มารีน อัลลายน์อันซ์ ประเทศไทย แต่งตั้งประธานคนใหม่

ข่าวท่องเที่ยว Wednesday May 25, 2005 11:36 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--25 พ.ค.--โทเทิล ควอลิตี้ พีอาร์
ในที่ประชุมครั้งล่าสุดของ มารีน อัลลายน์อันซ์ (ประเทศไทย) หรือ เอ็มเอที นาย เกรนวิลล์ ฟอร์ดแฮม กรรมการผู้จัดการของภูเก็ต อินเตอร์เนชั่นแนล มารีน เอ็กซ์โป (ไพเม็กซ์) ซึ่งจัดโดยอิมเมจเอเชีย ได้ทำการเลือกประธานคนใหม่ของกลุ่มอุตสาหกรรม นาย ฟอร์ดแฮม มารับตำแหน่งแทนนายเควิน ควิลตี้ ซึ่งเป็นผู้นำของเอ็มเอทีเมื่อปีที่ผ่านมา
เอ็มเอที คือ กลุ่มอุตสาหกรรมเรือเดินทะเล ที่มีผลงานในการเจรจาเพื่อลดการจัดเก็บภาษีนำเข้าเรือลงเหลือศูนย์เปอร์เซ็นต์จนประสบความสำเร็จ และยังทำการผลักดันอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวทางทะเลของประเทศไทยอีกด้วย
นาย ฟอร์ดแฮม กล่าวว่า “สำหรับก้าวที่สำคัญของเอ็มเอที ก็คือการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดกับเจ้าหน้าที่ของไทย เพื่อช่วยให้เกิดการนำมาซึ่งสภาพแวดล้อมที่ดีและการเจริญเติบโตของภาคอุตสาหกรรมนี้” “แต่ยังมีงานอีกมากที่เราต้องทำ” นาย ฟอร์ดแฮม กล่าวเสริม
สำหรับ 2 เรื่องใหญ่ ๆ ที่ทาง เอ็มเอที จะต้องทำในเดือนที่จะถึงนี้ ก็คือการเพิ่มจำนวนสมาชิก และการ ทำให้กลุ่มอุตสาหกรรมที่ไม่เป็นทางการนี้ให้เป็นองค์กรยอมรับอย่างเป็นทางการ นาย ฟอร์ดแฮม กล่าวว่า “เอ็มเอที ถือกำเนิดขึ้นในจังหวัดภูเก็ต หนึ่งในศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางทะเลของไทย” นายฟอร์แฮม กล่าวอีกว่า “แต่ถ้าเราต้องการที่จะเพิ่มศักยภาพให้เป็นที่ยอมรับ เราก็ต้องขยายฐานของกลุ่มสมาชิกให้กระจายออกไปทั่วประเทศ”
กรรมการคนอื่นๆ ที่จะมาประจำในคณะกรรมการ เอ็มเอที ใหม่นี้ คือ นายแอนดี้ ดาวเด้น หนึ่งในผู้ก่อตั้งอุตสาหกรรมการพักผ่อนโดยการแล่นเรือใบของจังหวัดภูเก็ต, นายแอนดี้ สตีเว่น จากรอยัล ภูเก็ต มารีน่า, วินเซนต์ ทาบูโท จาก ไทย มารีน เลชเชอร์ และนายเควิน ควิลตี้ ซึ่งจะยังคงมีบทบาทในการโปรโมท เอ็มเอที
ก่อนที่จะก้าวลงจากตำแหน่งในฐานะประธาน นายควิลตี้ ได้รายงานผลของการประชุมครั้งที่แล้วของผู้นำในอุตสาหกรรม และองค์กรฝ่ายรัฐบาลที่เกี่ยวข้อง โดยมีประธานในที่ประชุมจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ในที่ปรชุมได้มีการยืนยันว่า ภาษีอากรนำเข้าชิ้นส่วนที่นำมาประกอบเรือได้ถูกยกเลิกแล้ว และกฎหมายที่ได้รับการเปลี่ยนแปลงนี้จะทำให้อุตสาหกรรมกระเตื้องขึ้นอย่างมากจะมีผลใช้อย่างเป็นทางการภายในระยะเวลา 1 ปี
การประชุมร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้มีกล่าวถึงเรื่อง “สถานภาพในระหว่างเดินทางของเรือยอร์ช” และระเบียบการตรวจคนเข้าเมือง ซึ่งทั้งสองประเด็น น่าจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อขีดความสามารถในการนำรายได้มาสู่ธุรกิจต่างๆ ในท้องถิ่นจากการให้บริการเรือยอร์ชและอื่นๆ นาย ควิลตี้ กล่าวว่า “อย่างไรก็ตามทั้ง 2 หัวข้อนั้น ยังต้องการความกระจ่างมากกว่านี้ รวมทั้งการยืนยัน ซึ่งทางเอ็มเอทีจะได้ทำการติดตามต่อไป”
สิ่งที่จะต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรกที่ได้มีการหยิบยกประเด็นโดยสมาชิกของ เอ็มเอที ในระหว่างการประชุมคือความไม่แน่นอนของกฎการขอเข้าเมือง และข้อบังคับ ที่จะมีผลต่อการเข้ามาของนักแล่นเรือ เจ้าหน้ที่ และผู้โดยสารของพวกเขา ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเรือเดินทะเลอ้างว่า นี่เป็นปัจจัยสำคัญอันหนึ่งที่จะชักชวนให้เรือยอร์ชขนาดใหญ่ให้ทิ้งภูเก็ตเพื่อไปที่ประเทศเพื่อนบ้าน ที่สามารถให้ความแน่นอนและไม่ซับซ้อนของกฎหมายต่างๆ
ขณะที่การประชุมของเอ็มเอที ได้แสดงถึงจุดมุ่งหมายหลักในระยะสั้นคือการได้มาซึ่งสถานภาพทางการ และเพิ่มจำนวนสมาชิก โดยได้มีการกล่าวถึงจุดมุ่งหมายในระยะยาว ซึ่งรวมถึงทักษะ การพัฒนา และการฝึกอบรม ในเรื่องการปกป้องสภาพแวดล้อม และมาตรฐานความปลอดภัย สำหรับเรือต่างๆ
หากธุรกิจการท่องเที่ยวทางทะเลในประเทศไทยท่านใดสนใจที่จะเข้ามาเป็นสมาชิกของเอ็มเอที กรุณาติดต่อได้ที่ chairman@marinealliancethailand.com
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
คุณทอม แวน บลาคัม / คุณเมธาวรินทร์ มณีกูลพันธ์
บริษัท โทเทิล ควอลิตี้ พีอาร์
โทร. 0 2260-5820
โทรสาร. 0 2260-5847/8
อีเมล tqprthai@ksc9.th.com
สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net--จบ--

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ