ฮิตาชิ วางรากฐานสู่การผลิตไมโครไดรฟ์ ความจุ 20กิกะไบต์ ด้วยเทคโนโลยีใหม่

ข่าวเทคโนโลยี Tuesday April 5, 2005 17:35 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--5 เม.ย.--เวเบอร์ แชนด์วิค ประเทศไทย
โดยบีบอัดข้อมูลให้มีความหนาแน่นถึง 230กิกะไบต์ / ตารางนิ้ว ด้วยเทคโนโลยีการบันทึกแบบแนวดิ่ง
ด้วยความร่วมมือจากนักวิทยาศาสตร์ชื่อดัง สร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่แห่งการทดสอบครั้งนี้
วันนี้บริษัท ฮิตาชิ โกลบอล สตอเรจ เทคโนโลยีส์ ประกาศถึงความสำเร็จในการพลิกประวัติศาสตร์เทคโนโลยีบันทึกข้อมูลแบบหัวอ่านแม่เหล็กที่ใช้กันมากว่า 100 ปี สู่การใช้เทคโนโลยีใหม่เพื่อเพิ่มความสามารถในการบันทึกข้อมูล อาจทำให้ได้ไมโครไดรฟ์ที่มีความจุถึง 20 กิกะไบต์ หรือฮาร์ดไดรฟ์ 3.5 นิ้วทึ่อาจจุถึง 1 เทราไบต์
จากผลสำเร็จดังกล่าว ฮิตาชิ ได้ทำการทดสอบการบันทึกข้อมูลโดยให้มีอัตราความหนาแน่นของข้อมูลสูงถึง 230 กิกะไบต์ / ตารางนิ้ว (GB/in2) ในลักษณะของการจัดเรียงข้อมูลแบบแนวดิ่ง หรือ Perpendicular recording ซึ่งมากกว่าเดิมในปัจจุบันถึง 2 เท่าที่ใช้เทคโนโลยีการบันทึกแบบแนวนอน ซึ่งฮิตาชิเชื่อว่าจะสามารถพัฒนาเพื่อจำหน่ายได้ทันในปีพ.ศ. 2550 และเมื่อเทคโนโลยีนี้กลายเป็นที่รู้จักอีก 5-7 ปีข้างหน้า ก็จะทำให้การบันทึกข้อมูลในแบบแนวดิ่งนี้ก็จะสามารถทำให้ปริมาณความหนาแน่นของข้อมูลเพิ่มสูงขึ้นได้ถึง 10 เท่า ซึ่งจะทำให้ไมโครไดรฟ์ ขนาด 1 นิ้ว ในปัจจุบันมีความจุเพิ่มสูงขึ้นถึง 60 กิกะไบต์เลยทีเดียว
การบันทึกข้อมูลแบบแนวดิ่ง (Perpendicular recording) นี้ เริ่มต้นขึ้นในปลายศตวรรษที่ 19 โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวเดนมาร์ก ชื่อ วาลเดมาร์ ปูลเซ็น, ผู้ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้คิดค้นวิธีการบันทึกเสียงโดยใช้แม่เหล็กในรูปแบบแนวดิ่ง ซึ่งเทคโนโลยีดังกล่าวก็ถูกเรียกตามรูปแบบการบันทึกบนจานแผ่นดิสก์นั่นเอง ซึ่งใช้พื้นที่น้อยกว่าการบันทึกแบบเดิมที่ใช้อยู่ในปัจจุบันที่เป็นเทคโนโลยีการบันทึกแบบแนวนอน (longitudinal technology) และเพื่อให้การบันทึกและอ่านค่าเป็นไปอย่างเที่ยงตรง การจัดวางรูปแบบบันทึกให้มีลักษณะแนบชิดกันมากขึ้นก็เป็นสิ่งสำคัญ โดยฮิตาชิได้จัดวางให้แนวการบันทึกมีระยะห่างเพียง 10 นาโนเมตร หรือ เศษ 1 ส่วน 10,000 ของขนาดเส้นผมมนุษย์ ผสานการออกแบบการทำงานระหว่างหัวอ่าน/หัวบันทึก รวมถึงสื่อที่ใช้บันทึกให้สัมพันธ์กัน ซึ่งผลสำเร็จก็ออกมาในรูปของความสามารถในการบีบอัดข้อมูลให้มีความหนาแน่นได้สูงถึง 230 กิกะไบต์ / ตารางนิ้ว
ในขณะที่ฮาร์ดไดรฟ์แบบ longitudinal technology ประสบความสำเร็จมาเป็นระยะเวลากว่า 5 ทศวรรษ บัดนี้ผลิตภัณฑ์แห่งยุคทั้ง 2 ชิ้น ต่างก็ได้มาถึงจุดเปลี่ยนที่สำคัญ เนื่องจากนักวิจัยได้คนพบว่า longitudinal technology นี้ทำให้ประสิทธิภาพในการเก็บและความเสถียรของข้อมูลจะสูญเสียไปที่ระดับความหนาแน่น 120 กิกะไบต์ / ตารางนิ้ว
“เราก้าวมาถึงจุดสำคัญของการพัฒนาเทคโนโลยีฮาร์ดไดรฟ์ที่สำคัญที่สุดแห่งทศวรรษ ซึ่งสิ่งนี้จะกลายเป็นสิ่งจำเป็นมาตรฐานสำหรับอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์คอนซูมเมอร์ อิเล็กทรอนิกส์ในอนาคต” จุน นารูเสะ, ซีอีโอ, บริษัท ฮิตาชิ โกลบอล สตอเรจ เทคโนโลยีส์ จำกัด “ในฐานะที่เป็นบริษัทผู้ผลิตฮาร์ดไดรฟ์ขนาดเล็กที่ใหญ่ที่สุด ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ฮาร์ดไดรฟ์ตั้งแต่ขนาด 2.5 นิ้วลงมา ความต้องการของลูกค้าที่ต้องการอุปกรณ์เก็บข้อมูลขนาดเล็กแต่มีประสิทธิภาพความจุที่สูงนั้นจึงเป็นแรงกระตุ้นอย่างดีที่จะทำให้เรารีบพัฒนา perpendicular recording ดังกล่าวให้เป็นจริง”
ในขณะที่เทคโนโลยีการบันทึกข้อมูลแบบแนวดิ่งจะถูกนำมาใช้กับผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่ในยุคหน้า, ฮิตาชิก็ยังคงเชื่อว่าศักยภาพที่แท้จริงในการบีบอัดข้อมูลจะมีความหนาแน่นที่ 200+ กิกะไบต์ / ตารางนิ้ว - - สิ่งที่สำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีดังกล่าวก็คือการพัฒนาประสิทธิภาพความจุโดยใช้เทคโนโลยี longitudinal technology ให้เป็นเทคโนโลยีมาตรฐานอย่างสมบูรณ์
การทดสอบ Perpendicular Recording
เมื่ออุตสาหกรรมฮาร์ดไดรฟ์ได้มาถึงจุดเปลี่ยนที่สำคัญทางด้านเทคโนโลยีเพื่อบันทึกข้อมูล ฮิตาชิ ก็ได้เตรียมที่จะนำ perpendicular recording ดังกล่าวนี้ออกไปทดสอบภาคสนามตามภูมิภาคต่างๆทั่วโลก โดยผู้ที่ทำการทดสอบได้นำฮาร์ดไดรฟ์แบบ perpendicular recording มาใช้ร่วมกับระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2547 ที่ผ่านมา และโปรแกรมดังกล่าวก็ยังได้ช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีใหม่มาสูตลาดในอนาคตอีกด้วย และ ฮิตาชิ ก็คาดว่าจะสามารถสร้างความเคลื่อนไหวได้อีกครั้งในปีพ.ศ. 2549 ถือเป็นย่าวก้าวที่สำคัญของฮิตาชิ ที่จะทำให้โปรแกรมการทดสอบ perpendicular recording ที่ขยายพื้นที่ทดสอบไปยังภูมิภาคต่างๆ เป็นไปอย่างเรียบร้อยเพื่อส่งผลทางความน่าเชื่อถือในระยะยาว
โปรเฟสเซอร์ ชุนอิจิ อิวาซากิ, ประธานและผู้อำนวยการ ของสถาบันเทคโนโลยีโตโฮกุ ประเทศญี่ปุ่น (Japan’s Tohoku Institute of Technology) ผู้ได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาแห่ง perpendicular recording สมัยใหม่ และเป็นผู้ที่ได้ทดสอบฮาร์ดไดรฟ์แบบ perpendicular recording ของฮิตาชิ กล่าวว่า
“ผมได้ทำการวิจัยศึกษาเกี่ยวกับการบันทึกข้อมูลด้วยแม่เหล็กมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2494 และก็ได้พบว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดนั้นก็คือ ความสามารถในการบันทึกให้มีความหนาแน่นได้มากที่สุด” โปรเฟสเซอร์ อิวาซากิ กล่าว “ประมาณปีพ.ศ. 2518 ผมก็เริ่มรู้สึกว่าการบันทึกข้อมูลในรูปแบบแนวดิ่งนั้นเป็นวิธีการที่ถูกต้องที่จะทำให้เราบันทึกข้อมูลได้อย่างหนาแน่นที่สุด และผมก็ได้เริ่มลงทำทุกอย่างเพื่อที่จะให้รูปแบบการบันทึกข้อมูลแบบ perpendicular เป็นเทคโนโลยีพื้นฐานใช้กันทั่วไป ผมดีใจมากที่รู้ว่าเทคโนโลยีดังกล่าวกำลังจะเกิดขึ้น และได้ใช้ในเร็ววันนี้”
การเข้าร่วมทดสอบภาคสนามกับฮิตาชิ ในฐานะที่เป็นผู้แรกที่สร้างประวัติศาสตร์การบันทึกข้อมูลแบบแนวดิ่งลงบนฮาร์ดไดรฟ์ ผู้ร่วมทำการทดสอบจะเป็นตัวแทนจากสถาบันการศึกษา ผู้มีชื่อเสียงในอุตสาหกรรมต่างๆ และลูกค้าจากทั่วโลก ซึ่งจะใช้ระบบโน๊ตบุ้คของบริษัทผู้ผลิตยี่ห้อต่างๆ ที่ใช้ฮาร์ดไดรฟ์ Travelstar ขนาด 2.5 นิ้ว ของฮิตาชิและข้อมูลต่างๆ ที่ได้จากโปรแกรมทดสอบนี้ก็จะช่วยให้ฮิตาชิสามารถเตรียมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ฮาร์ดไดรฟ์แบบ perpendicular recording ในขั้นตอนสุดท้ายได้อย่างสมบูรณ์ ฮิตาชิคาดหวังว่าจะสามารถผลิตและส่งออกฮาร์ดไดรฟ์ขนาด 2.5 นิ้ว แบบ perpendicular recording สำหรับคอมพิวเตอร์โน้ตบุ้ค และสินค้า คอนซูมเมอร์ อิเล็กทรอนิกส์แบบพกพา ได้ภายในปีพ.ศ. 2548 นี้
“สภาพโดยรวมของอุตสาหรรมฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ภายในอีก 5-10 ปีข้างหน้า จะเห็นความพยายามในการนำเทคโนโลยีบันทึกข้อมูลในรูปแบบแนวดิ่งมาใช้มากขึ้น” จิม พอร์เตอร์, นักประวัติศาสตร์และนักวิเคราะห์อุตสาหกรรมฮาร์ดไดรฟ์, และเจ้าของบริษัท DISK/TREND กล่าว, “ฮิตาชิก็ได้รับผิดชอบในการทดสอบการทำงานนี้เพื่อให้มั่นใจได้ว่ามันจะสามารถทำงานได้อย่างราบรื่นด้วยการขยายโปรแกรมการทดสอบนี้”
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการทดสอบภาคสนาม, ฮิตาชิได้ทำการพัฒนาความน่าเชื่อถือของผลิตภัณฑ์ในระยะยาวด้วยการมุ่งเน้นการทดสอบตามกฎข้อบังคับต่างๆ อย่างเคร่งครัด และได้ใช้ผลิตภัณฑ์ระหว่างการทดสอบไปแล้วหลายร้อยชิ้นในหลายเดือนที่ผ่านมา
สิ่งที่น่ารู้เกี่ยวกับข้อจำกัดของ Superparamagnetic
สำหรับการบันทึกข้อมูลในแบบแนวนอน หรือ longitudinal recording แล้ว อุตสาหกรรมฮาร์ดไดรฟ์ก็ต้องพบกับอุปสรรคของการบันทึกข้อมูลในแบบดังกล่าวที่เรียกว่า superparamagnetic limit ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อผลึกแม่เหล็กขนาดเล็กมากที่อยู่บนแผ่นดิสก์สลายตัวและมีขนาดเล็กลงจนไร้ประสิทธิภาพที่จะต้านทานภาวะความเสียหายที่เกิดจากปัจจัยต่างๆ ได้ ส่งผลให้หลายปีที่ผ่านมา การบันทึกข้อมูลต่างๆ ลงบนผลึกแม่เหล็กนั้นเกิด
ลบเลือนและเสียหาย, อันเป็นผลมาจากอุปกรณ์สำหรับการเก็บข้อมูลนั้นขาดประสิทธิภาพ เชื่อถือไม่ได้ และทำให้ข้อมูลใช้ไม่ได้ ซึ่งลักษณะที่เกิดขึ้นก็คล้ายกับลักษระของโดมิโนนั่นเอง longitudinal recording ก็คือ การบันทึกหรือจัดเรียงข้อมูลตามแนวนอนซึ่งใช้พื้นที่มากกว่า แต่ในทางกลับกันการจัดเรียงข้อมูลแบบแนวดิ่ง หรือ perpendicular recording นั้นจะจัดข้อมูลแบบโดมิโนเรียงไปตามพื้นที่ที่มี กล่าวคือการจัดเรียงข้อมูลแบบนี้จะทำให้จำนวน bits บนแผ่นดิสก์ลต่อตารางนิ้วมีมากขึ้น ซึ่งก็จะส่งผลให้ประสิทธิภาพโดยรวมในการเก็บข้อมูลเพิ่มสูงขึ้น
หากต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการบันทึกข้อมูลแบบ perpendicular recording สามารถเข้าไปดูได้ที่เวปไซต์http://www.hitachigst.com/hdd/research/recording_head/pr/index.html
* 1 กิกะไบต์ = 1 พันล้านไบต์
เกี่ยวกับ Hitachi Global Storage Technologies (ฮิตาชิ จีเอสที)
ฮิตาชิ จีเอสที ก่อตั้งขึ้นในปีพ.ศ. 2546 ในฐานะที่เป็นบริษัทร่วมระหว่าง ฮิตาชิ และ ไอบีเอ็ม โดยมีเป้าหมายในการประกอบธุรกิจด้านเทคโนโลยีการเก็บข้อมูลดิจิตอล เมื่อสิ้นปีพ.ศ. 2546 ฮิตาชิ จีเอสที ได้กลายเป็นบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของโลกโดยมีรายได้รวมทั้งสิ้นกว่า 4.2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
จุดมุ่งหมายหลักของบริษัทฯคือการอำนวยความสะดวกด้านการเข้าถึงข้อมูลดิจิตอลปริมาณมากๆ เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิตอลได้อย่างสะดวกสบายในชีวิตประจำวัน โดยมีผลิตภัณฑ์ที่ครอบคลุมการใช้งานทั้งในสำนักงาน บนท้องถนนหรือที่บ้านพักอาศัยทั่วไป บริษัทฯ ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เพื่อการเก็บข้อมูลหลากหลายประเภทเพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคให้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เซิร์ฟเวอร์ หรืออุปกรณ์มือถือทั่วไป หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ฮิตาชิ จีเอสที โปรดเข้าไปที่เว็บไซต์ของบริษัท www.hitachigst.com
เกี่ยวกับ Hitachi, Ltd.
Hitachi, Ltd. (NYSE: HIT) มีสำนักงานใหญ่อยู่ในกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น และเป็นบริษัทด้านผลิตภัณฑ์อิเลกโทรนิกส์ชั้นนำระดับโลก ที่มีพนักงานราว 326,000 คนทั่วโลก ยอดขายสินค้ารวม ณ สิ้นปีงบประมาณ 2546 (31 มีนาคม 2547) อยู่ที่ 8,632.4 พันล้านเยน (81.4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ) บริษัทมีผลิตภัณฑ์ ระบบ และบริการทางธุรกิจที่หลากหลายครอบคลุมตลาดมากมาย อาทิ ตลาดระบบสารสนเทศ ตลาดอุปกรณ์ อิเล็กโทรนิกส์ ตลาดระบบพลังงานและอุตสาหกรรม ตลาดสินค้าอุปโภคบริโภค และตลาดบริการทางการเงินและวัสดุภัณฑ์ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Hitachi โปรดเข้าไปที่เว็บไซต์ของบริษัท http://www.hitachi.com
สามารถคลิกดูภาพได้ที่ www.thaipr.net--0[--

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ