รายงาน Ericsson Mobility Report ชี้ ความล่าช้าของสตรีมมิ่งมีเดียทำให้ผู้ใช้สมาร์ตโฟนเครียดมากขึ้น

ข่าวเทคโนโลยี Sunday March 13, 2016 16:00 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--13 มี.ค.--Ericsson - การเข้าถึงและรับชมวีดีโอมัลติมีเดียที่เกิดการหยุดชะงักเล่นไม่ต่อเนื่องจะทำให้ผู้ใช้สมาร์ตโฟนมีความเครียดสูงขึ้นโดยเฉพาะในขณะที่ถูกกดดันเรื่องเวลา - ในทางกลับกัน การใช้งานที่ไม่สะดุดหรือชักช้าจะทำให้เกิดอารมณ์ตอบรับด้านบวกและสร้างความสัมพันธ์กับแบรนด์ที่ดีต่อผู้ให้บริการอีกด้วย - รายงานยังคาดการณ์ด้วยว่าตัวเลขการรับส่งข้อมูลด้านโซเชียลเน็ตเวิรค์ในอีก 6 ปีข้างหน้าจะสูงถึง 12 เท่าเมื่อเทียบกับ 6 ปีก่อนหน้า รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับงาน Mobile World Congress ที่ได้เปิดตัวในวันนี้เผยให้เห็นถึงผลกระทบที่เกิดจากประสิทธิภาพของเครือข่ายในระดับต่างๆ ที่มีต่อผู้ใช้สมาร์ตโฟนเช่นเดียวกับมุมมองที่มีต่อผู้ให้บริการโมบายและผู้ให้บริการเนื้อหาดิจิทัล เทคโนโลยีประสาทวิทยาศาสตร์ (Neuroscience technology)* นั้นถูกนำมาใช้ในการวัดการตอบสนองทางอารมณ์ของการใช้งานสมาร์ตโฟน ความชักช้าในการโหลดเว็บเพจและวีดีโอขณะที่ถูกกดดันในเรื่องเวลานั้นทำให้อัตราการเต้นหัวใจของผู้ใช้โมบายสูงขึ้นโดยเฉลี่ยร้อยละ 38 หากการสตรีมวีดีโอมีดีเลย์ถึง 6 วินาทีก็ทำให้ระดับความเครียดเพิ่มขึ้นถึงหนึ่งในสาม เมื่อเทียบแล้วอาจพูดได้ว่าความเครียดที่เกิดขึ้นนั้นเทียบเคียงได้กับการสอบวิชาคณิตศาสตร์หรือดูหนังสยองขวัญคนเดียว และเครียดยิ่งกว่าการยืนอยู่ขอบเหวเสมือนจริง เมื่อเริ่มเล่นวีดีโอแล้วหากวีดีโอมีการหยุดก็จะส่งผลให้ความเครียดนั้นสูงขึ้นนอย่างเห็นได้ชัด ในงานศึกษานี้ คะแนน Net Promoter Score หรือ NPS ซึ่งเป็นตัวชี้วัดความพึงพอใจของลูกค้าต่อผู้ให้บริการนั้นจะสูงขึ้นอย่างมากเมื่อสามารถให้ประสบการณ์ใช้อินเทอร์เน็ตแบบไม่สะดุด ซึ่งจะสูงถึง 4.5 คะแนน ผลการศึกษายังสะท้อนออกมาในทางเดียวกันด้วยเมื่อมีการวัดทางด้านอารมณ์ด้วยดัชนีแรงจูงใจ ในทางตรงข้าม คะแนน NPS ของผู้ให้บริการนั้นจะลดลงโดยเฉลี่ยถึง 4 คะแนนเมื่อมีระยะเวลาในการเข้าถึงเนื้อหาหรือการดีเลย์ สะดุดในการสตรีมมิ่งเนื้อหาปานกลาง ความล่าช้าปานกลางนี้นั้นส่งผลเสียถึงสองด้านด้วยกับกับผู้ให้บริการด้านโมบาย ประการแรกคือลูกค้านั้นเชื่อมั่นในแบรนด์ลดลงและทำให้เข้าหาแบรนด์ของคู่แข่งมากขึ้น นายบัญญํติ เกิดนิยม ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารและองค์กรสัมพันธ์อีริคสันประเทศไทย ได้กล่าวสรุปประเด็นไฮไล้ท์อื่นๆ ที่น่าสนใจ ในรายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับงาน Mobile World Congress ประกอบด้วยดังนี้ - การใช้โซเชียลเน็ตเวิรค์เมื่อเทียบกับการชมวีดีโอแล้วถือเป็นปัจจัยอันดับสองรองลงมาในการผลักดันการเติบโตของการรับส่งข้อมูลบนเครือข่ายโมบาย ในอีก 6 ปีต่อไปนั้นการรับส่งข้อมูลด้วยโซเชียลเน็ตเวิรค์จะมากถึง 12 เท่าเมื่อเทียบกับหกปีก่อนหน้า - มีปริมาณการใช้งานโมบายเพิ่มขึ้นถึง 68 ล้านการใช้งานในไตรมาสที่ 4 ของปี 2015 โดยเพิ่มขึ้นมากที่สุดจากประเทศอินเดีย (21 ล้านการใช้งาน) ตามด้วยจีน (6 ล้าน) สหรัฐอเมริกา (5 ล้าน) พม่า (5 ล้าน) และไนจีเรีย (3 ล้าน) - จำนวนการใช้งานโมบายโดยรวมทั้งหมดในไตรมาสที่ 4 ของปี 2015 นั้นสูงเท่ากับอัตราการเข้าถึงร้อยละ 100 หรือ 7,300 ล้านการใช้งาน โดยจำนวนการใช้งานโมบายนั้นสูงเท่ากับจำนวนประชากรโลกแล้ว - การรับส่งข้อมูลบนเครือข่ายโมบายทั่วโลกเติบโตขึ้นร้อยละ 65 ระหว่างไตรมาสที่ 4 ของปี 2014 และไตรมาสที่ 4 ของปี 2015 - มีตัวเลขการใช้งานเครือข่าย LTE ทั่วโลกถึง 1,000 ล้านการใช้งาน โดยมีการใช้งานเพิ่มขึ้นประมาณ 160 ล้านการใช้งานเมื่อไตรมาสที่ 4 ของปี 2015 *มีการใช้เทคโนโลยีการตรวจคลื่นไฟฟ้าสมองหรือ EEG รวมถึงมิเตอร์วัดอัตราการเต้นของหัวใจและอุปกรณ์จับการเคลื่อนที่ของดวงตา

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ