คาเธ่ย์ แปซิฟิค แถลงผลประกอบการประจำปี 2558 เติบโตขึ้นร้อยละ 90.5 คิดเป็นมูลค่า 6,000 ล้านเหรียญฮ่องกง

ข่าวหุ้น-การเงิน Friday March 11, 2016 17:11 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--11 มี.ค.--ฮิลล์ แอนด์ นอลตัน สแตรทิจีส์ ผลประกอบการ 2558 2557 เปลี่ยนแปลง รายได้ ล้านเหรียญฮ่องกง 102,342 105,991 -3.4% กำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ล้านเหรียญฮ่องกง 6,000 3,150 +90.5% กำไรต่อหุ้น เซ็นต์ 152.5 80.1 +90.4% เงินปันผลต่อหุ้น เหรียญฮ่องกง 0.53 0.36 +47.2% คาเธ่ย์ แปซิฟิค กรุ๊ป แถลงผลกำไรประจำปี 2558 คิดเป็นมูลค่า 6,000 ล้านเหรียญฮ่องกง เทียบกับผลกำไรประจำปี 2557 ซึ่งอยู่ที่ 3,150 ล้านเหรียญฮ่องกง ในขณะที่กำไรต่อหุ้นอยู่ที่ 152.5 เซ็นต์ฮ่องกงเทียบกับ 80.1 เซ็นต์ฮ่องกงในปี 2557 ที่ผ่านมา ในปี 2558 คาเธ่ย์ แปซิฟิค กรุ๊ป มีผลประกอบการที่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2557 อันเนื่องมาจากราคาน้ำมันที่ลดลง สวนทางกับปริมาณการรองรับที่นั่งของผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ในครึ่งปีแรกจนถึงครึ่งปีหลัง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความต้องการของผู้โดยสารชั้นประหยัดที่มีศักยภาพสูง ในขณะที่ความต้องการของผู้โดยสารชั้นพรีเมี่ยมสำหรับเส้นทางบินระยะไกลยังไม่เป็นไปตามเป้าที่ตั้งไว้ สำหรับความต้องการด้านการขนส่งทางอากาศที่ชะลอตัวในไตรมาสที่ 2 ยังคงซบเซาอย่างต่อเนื่องในช่วงครึ่งปีหลัง ส่วนบริษัทในเครือทั้งหมดคาเธ่ย์แปซิฟิค กรุ๊ป มีผลการดำเนินงานที่ดีขึ้น รายได้จากผู้โดยสารของสายการบินคาเธ่ย์ แปซิฟิค และ ดรากอนแอร์ ในปี 2558 คิดเป็นมูลค่า 73,047 ล้านเหรียญฮ่องกง ลดลงร้อยละ 3.5 เมื่อเปรียบเทียบในช่วงเวลาเดียวกันของปี 2557 สวนทางกับอัตราบรรทุกผู้โดยสาร ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 เนื่องจากการเพิ่มเส้นทางบินใหม่ในหลายเส้นทาง (บอสตัน ดึสเซลดอร์ฟ ฮิโรชิมา และซูริค) และการเพิ่มจำนวนเที่ยวบินในบางเส้นทาง ปริมาณการรองรับที่นั่งของผู้โดยสารเพิ่มขึ้น 2.4 จุด หรือร้อยละ 85.7 แต่เนื่องจากการแข่งขันที่สูงขึ้น ราคาน้ำมันที่ลดลง การเปลี่ยนแปลงของค่าเงิน และสัดส่วนจำนวนผู้โดยสารที่เดินทางผ่านฮ่องกง ส่งผลให้ราคาต่อหน่วยลดลงร้อยละ 11.4 เป็น 59.6 เซ็นต์ฮ่องกง สำหรับความต้องการของผู้โดยสารชั้นประหยัดยังคงอยู่ในระดับสูง ส่วนกลุ่มผู้โดยสารชั้นพรีเมี่ยมสำหรับเส้นทางบินในภูมิภาคเป็นไปในทางที่ดีขึ้น เพียงแต่ความต้องการของผู้โดยสารในเส้นทางบินระยะไกลบางเส้นทางยังคงต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ ธุรกิจการขนส่งสินค้าของคาเธ่ย์ แปซิฟิค กรุ๊ป ในปี 2558 คิดเป็นมูลค่า 23,122 ล้านเหรียญฮ่องกง ลดลงร้อยละ 9 ปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบมาจากอัตราภาษีน้ำมันที่ลดลงอันเนื่องมาจากราคาน้ำมันที่ต่ำลง เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา ระวางของการบรรทุกสินค้าของคาเธ่ย์ แปซิฟิค และดรากอนแอร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 แต่อัตราการขนส่งสินค้ากลับลดลง 0.1 จุด หรือร้อยละ 64.2 สำหรับราคาต่อหน่วยลดลงร้อยละ 13.2 เทียบเป็น 1.9 เหรียญฮ่องกง เนื่องมาจากปัจจัยหลายอย่างที่ส่งผลกระทบต่ออัตราราคาต่อหน่วย ทั้งการแข่งขันที่สูงขึ้น อัตราในการขนส่งที่มีมากเกินจำนวนสินค้า การเปลี่ยนแปลงของค่าเงิน และราคาน้ำมันที่ลดลง อย่างไรก็ตาม ความต้องการในธุรกิจขนส่งสินค้าเพิ่มขึ้นในช่วงไตรมาสแรกของปี 2558 อันเนื่องมาจาก การนัดประท้วงหยุดงานในบริเวณท่าเรือชายฝั่งด้านตะวันตกของประเทศสหรัฐอเมริกา แต่ภาพรวมของการเติบโตในการขนส่งสินค้านั้นชะลอตัวในครึ่งปีหลัง โดยเฉพาะการขนส่งสินค้าในเส้นทางสู่ยุโรป ถึงแม้ว่าปริมาณการรองรับที่นั่งของผู้โดยสารของคาเธ่ย์ แปซิฟิค และดรากอนแอร์ เพิ่มขึ้น แต่ค่าน้ำมันได้ลดลงคิดเป็นมูลค่า 14,561 ล้านเหรียญฮ่องกง หรือร้อยละ 37.8 เมื่อเปรียบเทียบในช่วงเวลาเดียวกันของปี 2557 (ไม่รวมถึงผลกระทบจากการทำสัญญาซื้อน้ำมันล่วงหน้า) ค่าน้ำมันลดลงเฉลี่ยร้อยละ 40.3 ซึ่งชดเชยได้บางส่วนจากปริมาณการใช้น้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 4.3 ค่าน้ำมันยังคงเป็นรายจ่ายส่วนใหญ่ที่สุดของคาเธ่ย์ แปซิฟิค กรุ๊ป โดยในปี 2558 น้ำมันเชื้อเพลิงคิดเป็นต้นทุนค่าใช้จ่ายในการจัดการการบินร้อยละ 34 (เปรียบเทียบกับปี 2557 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 39.2) การขาดทุนจากสัญญาซื้อน้ำมันล่วงหน้าลดทอนประโยชน์จากราคาน้ำมันที่ลดลง อย่างไรก็ตาม ค่าน้ำมันสุทธิลดลง คิดเป็นมูลค่า 7,331 ล้านเหรียญฮ่องกง หรือร้อยละ 18.2 เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2557 ในปี 2558 รายจ่ายต่างๆของคาเธ่ย์ แปซิฟิค กรุ๊ป ที่นอกเหนือจากค่าน้ำมันเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 เมื่อเทียบกับปี 2557 ซึ่งเป็นผลมาจากการเพิ่มเส้นทางการบินและจำนวนพนักงาน ความหนาแน่นในท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกงประกอบกับข้อจำกัดในการปฏิบัติการบินในภูมิภาคจีนก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้รายจ่ายในการปฏิบัติงานสูงขึ้น แต่การเพิ่มศักยภาพในการทำงานและการเปลี่ยนแปลงของค่าเงินมีแนวโน้มในทางที่ดีขึ้นจึงสามารถชดเชยรายจ่ายต่างๆ ดังกล่าวได้ โดยต้นทุนค่าใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวกับน้ำมันได้ลดลงร้อยละ 3.1 ต่อปริมาณความสามารถการบรรทุกของเครื่องบิน (ATK) รายได้จากแอร์ไชน่า ในปี 2558 ซึ่งบันทึกรวมอยู่ในผลประกอบการของคาเธ่ย์ แปซิฟิค กรุ๊ป โดยแจ้งย้อนหลังเป็นเวลา 3 เดือน ดีขึ้นจากปี 2557 อันเนื่องมาจากราคาน้ำมันที่ลดลงและความต้องการของผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้น การอ่อนค่าเงินหยวนในเดือนสิงหาคม 2558 ส่งผลกระทบในทางลบทางด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินให้กับแอร์ไชน่า อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงของค่าเงินสามารถชดเชยได้ด้วยผลประโยชน์จากราคาน้ำมันที่ลดลง ในปี 2558 คาเธ่ย์ แปซิฟิค ได้เปิดให้บริการเที่ยวบินใหม่สู่เมืองซูริคในเดือนมีนาคม นครบอสตันในเดือนพฤษภาคม และเมืองดึสเซลดอร์ฟในเดือนกันยายน ซึ่งทุกเส้นทางบินใหม่นี้ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีรวมถึงการเพิ่มเส้นทางบินไปยังเมืองมาดริดในเดือนมิถุนายน 2559 และสู่สนามบินแกตวิค กรุงลอนดอนในเดือนกันยายน 2559 ส่วนดรากอนแอร์ ได้เปิดให้บริการเที่ยวบินสู่สนามบินฮาเนดะ กรุงโตเกียว ในเดือนมีนาคม และเมืองฮิโรชิมาในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา และยังมีการเพิ่มจำนวนเที่ยวบินของเส้นทางเดิมบางเส้นทาง นอกจากนี้ คาเธ่ย์ แปซิฟิคได้ยกเลิกเที่ยวบินไปยังกรุงมอสโคว์และโดฮา ในขณะที่ ดรากอนแอร์ ยกเลิกเที่ยวบินไปยังกรุงมะนิลา สำหรับการขนส่งสินค้า คาเธ่ย์ แปซิฟิค ได้เพิ่มเส้นทางการขนส่งสินค้าไปยังเมืองกัลกัตตา ประเทศอินเดีย ในเดือนมีนาคม 2558 และเพิ่มเที่ยวบินขนส่งสินค้าไปยังทวีปอเมริกาเหนือและประเทศอินเดีย ทั้งนี้เที่ยวบินและระวางของการบรรทุกสินค้าได้รับการปรับให้สอดคล้องกับความต้องการในการขนส่งสินค้า ในปี 2558 คาเธ่ย์ แปซิฟิค กรุ๊ป ได้รับมอบเครื่องบินรุ่นโบอิ้ง 777-300ER จำนวน 6 ลำ และเครื่องบินรุ่นแอร์บัส A330-300 จำนวน 3 ลำ โดยเครื่องบินรุ่นโบอิ้ง 777-300ER ที่ได้รับมอบในเดือนกันยายน 2558 จะเป็นเครื่องบินลำที่ 53 และลำสุดท้ายของรุ่นนี้ที่ได้รับการเพิ่มเข้ามาในฝูงบิน นอกจากนี้ สายการบินยังได้ปลดระวางเครื่องบินโดยสารรุ่นโบอิ้ง 747-400 จำนวน 4 ลำ และเครื่องบินโดยสารรุ่นแอร์บัส A340-300 อีกจำนวน 4 ลำ ในปีเดียวกัน โดยเครื่องบินโดยสารรุ่นแอร์บัส A340-300 จำนวน 1 ลำได้ส่งมอบคืนแล้วในเดือนกุมภาพันธ์ 2559 ส่วนเครื่องบินโดยสารรุ่นโบอิ้ง 747-400 อีก 3 ลำที่เหลือ จะถูกส่งมอบคืนภายในปี 2559 โดยเร็วขึ้นกว่ากำหนดที่วางไว้ในปี 2560 ทั้งนี้ ในปี 2556 คาเธ่ย์ตกลงขายเครื่องบินขนส่งสินค้ารุ่นโบอิ้ง 747-400F จำนวน 6 ลำคืนให้แก่บริษัทโบอิ้ง โดย 2 ลำได้ส่งมอบคืนแล้ว และอีก 4 ลำที่เหลือจะถูกส่งมอบคืนภายในช่วงสิ้นปี 2559 ทั้งนี้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 คาเธ่ย์ แปซิฟิค กรุ๊ป มีจำนวนเครื่องบินใหม่ที่ได้สั่งซื้อไว้แล้วทั้งหมด 70 ลำ และจะถูกส่งมอบภายในปี 2567 และเครื่องบินรุ่นแอร์บัส A350-900XWB ลำแรกของคาเธ่ย์ แปซิฟิค กรุ๊ป จะถูกรับมอบในเดือนพฤษภาคม 2559 ภายในปีนี้ คาเธ่ย์ แปซิฟิค กรุ๊ป จะได้รับมอบเครื่องบินรุ่นดังกล่าวทั้งหมดจำนวน 12 ลำ โดยก่อนหน้านี้ สายการบินได้รับมอบเครื่องบินสำหรับฝึกบินรุ่นแอร์บัส A350 มาแล้วจำนวน 1 ลำ จากจำนวน 2 ลำ เมื่อเดือนพฤษภาคม 2558 คาเธ่ย์ แปซิฟิค กรุ๊ป ยังคงทุ่มเทกับการลงทุนอย่างต่อเนื่องในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และสร้างความแข็งแกร่งให้แบรนด์ ในเดือนพฤศจิกายน 2558 คาเธ่ย์ แปซิฟิค ได้ปรับเปลี่ยนรูปลักษณ์ของเครื่องบินใหม่ และคาเธ่ย์ แปซิฟิค กรุ๊ป ได้ทำการติดตั้งและปรับปรุงที่นั่งใหม่ในทุกชั้นโดยสารบนเครื่องบินของคาเธ่ย์ แปซิฟิค และดรากอนแอร์ทุกลำ แต่ไม่รวมเครื่องบินโดยสารรุ่นโบอิ้ง 747-400 และเครื่องบินโดยสารรุ่นแอร์บัส A340-300 ที่กำลังจะปลดระวาง ทั้งนี้ เครื่องบินโดยสารรุ่นแอร์บัส A350XWB รุ่นใหม่จะมาพร้อมห้องโดยสาร ที่นั่งและระบบความบันเทิงในรูปแบบใหม่ นอกจากนี้ ห้องรับรองผู้โดยสารชั้นหนึ่งที่ "เดอะเพียร์" ณ สนามบินนานาชาติฮ่องกงได้เปิดบริการอีกครั้งในเดือนมิถุนายน 2558 และยังเปิดให้บริการห้องรับรองผู้โดยสารแห่งใหม่ในประเทศต่างๆ ได้แก่ กรุงมะนิลา เปิดตัวในเดือนพฤษภาคม กรุงเทพฯ เปิดตัวในเดือนมิถุนายน นครซานฟรานซิสโก เปิดตัวในเดือนตุลาคม และกรุงไทเป เปิดตัวในเดือนพฤศจิกายน ภาพรวมของธุรกิจ นายจอห์น สโลซาร์ ประธานบริษัทคาเธ่ย์ แปซิฟิค กล่าวว่า "เรารู้สึกมีกำลังใจมากที่เห็นภาพรวมของธุรกิจเราในปี 2558 ดีขึ้นจากปี 2557 แม้ว่าเรายังคงต้องเผชิญกับความท้าทายต่างๆ ที่คาดการณ์ว่าจะยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่องในปีนี้ ไม่ว่าจะเป็นการแข่งขันที่สูงขึ้น ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนทางการเงิน และความต้องการของผู้โดยสารชั้นพรีเมี่ยมที่ลดลงส่งผลกระทบต่อรายได้จากผู้โดยสารเฉลี่ยต่อหน่วย นอกจากนี้ ความต้องการในการขนส่งสินค้ายังได้รับผลกระทบจากปริมาณการผลิตที่เกินกำลังของภาคอุตสาหกรรมโดยรวม แต่ความต้องการในการเดินทางของผู้โดยสารยังคงเพิ่มขึ้นและเรายังได้รับประโยชน์จากราคาน้ำมันที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งคาดว่าภาพรวมของธุรกิจอันรวมถึงบริษัทต่างๆในเครือยังดำเนินไปอย่างดี" "เรามั่นใจว่าธุรกิจของเราจะประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่องในระยาว โดยเรายังคงมุ่งมั่นที่จะมอบประสบการณ์การเดินทางที่เป็นเลิศให้แก่ผู้โดยสาร ทั้งนี้ ในเดือนมกราคม 2559 เราได้ประกาศการรีแบรนด์สายการบินดรากอนแอร์ โดยเปลี่ยนชื่อเป็นคาเธ่ย์ ดรากอน เพื่อตอกย้ำถึงความตั้งใจในการทำให้ทั้งสองสายการบินสามารถมอบประสบการณ์การเดินทางที่ดียิ่งขึ้นให้แก่ผู้โดยสาร โดยเราจะยังคงลงทุนกับฝูงบิน และผลิตภัณฑ์ ตลอดจนการขยายเครือข่ายเส้นทางบินของเราต่อไป ทั้งนี้ ฐานะการเงินของเรายังคงแข็งแกร่ง และเรายังคงมุ่งมั่นให้ทีมงานมืออาชีพระดับโลกของเราร่วมสร้างความแข็งแกร่งให้กับฮ่องกงซึ่งเปรียบเสมือนบ้านของเรามากว่า 70 ปี ให้กลายเป็นศูนย์กลางการทางการบินชนนำในระดับโลก"
แท็ก ฮ่องกง   ปันผล  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ