และพันธบัตรระยะยาวอายุ 10-14 ปี ปรับเพิ่มขึ้น 1-6 bp. การเคลื่อนไหวของอัตราผลตอบแทนไม่ค่อยมีการ
เปลี่ยนแปลงไปจากเดือนที่แล้วมากนัก ทั้งนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 5 ปีมีการปรับตัวเพิ่มสูงสุดเมื่อเทียบกับพันธบัตรระยะสั้นและระยะยาว
ปริมาณการซื้อขายตราสารหนี้ที่มีการรายงานต่อศูนย์ซื้อขายตราสารหนี้ไทยในเดือนเมษายนมีปริมาณลดลงจากเดือนก่อนหน้าถึงร้อยละ 18.07
โดยมีมูลค่าทั้งสิ้น 104.97 พันล้านบาท ทั้งนี้ เป็นผลจากจำนวนวันทำการที่ลดลงในเดือนเมษายนโดยหากพิจารณาเป็นปริมาณการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันมี
มูลค่า 5.83 พันล้านบาทเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเมื่อเดือนที่ผ่านมา โดยแบ่งเป็นธุรกรรมเป็นการซื้อขายจริง(Outright Transaction) มูลค่า
104.38 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 99 และธุรกรรมที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการกู้ยืม และอื่นๆ (Financing and Other Transaction) มูลค่า 0.59
พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 1 ของปริมาณการซื้อขายรวม การซื้อขายส่วนใหญ่ให้น้ำหนักที่ตั๋วเงินคลังร้อยละ 39 รองลงมาเป็นพันธบัตรรัฐบาลสัดส่วน
ร้อยละ 36 พันธบัตรรัฐวิสาหกิจร้อยละ 8 พันธบัตรกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินร้อยละ 10 และหุ้นกู้ภาคเอกชนร้อยละ 7
สำหรับตราสารหนี้ที่มีการซื้อขายสูงสุด 3 อันดับแรกในแต่ละประเภทตราสารหนี้ ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มพันธบัตรรัฐบาล ได้แก่ LB08DA LB077A
และ LB104A พันธบัตรรัฐวิสาหกิจและกองทุนฟื้นฟูฯ ได้แก่ FIDF016A FIDF031A และ ETA064A หุ้นกู้ภาคเอกชน ได้แก่ TAC064A AIS0063A และ
SCCC#1 ด้านสภาพคล่องการซื้อขายตราสารหนี้กลุ่มต่างๆ โดยวัดจากอัตราการเปลี่ยนมือการซื้อขาย (Turnover Ratio) นั้น พบว่า ในกลุ่มพันธบัตร
รัฐบาลส่วนใหญ่จะเป็นตราสารกลุ่มเดียวกันกับตราสารที่มีการซื้อขายสูงสุด แต่สำหรับพันธบัตรรัฐวิสาหกิจที่มี Turnover สูงสุด ได้แก่ EGAT064B
PTT103C และ ETA064A และหุ้นกู้ภาคเอกชน ได้แก่ TAC064A AIS0063A และ BP084A
หากพิจารณาเฉพาะการซื้อขายประเภท Outright Transactions จะพบว่าสัดส่วนการซื้อขายในเดือนเมษายนเป็นธุรกรรมการซื้อขายใน
กลุ่มสถาบันการเงินซึ่งมีใบอนุญาตค้าตราสารหนี้ (Interdealer Transactions) คิดเป็นมูลค่า 24.69 พันล้านบาท หรือร้อยละ 24 ของปริมาณการ
ซื้อขายรวม ในขณะที่เป็นธุรกรรมซื้อขายระหว่างสถาบันการเงินที่มีใบอนุญาตกับผู้ลงทุนประเภทต่างๆ (Dealer to Client Transactions) 76.69
พันล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 76 ของปริมาณการซื้อขายรวม ธุรกรรมการซื้อขายระหว่างสถาบันการเงินที่มีใบอนุญาตและผู้ลงทุนประเภทต่างๆนั้น
แบ่งเป็นธุรกรรมกับผู้ลงทุนในกลุ่มต่างๆ ดังนี้ กลุ่มสถาบันการเงินที่ไม่มีใบอนุญาตค้าตราสารหนี้ร้อยละ 44.3 กลุ่มกองทุนรวมร้อยละ 18.9 กลุ่มกองทุน
สำรองเลี้ยงชีพและกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข) ร้อยละ 12.7 กลุ่มบริษัทประกันภัยร้อยละ 2.8 กลุ่มนักลงทุนอื่นๆ และกลุ่มบริษัทต่างประ
เทศรวมร้อยละ 21.3 โดยสัดส่วนการซื้อขายของกลุ่มกองทุนรวม และกลุ่มบริษัทประกันภัยมีสัดส่วนลดลงจากเดือนมีนาคม ขณะที่กลุ่มนักลงทุนอื่นๆและ
กลุ่มบริษัทต่างประเทศมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคม--จบ--
-อน-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ