กรุงเทพฯ--17 มี.ค.--กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
วันนี้ กรีนพีซร่วมรำลึกถึงหายนะภัยนิวเคลียร์ที่ฟุกุชิมะ ในโอกาสครบรอบ 5 ปี พร้อมเรียกร้องให้ผู้เกี่ยวข้องรับผิดชอบต่อปัญหาที่ยังดำรงอยู่
โศกนาฏกรรมในวันนั้นนำไปสู่การหลอมละลายของเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 3 เครื่อง ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมิ ไดอิจิ
"ยังไม่เห็นว่าวิกฤตนี้จะยุติลงสำหรับชุมชนที่ฟุกุชิมะ คนเกือบแสนคนยังไม่สามารถกลับบ้านและคนจำนวนมากที่ไม่มีทางกลับเข้าไปได้ เรายังไม่รู้จริงๆด้วยซ้ำถึงสาเหตุของวิกฤตการณ์ และรัฐบาลยังคงไม่ให้ความสำคัญกับระดับความเข้มข้นของกัมมันตรังสี แต่กลับพยายามผลักดันให้ประชาชนกลับเข้าไปในพื้นที่ มันจึงเป็นโศกนาฎกรรมและยอมรับไม่ได้" จุนอิชิ ซาโตะ ผู้อำนวยการบริหาร กรีนพีซ ญี่ปุ่น กล่าว
"จากภัยพิบัติทางธรรมชาติ กลายเป็นหายนะภัยทางอุตสาหกรรมครั้งเลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ และเป็นเครื่องเตือนใจว่ามนุษยชาติจำต้องมุ่งสู่ระบบพลังงานหมุนเวียนที่สะอาด และปลอดภัยโดยเร่งด่วน"
การสำรวจผลกระทบทางทะเลจากอุบัติภัยนิวเคลียร์ฟุกุชิมะของกรีนพีซญี่ปุ่นจะสิ้นสุดลงในวันนี้ ตลอดสามสัปดาห์ที่ผ่านมา ทีมตรวจสอบรังสีบนเรือวิจัยของญี่ปุ่นได้สำรวจพื้นที่ในรัศมี 100 กิโลเมตรนอกชายฝั่งฟุกุชิมะ ผลการวิจัยและการวิเคราะห์ตัวอย่างในห้องทดลองรังสีทั้งในญี่ปุ่นและฝรั่งเศสจะประเมินออกมาภายในอีกสองเดือนข้างหน้า และ เผยแพร่ได้หลังจากนั้น
"ผู้ต้องรับผิดชอบ โดยเฉพาะบริษัท TEPCO และรัฐบาลญี่ปุ่น จะต้องชดใช้ผลกระทบและความเสียหายที่เกิดขึ้น และให้ความสำคัญต่อความปลอดภัยสาธารณะและสิ่งแวดล้อม ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในระดับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์และในเขตจังหวัดฟุกุชิมะ จากคำสั่งศาลครั้งประวัติศาสตร์เมื่อวันที่ 9 มีนาคมที่ผ่านมา ได้ส่งผลให้มีการปิดเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ทากาฮามะหน่วยที่ 3 ในวันนี้ การปิดเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ดังกล่าวเป็นการส่งสัญญาณว่า พลังงานนิวเคลียร์ไม่มีอนาคตในญี่ปุ่น" ฌอน เบอร์นี ผู้เชี่ยวชาญอาวุโสด้านนิวเคลียร์? ประจำกรีนพีซเยอรมนี
วันนี้ เรือเรนโบว์วอร์ริเออร์ ของกรีนพีซ? ได้ร่วมรำลึกถึงผู้ประสบภัยแผ่นดินไหว และสึนามิที่พัดถล่มชายฝั่งญี่ปุ่น เมื่อเดือนมีนาคม2554 หรือ เมื่อห้าปีก่อน ลูกเรือเรนโบว์วอร์ริเออร์?ร่วมโปรยดอกไม้จากดาดฟ้าเรือ ระหว่างแล่นผ่านชายฝั่งฟุกุชิมะ เพื่อแสดงความรำลึกถึงผู้เสียชีวิตและผู้ที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว สึนามิ และหายนะภัยนิวเคลียร์
หายนะภัยนิวเคลียร์ฟุกุชิมะก่อให้เกิดการรั่วไหลของรังสีลงสู่มหาสมุทรครั้งใหญ่ที่สุดในครั้งเดียวของประวัติศาสตร์โลก และยังเป็นหนึ่งในหายนะภัยนิวเคลียร์ที่ความเข้มข้นของรังสีที่รั่วไหลอยู่ในระดับ 7 ซึ่งอีกแห่งหนึ่งคือ เชอร์โนบิล หลักฐานของผลกระทบจากรังสีต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติปรากฎให้เห็นชัดเจน ตั้งแต่การทำลายดีเอ็นเอของสัตว์ป่า ไปจนถึงต้นไม้ที่เติบโตอย่างไม่สมประกอบ [2]
หมายเหตุ
[1] มีนาคม 2554, ญี่ปุ่นมีเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์เชิงพานิชย์ 54 เครื่อง ปัจจุบันมีเพียงสองเครื่องที่ยังใช้งานอยู่
[2] รายงาน: "Radiation Reloaded: Ecological Impacts of the Fukushima Daiichi Nuclear Accident – 5 years on" สามารถอ่านได้ที่http://www.greenpeace.org/seasia/th/press/reports/Radiation-Reloaded/
[3] ข้อมูลเพิ่มเติม การรณรงค์ที่ญี่ปุ่น here: www.greenpeace.org/japan/erj/
ภาพ: ภาพการวิจัยและการสำรวจใต้น้ำ สามารถดูได้ที่ http://photo.greenpeace.org/shoot/27MZIFJ6IX7UR และhttp://photo.greenpeace.org/C.aspx?VP3=SearchResult&LBID=27MZKTNFOWQR5&IT=Thumb_FixedHeight_M_Details_NoToolTip
วิดีโอ: คลิปการปนเปื้อนใต้น้ำ ปากแม่น้ำ และ ภาพจากโดรน สามารถดูได้ที่ http://photo.greenpeace.org/shoot/27MZIFJ6IXKD9