กรุงเทพฯ--15 มี.ค.--มูลนิธิภูมิพลังชุมชนไทย
กว่า 8 เดือนมาแล้วที่โครงการเยาวชนสร้างสรรค์เพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคมภาคเหนือตอนบน ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนการเคลื่อนงาน โดย สสส. สำนัก 4 สำนักส่งเสริมสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว โดยผ่านการประสานงานและการสร้างการเรียนรู้กับกลุ่มเยาวชนโดยมูลนิธิภูมิพลังชุมชนไทยเพื่อที่จะสานพลังเครือข่ายเยาวชนนักศึกษาในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน โดยในการทำงานที่ผ่านมานั้นมูลนิธิภูมิพลังชุมชนไทยเชื่อว่า "กลุ่มพลังทางสังคมที่เป็นคนรุ่นใหม่ มีศักยภาพมีความสามารถในการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมได้ด้วยตนเอง หากได้รับการพัฒนาศักยภาพและมีโอกาสในการเรียนรู้และได้รับการสนับสนุนที่เหมาะสม พร้อมทั้งสามารถรวมตัวกันเป็นเครือข่ายความร่วมมือ ที่เชื่อมโยงความสัมพันธ์และพลังที่นำไปสู่การจัดการสร้างสรรค์สังคม ได้อย่างมีนัยยะสำคัญ" โดยในปัจจุบันนี้มีเครือข่ายชมรมนักศึกษาในมหาวิทยาลัยในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนที่เข้าร่วมโครงการเยาวชนสร้างสรรค์เพื่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม 10 มหาวิทยาลัย ได้แก่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้เชียงใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง มาหาวิทยาลัยแม่โจ้ แพร่เฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยพะเยา มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย กลุ่มเยาวชนสมัชาชาวไทยภูเขาจังหวัดน่าน โดยเมื่อวันที่ 5 - 6 มีนาคม 2559 มีการจัดเวทีการประชุมเชิงปฏิบัติการคณะแกนนำเยาวชนระดับภาคและนำเสนอโครงการสร้างสรรค์กิจกรรมสร้างสุขของเครือข่ายเยาวชนในมหาวิทยาลัยในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ณ โรงแรมรีเจนท์ลอด์จ ลำปาง จ.ลำปาง โดยมีการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ผ่านวงสนทนากิจกรรม world cafe โดยมีการคิดประเด็นในการพูดคุยแลกเปลี่ยนกับคนรุ่นใหม่ทั้งสิ้น 6 ประเด็น อาทิ พลังเยาวชนนักศึกษาหายไปไหนจากสังคมไทย สิทธิและความเสมอภาค บทบาทเยาวชนและสิทธิเยาวชนต่อการพัฒนาสังคมไทย สุขภาวะที่ดีคืออะไร และประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับเยาวชนคนรุ่นใหม่อย่างปัญหาของการใช้เหล้าในกลุ่มเยาวชนและนักศึกษาในปัจจุบัน ซึ่งเวทีแลกเปลี่ยนเหล่านี้นำไปสู่การเปิดใจในการที่จะแลกเปลี่ยนประสบการณ์และสร้างการเรียนรู้กับคนรุ่นใหม่
ส่วนวันที่ 2 ของการจัดเวทีประชุมเยาวชน นักศึกษากว่า 10 สถาบันการศึกษาในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนได้มีการนำเสนอแผนในการปฏิบัติการโครงการโดยมีประเด็นปัญหาทางสังคมที่เยาวชนนักศึกษาอยากมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนและแก้ไขปัญหา อาทิ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ อยากมีการทำงานเรื่องของการเรียนรู้ความแตกต่างของคนพื้นเมืองกับพี่น้องไทใหญ่ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้เชียงใหม่ มีความสนใจเรื่องของรายได้ครัวเรือน ชมรมยอดหญ้าบนภูสูง มหาวิทยาลัยพะเยา สนใจเรื่องของการสืบสานวัฒนธรรมวิถีชีวิตของชาติพันธุ์ม้ง ชมรมกระดานดำ มหาวิทยาลัยพะเยามีความ สนใจประเด็นการทำค่ายอาสาในพื้นที่ชุมชน ชมรมพุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา สนใจในการศึกษาประวัติศาสตร์ของหมู่บ้านสบลืน อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปา งเพื่อเรียนรู้รากเหง้า และความภูมิใจในถิ่นเกิดของตนเอง มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง สนใจประเด็นการเสริมสร้างโภชนาการอาหารสำหรับเด็กในชุมชนที่ส่งผลต่อการพัฒนาสมองเด็ก ชมรมครูคนอาสาเพื่อสังคมสนใจประเด็นการสร้างสุขในกลุ่มผู้สูงวัยในชุมชนกับโครงการเติมใจวัยชรา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์ลำปางสนใจประเด็น การส่งเสริมสาธารณสุขบนพื้นที่ดอยสูงของอำเภออมก๋อยจังหวัดเชียงใหม่ ส่วนกลุ่มสมัชชาเยาวชนชาวไทยภูเขาจังหวัดน่านสนใจการสร้างกลุ่มผู้นำเยาวชนที่มีการเรียนรู้วิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์รวมไปถึงการสร้างเกาะป้องกันตนเองต่อภัยทางสังคม และมหาวิทยาลัยแม่โจ้แพร่เฉลิมพระกียรติ สนใจการเคลื่อนพัฒนาระบบคิดนึกษา เพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ในพื้นที่ชุมชน ประเด็น 10 ประเด็นที่กลุ่มเยาวชนนักศึกษากลุ่มเล็กๆพยายามที่จะสร้างการเรียนรู้ซึ่งถือว่าเป็นกระบวนการในการพัฒนาตนเองและจะนำไปสู่การพัฒนาสังคมนั้นถือว่าเป็นหนึ่งเป้าหมายในการขับเคลื่อนโครงการเยาวชนสร้างสรรค์เพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม โดยมูลนิธิภูมิพันธ์ลังชุมชนไทยเชื่อว่ากลุ่มเยาวชนไทยได้มีการทำงานสร้างกลไกประสานในการสร้างการเรียนรู้ก็จะสามารถยกระดับเป็นนักจัดกิจกรรมส่งเสริมกระบวนการหรือผู้นำสร้างกระบวนการเรียนรู้เพื่อการขับเคลื่อนหรือการเคลื่อนไหวเยาวชน นอกจากนี้โครงการเยาวชนสร้างสรรค์เพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคมยังมีคณะที่ปรึกษาในการขับเคลื่อนโครงการจากหน่วยงานที่ทำงานด้านชุมชนรวมไปถึงนักวิชาการและมูลนิธิที่ทำงานเพื่อสังคม อาทิ สถาบันนานาชาติไอโอจีที เอ็นทีโอมูฟเม้น มูลนิธิฮักเมืองน่าน เครือข่ายศูนย์เพื่อนน้องหญิง อำเภอเชียงของ จ.เชียงราย ศูนย์แสงอรุณบำบัดยาเสพติดโดยพระกิตติคุณ อำเภอปาย จังหวัดเม่ฮ่องสอน และอาจารย์ในมหาวิทยาลัยอีกด้วย