กรุงเทพฯ--14 มี.ค.--เวเบอร์ แชนด์วิค
หลังจากที่เน็ตแอพ บริษัทชั้นนำในการจัดการและบริหารข้อมูลระดับโลก ได้เผยให้เห็นวิสัยทัศน์ล่าสุดด้านการจัดการข้อมูลบนคลาวด์ไปเมื่อเร็วๆ นี้ (ในงานสัมมนาเชิงเทคโนโลยีประจำปีที่ลาสเวกัส (NETAPP INSIGHT TECHNICAL CONFERENCE) ล่าสุดจากการเปิดเผยข้อมูลจากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลยังคงให้ความสำคัญต่อนโยบายในการขับเคลื่อนประเทศไทยให้ก้าวสู่เศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ครอบคลุมทุกด้านให้มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด โดยใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและลดความซ้ำซ้อน ซึ่งประกอบด้วย การพัฒนาเครือข่ายสื่อสารข้อมูลเชื่อมโยงหน่วยงานภาครัฐ, การพัฒนาระบบคลาวด์ภาครัฐและการให้บริการระบบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์กลางเพื่อการสื่อสารในภาครัฐ เป็นต้น
ข้อมูลจากไอดีซี (Internet Data Center) ได้เปิดเผยการคาดการณ์ 10 แนวโน้มสำคัญของภาคธุรกิจและภาคเทคโนโลยีของประเทศไทยในปี 2559 ว่า หลายๆ องค์กรจะมีการลงทุนใช้เทคโนโลยีแพลตฟอร์มรุ่นที่ 3 มากขึ้น โดยเทคโนโลยีแพลตฟอร์มรุ่นที่ 3 นั้นประกอบด้วย 4 เสาหลัก ได้แก่ คลาวด์ โมบิลิตี้ บิ้กดาต้าอนาไลติกส์ และ โซเชียล
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือการที่ร้านค้า โรงแรม หรือธุรกิจภาคบริการบางประเภทใช้การผสมผสานกันของเทคโนโลยีโมบิลิตี้บิ้กดาต้าและคลาวด์เพื่อเป็นเครื่องมือประกอบการตัดสินใจที่ดีที่สุดและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน นอกจากนี้ คลาวด์จะกลายเป็นการลงทุนพื้นฐานทางด้านไอทีภายในปี 2561 การลงทุนด้านคลาวด์จะมีสัดส่วนเป็นอย่างน้อยหนึ่งในสี่ของค่าใช้จ่ายด้านไอทีทั้งหมด และภายในปี 2563 - 30% ของการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานไอทีทั้งหมดจะเกี่ยวข้องกับคลาวด์ 30-35% ของค่าใช้จ่ายด้านการบริการซอฟต์แวร์ และเทคโนโลยีจะใช้ไปกับคลาวด์
ในปี 2559 นั้นองค์กรต่างๆ มีความจำเป็นจะต้องพัฒนาขีดความสามารถในการใช้งานบริการผ่านคลาวด์ โครงการที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีแพลตฟอร์มรุ่นที่ 3 หรือดิจิตอลทรานส์ฟอร์เมชั่นในเชิงธุรกิจนั้นจะเกิดขึ้นได้ยาก หากไม่มีคลาวด์เป็นพื้นฐาน ซึ่งหมายความว่าองค์กรเหล่านั้น จะต้องเพิ่มการใช้บริการผ่านคลาวด์ขึ้นอย่างมากในช่วงหลายปีข้างหน้า การเปลี่ยนแปลงของบริการผ่านคลาวด์จากความเป็นสถาปัตยกรรม "ใหม่" ไปสู่ความเป็นเทคโนโลยีขั้นพื้นฐานนั้นจะมีนัยสำคัญสำหรับผู้นำด้านไอทีและธุรกิจ
จากการสำรวจของเน็ตแอพ เผยให้เห็นมุมมองการทำงานของแผนกไอทีในองค์กรต่างๆ ซึ่งต้องพบกับแรงกดดันที่เกิดขึ้นภายในบริษัทในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานขณะที่ต้นทุนลดลง เทคโนโลยีคลาวด์จึงเป็นตัวช่วยที่ยอดเยี่ยมขององค์กรในหลากหลายภาคธุรกิจ
ในขณะที่การให้บริการคลาวด์กำลังพัฒนาต่อเนื่อง หลายภาคธุรกิจกำลังมองหาวิธีใช้คลาวด์อย่างเต็มศักยภาพพร้อมพิจารณาที่จะนำการใช้งานคลาวด์แบบผสมผสาน หรือ "ไฮบริดคลาวด์" มาใช้เพื่อตอบโจทย์การใช้งานบางประเภท และนโยบายขององค์กร ปัจจุบันมีเทคโนโลยีคลาวด์ให้เลือกใช้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น
Private Cloud คือการสร้าง Cloud ในองค์กรของตนเอง
Cloud Service Provider ผู้ให้บริการ Cloud โดยทั่วไป เช่น ผู้ให้บริการคลาวด์ในประเทศ
Hyper Scale Cloud คือผู้ให้บริการ Cloud รายใหญ่ระดับโลก เช่น Amazon Web Service, Microsoft Azure หรือ IBM/SoftLayer
ซึ่งทั้งหมดสามารถบริหารจัดการข้อมูลในเงื่อนไขที่ต่างกัน แต่เนื่องด้วยปัจจัยในการพิจารณาการจัดเก็บข้อมูลแต่ละประเภท และปัจจัยในการพิจารณาเลือกใช้ประเภทของ Cloud ในแต่ละองค์กรนั้นแตกต่างกันไปรวมถึงข้อจำกัดหลายๆ อย่าง เช่น Performance , Security จึงทำให้ไม่มีรูปแบบของคลาวด์แบบไหนแบบหนึ่งสามารถตอบโจทย์องค์กรได้ทั้งหมด จึงจำเป็นจะต้องใช้ Cloud แบบผสมผสาน หรือเรียกว่าHybrid Cloud
แต่อย่างไรการใช้งาน Hybrid Cloud ก็ยังมีอุปสรรคหลายๆด้าน ยกตัวอย่างเช่น ลองจินตนาการดูว่า หากคุณต้องการนำเงิน (เปรียบเสมือนข้อมูล) ไปฝากไว้ที่ธนาคารแห่งใดแห่งหนึ่ง (คลาวด์) เพื่อลงทุน หรือ เก็บออม (เปรียบเหมือนการ Backup) แต่ไม่กี่เดือนต่อมาคุณต้องการนำเงินนั้นไปฝากไว้ที่ธนาคารแห่งใหม่ เพราะให้ผลตอบแทนที่คุ้มกว่า หรือ มีเงื่อนไขที่ดีกว่า สะดวกกว่า แต่ได้รับการแจ้งจากธนาคารเดิมที่ฝากไว้ในตอนแรกว่า เงินนั้นอยู่ในรูปแบบเฉพาะของทางธนาคาร (เช่น อาจเป็นเงินสกุลอื่น) หากต้องการจะย้ายเงินไปที่อื่น จะต้องมีการเปลี่ยนค่าเงินเป็นอีกสกุลหนึ่งที่ทางธนาคารไม่ได้ถือไว้ และอาจจำเป็นต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม จากค่าธรรมเนียม หรือ อัตราแลกเปลี่ยน ที่เกิดขึ้น คุณคงรู้สึกอึดอัดและลำบากใจไม่น้อย สถานการณ์ตามตัวอย่างนี้คือสิ่งที่เกิดขึ้นกับข้อมูลที่จัดเก็บในไฮบริดคลาวด์ ณ ปัจจุบัน
เน็ตแอพ ได้ค้นพบวิธีแก้ปัญหาและเอาชนะความท้าทายในการบริหารข้อมูลบนไฮบริด คลาวด์ ทั้งยังทำให้องค์กรต่างๆ ซึ่งเป็นเจ้าของข้อมูลกลับมาควบคุมข้อมูลได้อย่างราบรื่น ลองคิดดูว่าถ้าองค์กรเจ้าของข้อมูลสามารถบริหารข้อมูลที่อยู่กระจัดกระจายบนคลาวด์ต่างๆ ได้อย่างราบรื่นเหมือนกับผืนผ้าที่ทักทอเข้าไว้ด้วยกัน เน็ตแอพเรียกความสามารถและสถาปัตยกรรมนี้ว่า ดาต้า แฟบริค (Data Fabric) สำหรับการใช้งานบนไฮบริด คลาวด์ ดาต้า แฟบริค ช่วยให้ผู้ใช้และลูกค้าสามารถควบคุม รวบรวม และโยกย้ายข้อมูลข้ามคลาวด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้ได้ประโยชน์จากความคุ้มและยืดหยุ่นของเทคโนโลยีคลาวด์ ขณะที่ยังสามารถบริหารข้อมูลของตนที่อยู่บนคลาวด์ต่างๆ ได้ ล่าสุด เน็ตแอพได้ออกโซลูชั่นใหม่ ร่วมกับพันธมิตรต่างๆ ที่นำเสนอบริการเพื่อตอบโจทย์วิสัยทัศน์เรื่อง ดาต้า แฟบริค (Data Fabric) ประกอบด้วย
Clustered Data ONTAP 8.3 โซลูชั่น ระบบปฏิบัติการสตอเรจอันดับ 1 ของโลก เพื่อการบริหารจัดการข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุด
Cloud ONTAP เป็นการนำระบบปฏิบัติการสตอเรจอันดับ 1 ของโลกอย่าง Data ONTAP ไปวิ่งอยู่บน Hyper-Scale Cloud ทั้ง Amazon Web Service, Microsoft Azure เพื่อให้ลูกค้าสามารถเลือกใช้บริการจาก Service Catalog เพื่อเชื่อมต่อกับ NetApp Storage ที่ใช้บริการอยู่ใน Data Center ตนเองได้
OnCommand Cloud Manager ช่วยให้หน่วยงานและองค์กรต่างๆ สามารถบริหารจัดการ NetApp Storage ในองค์กร และ Cloud ONTAP ได้พร้อมกัน อย่างมีประสิทธิภาพ ดูแลให้การส่งผ่านข้อมูลเป็นไปอย่างราบรื่น ไม่มีสะดุดระหว่างข้อมูลต่างๆ ที่อยู่บนคลาวด์ ต่างๆ ได้
NetApp Private Storage for Public Cloud (NPS) โดยเป็นการนำ NetApp Storage ไปวางใน Data Center เดียวกับ Hyper Scale Cloud Provider ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น Amazon, Microsoft Azure และขณะนี้สามารถรองรับไปถึง IBM/SoftLayer ซึ่งทำให้องค์กรสามารถเลือกผู้ให้บริการคลาวด์ตามต้องการ ในขณะที่ยังสามารถควบคุมและเป็นเจ้าของข้อมูลเหล่านั้นอยู่
บริการกำหนดกลยุทธ์ การออกแบบ การเคลื่อนย้ายและบริการส่งผ่านข้อมูลช่วยให้ลูกค้าระดับเอ็นเตอร์ไพรซ์เล็งเห็นและวางโครงสร้างการเก็บข้อมูลบนคลาวด์ได้ตรงตามเป้าหมายการใช้งาน เพื่อให้เปลี่ยนผ่านไปเป็นไฮบริด คลาวด์ได้สำเร็จ
ด้วยวิสัยทัศน์ ดาต้า แฟบริค (Data Fabric) ที่เน็ตแอพนำเสนอ ผนวกกับนวัตกรรมใหม่ๆ ที่พัฒนาขึ้นมาอย่างไม่หยุดยั้ง เน็ตแอพช่วยให้ลูกค้าโดยเฉพาะกลุ่มองค์กรใช้งานไฮบริด คลาวด์ได้อย่างเต็มศักยภาพ ทั้งในเรื่องของ การลดค่าใช้จ่าย ประสิทธิภาพการทำงานที่เพิ่มขึ้น ปรับปรุงการตอบรับได้อย่างรวดเร็ว และเพิ่มขีดการใช้งานบนนวัตกรรมใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ดาต้า แฟบริค (Data Fabric) ช่วยให้ผู้ใช้ ใช้งานเทคโนโลยีใหม่ๆ และมุ่งสู่นวัตกรรมที่ทำให้เน็ตแอพแตกต่างจากที่อื่น