กรุงเทพฯ--24 มี.ค.--นีลเส็น
ผู้บริโภคทั่วโลกจำนวนมากขึ้น หาวิธีดูอื่นๆ ที่เข้ามาเสริมการดูทีวีแบบดั้งเดิมมากกว่าที่จะเดินออกจากมัน
แม้ ภูมิทัศน์ของอุตสาหกรรมมีเดียจะมีจะมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกต่อรูปแบบของการดูวิดีโอเพื่อความบันเทิงมากขึ้นกว่าที่เคยเป็นมา การดูคอนเทนท์ผ่านทีวีแบบดั้งเดิม ยังคงเป็นแพลตฟอร์มอันดับหหนึ่งที่ผู้ชมทั่วโลกต้องการ ข้อมูลล่าสุดจากรายงานของ นีลเส็น แสดงให้เห็นว่า หนึ่งในสี่ ของผู้ตอบแบบสอบถาม ออนไลน์ทั่วโลก (26%) กล่าวว่าพวกเขาจ่ายเงินเพื่อชมการแพร่ภาพ หรือ โปรแกรมผ่าน Video On Demand (VOD) ด้วยการสมัครสมาชิกกับผู้ให้บริการออนไลน์เช่น Hulu , Netflix หรือ Amazon เมื่อเทียบกับ 72% ที่กล่าวว่าพวกเขาเลือกที่จะจ่ายเงินเพื่อรับชมคอนเทนท์ผ่านการเชื่อมต่อกับทีวีแบบดั้งเดิม
"ภูมิทัศน์ของอุตสาหกรรมมีเดียทุกวันนี้ มีความซับซ้อนอยู่ แต่การเจริญเติบโต ของการให้บริการแบบ video-on-demand นั้นสามารถสร้างโอกาสให้กับผู้เล่นทุกคนที่อยู่ในอุตสาหกรรมได้," เมแกน คล้ากเก้น ประธานกรรมการ Nielsen Product Leadership ที่นีลเส็นกล่าว "
ไม่ว่าจะเป็นผู้ชม นักโฆษณา หรือผู้ให้บริการเนื้อหารายการ ประโยชน์ที่จะได้รับนั้นเหมือนกัน นั่นคือการที่เราจะสามารถทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง ไม่ใช่เพียงทำความเข้าใจว่าการรับชมของผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร แต่รวมไปถึงคำถามที่ว่า ทำไมพวกเขาถึงได้เปลี่ยนแปลง สองสิ่งที่เป็นความจริงที่สุดในเวลานี้คือ: เนื้อหาจะเป็นตัวหลักเสมอ และผู้บริโภคจะยังคงมีความต้องการในการควบคุมและปรับเปลี่ยนประสบการณ์ในการรับชมมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นผู้ให้บริการที่สามารถส่งมอบการบริการที่ที่มากกว่ามาตรฐานสำหรับสองอย่างนี้จะได้เปรียบ"
รายงานการสำรวจทั่วโลก ของนีลเส็น ภายใต้หัวข้อ Video-on-Demand นั้นเก็บข้อมูลจาก ผู้ตอบแบบสอบถาม ออนไลน์ กว่า 30,000 ใน 61 ประเทศ เพื่อวัดความคิดเห็นของคนทั่วโลก เกี่ยวกับการดู VOD และ วิธีการโฆษณา ซึ่งจำนวนของผู้ชมที่แจ้งว่าตนเองรับชมผ่าน VOD นั้นมีจำนวนที่น่าสนใจ โดยมากกว่า 8 ใน 10 ( 83% ) ของผู้บริโภคออนไลน์ในภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ นั้นมีการสมัครสมาชิกทีวี และอีก เกือบ 1 ใน 5 (17% ) คือผู้ที่สมัครใช้บริการออนไลน์
สตรีมมิ่งแบบ 100% สำหรับประเทศไทยเป็นไปได้หรือไม่
ในขณะที่ผู้ตอบแบบสอบถามชาวไทยส่วนใหญ่ ( 61% ) บอกว่าพวกเขาไม่มีแผนการที่จะยกเลิกการใช้บริการแบบดั้งเดิมที่มีอยู่ เพื่อหันไปหาการให้บริการแบบออนไลน์เท่านั้นแทน แต่สอง ในสาม ( 39% ) กล่าวว่าพวกเขาวางแผนที่จะทำแบบนั้น ซึ่งผู้บริโภคในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกนั้นมีอัตราการตอบสนองต่อการเปลี่ยนไปดูแบบ VOD สูงสุดเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่นๆ โดย 44% ของผู้ตอบแบบสอบถาม ระบุว่าพวกเขา วางแผนที่จะยกเลิกบริการจากเคเบิลหรือดาวเทียม เพื่อมาใช้แต่บริการออนไลน์ เท่านั้น
"ความนิยมที่เพิ่มมากขึ้นของบริการวิดีโอออนไลน์นั้น จะยังคงสร้างแรงกดดันต่อ เครือข่ายต่างๆ รวมถึงช่องเคเบิลและทีวีดาวเทียม อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงโดยการนำเอาบริการหนึ่งมาทดแทนการให้บริการอีกแบบหนึ่งน่าจะยังไม่เกิดขึ้น " คล้ากเก้น กล่าว "ในขณะที่ ผู้บริโภคอาจลดทอนการใช้บริการรูปแบบที่เคยใช้อยู่ แต่ก็ไม่ได้ตัดขาดโดยสิ้นเชิง นอกจากนี้ผู้ให้บริการแบบออนไลน์ เจ้าของเครือข่าย และตัวแทนจำหน่ายของโปรแกรมต่างๆ ต่างก็ เผชิญกับความท้าทาย หลายอย่างเช่นเดียวกัน เข่น ความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และทางเลือกต่างๆ ที่มากมายรวมถึงราคาของคอนเทนต์ที่สูงขึ้น ในระยะเวลาอันใกล้นี้ ภัยคุกคามที่ใหญ่ที่สุดคือการที่ ผู้บริโภค ประเมินผลประโยชน์ของการใช้บริการ และตัดสินใจที่จะลดแพคเกจที่ใช้อยู่ลงเพื่อให้เหมาะกับความต้องการในการใช้งานและเพื่อให้คุ้มค่าเม็ดเงินที่จ่ายไป"
สมวลี ลิมป์รัชตามร กรรมการผู้จัดการประจำนีลเส็นประเทศไทย กล่าวเพิ่มเติม "การเติบโตของโปรแกรมบน วิดีโอ ออนดีมานด์ ที่ผู้ชม สามารถเลือกดาวน์โหลด หรือ สตรีมเนื้อหา ไม่ว่าจะเป็นจากทั้ง แพคเกจของทีวี แบบดั้งเดิม หรือจากออนไลน์นั้นต่างก็เปิดโอกาสให้ผู้บริโภคมีสิทธิ์ในการควบคุมสิ่งที่ตนเองต้องการดูได้มากขึ้นกว่าที่เคย ไม่ว่าจะเป็นอะไร เมื่อไหร่ และอย่างไร สิ่งที่น่าสนใจกว่านั้นคือการที่เรา ได้เห็น ผู้ชม ขยาย ขอบเขตในการใช้แพลตฟอร์มในการบริโภคสื่อของพวกเขา รวมถึงปริมาณของสื่อต่างๆ ที่พวกดู อย่างไรก็ตามการให้บริการด้านคอนเทนท์ไม่ว่าจะเป็นบนโลกออนไลน์หรือแบบดั้งเดิมนั้นในความเป็นจริงแล้วสามารถเป็นการให้บริการที่สอดคล้องและเสริมกันมากกว่าที่ผู้บริโภคจะเลือกใช้บริการใดบริการหนึ่ง "
ผู้บริโภคชาวไทยหาทางเลือกในการบริโภคโฆษณาผ่าน VOD
เกือบสองในสาม ของผู้ตอบแบบสอบถามชาวไทย ( 62% ) ต้องการที่จะเห็นเฉพาะโฆษณาของผลิตภัณฑ์ที่ พวกเขาสนใจ ในขณะที่ 61% ของ ผู้ชม VOD บอกว่า โฆษณา ออนไลน์ที่แสดงให้เห็นก่อน ระหว่าง หรือหลัง การดูผ่านโปรแกรม VOD นั้นเป็นสิ่งที่รบกวนพวกเขา และ 59% ต้องการที่จะบล็อคโฆษณาสินค้าทั้งหมด
ในทางตรงกันข้าม มากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ตอบแบบสอบถาม ในประเทศไทย ที่ใช้บริการ VOD (58%) ค่อนข้าง หรือ เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งว่า เนื้อหาของโฆษณาใน VOD สามารถบอกข้อมูล สำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่ที่พวกเขาอาจอยากลองใช้ และ 60 % บอกว่า พวกเขาไม่รู้สึกอะไรกับโฆษณา ตราบใดที่พวกเขา สามารถดูเนื้อหาได้โดยไม่เสียค่าใช่จ่าย
"เกือบสอง ทศวรรษที่ผ่านมา บิลเกตส์ ประกาศว่า " Content is King" และไม่จำเป็นต้องพูดอะไรเพิ่มเติมเพราะสิ่งที่เกตส์พูดนั้นถูกต้องแล้ว การปรับเนื้อหาและโฆษณาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมายต่างๆ นั้นเป็นกุญแจสำคัญในการทำให้ผู้บริโภครู้สึกมีส่วนร่วม ดึงดูด และครองความสนใจของพวกเขา," ย้ำ สมวลี ลิมป์รัชตามร กรรมการผู้จัดการประจำนีลเส็นประเทศไทย
สภาพแวดล้อมของสื่อในปัจจุบันนี้ สิ่งที่คงที่เพียงอย่างเดียวคือ 'การเปลี่ยนแปลง' ซึ่ง VOD อาจเป็นหนึ่งในสิ่งที่ก้าวเข้ามาเมื่อเร็ว ๆ นี้ แต่มันก็แสดงให้เห็นถึงความต่อเนื่องของการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นมามานานกว่า ทศวรรษที่ผ่านมา และก้าวเดินของการเปลี่ยนแปลงนี้ดูแล้วคงจะไม่ชะลอตัวในเร็ว ๆ นี้ ดังนั้นการชนะใจผู้ชมในช่วงเวลานี้คงเป็นสิ่งที่ท้าทายมากขึ้น ในขณะที่ การเปลี่ยนแปลง และความไม่แน่นอน อาจเป็นเรื่องยาก ดังนั้นผู้ให้บริการเนื้อหาจึงต้องกระฉับกระเฉง มีความยืดหยุ่นและ สามารถที่จะรับรู้และนำหน้าความท้าทายใหม่ๆ ที่กำลังจะเข้ามาในอนาคต