กรุงเทพฯ--21 มี.ค.--กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวในการแถลงข่าวรายงานภาวะเศรษฐกิจท่องเที่ยว ฉบับที่ 2 ในส่วนแนวโน้มสถานการณ์ท่องเที่ยวไทย ไตรมาสที่ 1 ปี 2559คาดว่าจะมีรายได้รวม 0.66 ล้านล้านบาท เป็นรายได้จากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ 0.45 ล้านล้านบาท และรายได้จากการท่องเที่ยวภายในประเทศของชาวไทย 0.21 ล้านล้านบาท
แนวโน้มสถานการณ์ท่องเที่ยวระหว่างประเทศ ไตรมาสที่ 1 ปี 2559ไทยมีจำนวนนักท่องเที่ยว 8.94 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 14.3 จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา และสร้างรายได้ให้แก่ประเทศ 4.56 แสนล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 18.2 จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาสถานการณ์ที่น่าสนใจที่มีผลต่อการท่องเที่ยวไทยในไตรมาสที่ 1 ปี 2559คือนักท่องเที่ยวจีนยังคงเติบโตต่อเนื่องจากปีก่อนหน้า โดยเฉพาะในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ตรงกับเทศกาลตรุษจีน มีจำนวนสูงถึง 950,000 คน และคาดว่าตลอดทั้งไตรมาสที่ 1 จะมีจำนวน 2.51 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 25.4 จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาและนักท่องเที่ยวยุโรปที่หดตัวต่อเนื่องในช่วงปลายปีที่ผ่านมา ปรับตัวดีขึ้นและเริ่มฟื้นตัวในเดือนกุมภาพันธ์ และคาดว่าตลอดทั้งไตรมาสที่ 1 จะมีจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ 2.09 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 8.3 จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาโดยมีประเด็นด้านการท่องเที่ยวที่ควรคำนึงถึงในปี 2559 ได้แก่แนวโน้มนักท่องเที่ยวจากเมืองรองของจีนยังขยายตัวมากขึ้นน้ำมันโลกขาลงกระตุ้นการเดินทางระหว่างประเทศการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอเมริกาการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนการเตือนการก่อการร้ายในประเทศไทย และการแข่งขันแย่งชิงนักท่องเที่ยวจีน
แนวโน้มสถานการณ์ท่องเที่ยวภายในประเทศ ไตรมาสที่ 1 ปี 2559ชาวไทยเดินทางท่องเที่ยว จำนวน 37 ล้านคน - ครั้ง ขยายตัวร้อยละ 5 จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา และสร้างรายได้ 2.06 แสนล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 6.9 จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาสถานการณ์ที่น่าสนใจที่มีผลต่อการท่องเที่ยวไทยในไตรมาสที่ 1 ปี 2559คือการท่องเที่ยวใน 7 เมืองหลัก (กรุงเทพฯ เชียงใหม่ ชลบุรี ภูเก็ต กระบี่ สุราษฎร์ธานี และสงขลา) สร้างรายได้ 1.25 แสนล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 2 จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาและการท่องเที่ยวใน 12 เมือง ต้องห้าม...พลาด สร้างรายได้ 0.15 แสนล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 5.8 จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาโดยมีประเด็นด้านการท่องเที่ยวที่ควรคำนึงถึงในสถานการณ์การท่องเที่ยวภายในประเทศในปี 2559 ได้แก่การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวใหม่เพิ่มใน "12 เมืองต้องห้าม...พลาด พลัส"การเพิ่มวันหยุดต่อเนื่องพิเศษนักท่องเที่ยวเกินขีดความสามารถในการรองรับของพื้นที่ในบางช่วงเวลา (เทศกาล)ความมั่นใจในภาวะเศรษฐกิจลดลงและการจับจ่ายใช้สอยลดลงและการแข่งขันในตลาดท่องเที่ยวต่างประเทศ ดึงนักท่องเที่ยวไทย
ทั้งนี้ไตรมาสที่ 1 ปี 2559 จะมีรายได้จากการท่องเที่ยวทั้งสิ้น 0.66ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 27 ของเป้าหมายรายได้ในปี 2559 (2.4 ล้านล้านบาท) และคาดว่าตลอดทั้งปี 2559 จะมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ 32 ล้านคน
ผลการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยด้วยการท่องเที่ยวของปี 2558ผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคการท่องเที่ยว มีสัดส่วนร้อยละ 16.57 ของ GDP รวมของประเทศ เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 14.32 ในปี 2557 และก่อให้เกิดการจ้างงาน 4.16 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 จากปี 2557 และสร้างรายได้ให้แก่ภาครัฐจากภาษี 6.36 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 จากปี 2557สำหรับการลงทุนด้านการท่องเที่ยวในปี 2558 มีมูลค่าประมาณ 6.82 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.3 จากปี 2557 และมูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในสาขาธุรกิจบริการที่เกี่ยวข้องที่สำคัญ 4 สาขาหลัก คือ สถานพักแรม การโดยสารทางบก อาหารและเครื่องดื่ม และการจำหน่ายสินค้าท่องเที่ยว ขยายตัวในทุกสาขา ประมาณร้อยละ 6 - 9
นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวต่ออีกว่าในโอกาส ที่ไทยได้เข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economics Community : AEC) อย่างเต็มตัว ประเทศไทยจึงต้องพิจารณาถึงความเชื่อมโยงการท่องเที่ยวอาเซียนในประเด็นสำคัญที่มีผลต่อระบบการท่องเที่ยว ดังนี้
นโยบายการเชื่อมโยงอาเซียน พัฒนาระบบการเชื่อมโยงทางบก ทางน้ำ และทางอากาศระหว่างประเทศภายในกลุ่มอาเซียนและต่อเนื่องสู่ประเทศนอกกลุ่มอาเซียนและไทยควรยกระดับเป็น ASEAN Hub และพัฒนาเส้นทางทั้งบกและอากาศเชื่อมโยงทั้งภายในกลุ่มอาเซียน และต่อเนื่องสู่ประเทศนอกกลุ่มอาเซียน ASEANทำให้ไทยเป็น Single Destination
ภาพรวมการท่องเที่ยวอาเซียนจำนวนนักท่องเที่ยวของอาเซียน ปี 2554 – 2557 เติบโตต่อเนื่องและขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 10 ต่อปี มีจำนวนเพิ่มขึ้นจาก 81 ล้านคน ในปี 2554 เป็น 105 ล้านคน ในปี2557 ในจำนวนนี้ มากกว่าครึ่งหนึ่ง (53.2%) เป็นนักท่องเที่ยวนอกลุ่มอาเซียน (Extra Asean) และอีกร้อยละ 46.8 เป็นนักท่องเที่ยวในกลุ่มอาเซียนด้วยกัน สำหรับประเทศที่นักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ไปเยือนมากที่สุด คือ มาเลเซีย มีสัดส่วนเท่ากับร้อยละ 41และไทยมีสัดส่วนสูงเป็นอันดับที่ 2 ประมาณร้อยละ 13
สถานการณ์นักท่องเที่ยวอาเซียนของไทย นักท่องเที่ยวอาเซียนของไทยในปี 2558 มีจำนวน 7.8 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 26 ของจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งหมด และ 3 อันดับแรก คือ มาเลเซีย สปป.ลาว และสิงโปร์และในระหว่างปี 2554-2558 ขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 10 ต่อปีนักท่องเที่ยวอาเซียนมาประเทศไทยทางบกมากที่สุด (4.18 ล้านคน (53.1%))ทางอากาศ (3.53 ล้านคน (44.8%))และทางเรือ (0.16 ล้านคน (2.1%)) ตามลำดับ นอกจากนี้ นักท่องเที่ยวอาเซียนเกือบทุกประเทศ มากรุงเทพฯ มากเป็นอันดับที่ 1 ยกเว้นมาเลเซียที่ไปภาคใต้มากที่สุด
ประเทศไทยเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สามารถตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของนักท่องเที่ยวได้วัตถุประสงค์การเดินทางของนักท่องเที่ยวอาเซียนที่เดินทางมาไทย สูงสุด 4 อันดับแรก คือ ท่องเที่ยว/พักผ่อน ติดต่อธุรกิจ ช้อปปิ้ง และMICE
นักท่องเที่ยวอาเซียนใช้จ่ายในการเดินทางท่องเที่ยวไทย เฉลี่ยคนละ 28,076.43 บาท/ทริป ในจำนวนนี้เป็นค่าซื้อสินค้า/ของที่ระลึกเฉลี่ยคนละ 8,568.10 บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 30 ของค่าใช้จ่ายทั้งหมดสำหรับสินค้าที่มีมูลค่าการใช้จ่ายสูงสุด 5 อันดับ ได้แก่ เสื้อผ้า อาหารแห้ง/ของขบเคี้ยว เครื่องหนัง อัญมณี/เครื่องประดับ และเครื่องใช้ไฟฟ้า ตามลำดับ
โอกาสการขยายตลาด และกิจกรรมทางการท่องเที่ยวในพื้นที่ภูมิภาคอาเซียน เนื่องจากประเทศไทยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงและกระจายนักท่องเที่ยวของอาเซียน (Asean Hub) ทั้งการเดินทางทางบกและทางอากาศ การขยายตัวของเที่ยวบิน Low Cost ภายในประเทศและระหว่างประเทศ มีความพร้อมด้านที่พัก สาธารณูปโภค บริการที่สอดคล้องกับความต้องการ และการส่งเสริมการสร้างเส้นทางเชื่อมโยงทั้งระดับเมืองหลักสู่เมืองหลัก (C2C) เมืองหลักสู่ท้องถิ่น (C2L) และท้องถิ่นสู่ท้องถิ่น (L2L)
ผลกระทบจากการรวม ASEAN ต่อภาคการท่องเที่ยวทำให้นักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นจากความสะดวกในการเดินทางเข้าสู่ภูมิภาคอาเซียนและระหว่างอาเซียนวันพักในอนาคตของไทยอาจลดลง และกระจายสู่แหล่งท่องเที่ยวใหม่ในภูมิภาคการเชื่อมต่ออาเซียนจะส่งเสริมให้เศรษฐกิจเมืองชายแดนขยายตัวการขยายการลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน สร้างโอกาสทางธุรกิจแก่ผู้ประกอบการไทย แต่อาจเกิดปัญหาแรงงานต่างด้าวคืนถิ่นการเป็นศูนย์กลางคมนาคมอาจก่อให้เกิดปัญหาความแออัด และประสิทธิภาพการให้บริการของท่าอากาศยานและด่านชายแดน
แนวทางในการดึงนักท่องเที่ยวในภูมิภาคอาเซียนส่งเสริมกิจกรรมให้ไทยเป็นแหล่งท่องเที่ยว พักผ่อน ติดต่อธุรกิจ ช้อปปิ้ง และ MICEพัฒนาระบบสาธารณูปโภค สินค้าและบริการต่างๆนอกเหนือจากด้านการท่องเที่ยวที่สอดคล้องกับความต้องการของอาเซียนแต่ละชาติเร่งขยายตลาดนักท่องเที่ยวในประเทศที่มีศักยภาพ และมีสัดส่วนการเดินทางมาท่องเที่ยวประเทศไทยต่ำเช่น อินโดนีเซีย
ความร่วมมือเชิงแข่งขันยกระดับประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางรองรับและกระจายนักท่องเที่ยวของอาเซียนทั้งทางบก และทางอากาศส่งเสริมการลงทุนของนักธุรกิจด้านการท่องเที่ยวไทยในประเทศเพื่อนบ้าน ที่บริการท่องเที่ยวยังเป็นรองไทยพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวก สำหรับการเดินทางระหว่างประเทศโดยรถยนต์ เพื่อกระตุ้นการแวะพักก่อนเดินทางออกนอกประเทศ หรือกระจายการท่องเที่ยวสู่พื้นที่ตอนในของไทย เช่น พิษณุโลก หนองคาย เชียงราย รวมถึงการเดินทางอากาศ และทางน้ำส่งเสริมให้ไทยเป็นเริ่มต้นและจุดปลายทางของเส้นทางท่องเที่ยวอาเซียน การพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยว
นโยบายภาครัฐ ASEAN Hub (บก น้ำ อากาศ)และการเชื่อมโยงทุกระดับ Weekend Destination ส่งเสริมการทำข้อตกลงแลกเปลี่ยนผลประโยชน์กิจกรรมท่องเที่ยวระหว่างกัน