กรุงเทพฯ--11 ธ.ค.--เวเบอร์ แชนด์วิค เวิลด์ไวด์
ฆาตรกรเงียบที่หลายคนยังไม่รู้จัก
โรคซีโอพีดี [COPD - Chronic Obstructive Pulmonary Disease
] หรือโรคการอุดตันของระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง คาดว่าจะเป็นโรคที่เป็นภาระสำคัญอันดับที่ 5 ของโลก ก่อนปี ค.ศ. 2020
ได้มีการประมาณไว้ว่าในปี ค.ศ. 2000 มีคนกว่า 2.74 ล้านคนทั่วโลกที่ต้องเสียชีวิตด้วยโรคการอุดตันของระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง หรือ ซีโอพีดี (Chronic Obstructive Pulmonary Disease - COPD) โดยในการจัดลำดับโรคที่เป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิต โรคนี้จัดเป็นโรคที่มีความสำคัญลำดับที่สี่ ซึ่งอยู่ใน ลำดับเดียวกับโรคเอดส์ (HIV/AIDS) ที่ทำให้ผู้ป่วยต้องเสียชีวิต รองจากโรคหลอดเลือดหัวใจ (coronary heart disease) โรคหลอดเลือดสมอง (cerebrovascular disease) และการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจเฉียบพลัน (acute respiratory infection) การแพร่กระจายของ ซีโอพีดี ในภูมิภาคเอเซียแปซิฟิค ตลอดจนกลยุทธ์ในการจัดการกับปัญหาของโรคนี้ เป็นหัวข้อหลักในการประชุมระดับภูมิภาคที่จัดขึ้น ณ ประเทศฮ่องกงเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา (8-9 ธันวาคม 2544) ในหัวข้อเรื่อง "ซีโอพีดี วันนี้: นำชีวิตใหม่สู่ปัญหาระดับโลก" สนับสนุนโดย บริษัทโบฮริงเกอร์ อิงเกลไฮม
ผู้นำระดับโลกในด้านการดูแลเรื่องเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ (raspiratory care) ในการประชุมดังกล่าวมีผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินหายใจ จากทั้งในและนอกภูมิภาคเอเซียแปซิฟิคมาร่วมกันหาวิธีวินิจฉัยและจัดการกับโรคซีโอพีดีให้ได้ผลมากขึ้นการแพร่กระจายของโรคซีโอพีดีมีความเป็นไปได้ที่จะเพิ่มสูงขึ้นในอัตราที่น่าตกใจ เพราะ มีสาเหตุใหญ่จากการขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคชนิดนี้ เนื่องจากมักไปเข้าใจผิดว่าอาการที่เกิดขึ้นเป็นอาการของโรคระบบทางเดินหายใจชนิดอื่น เช่น หืด (asthma) ถุงลมพอง (emphysema) และ หลอดลมอักเสบ (bronchitis)
โรคซีโอพีดี คืออะไร?
โรคซีโอพีดี เป็นความผิดปกติของระบบการหายใจชนิดเรื้อรัง (chornic respiratory disorder) ซึ่งจะไปลดประสิทธิภาพการทำงานของปอดลงโดยลำดับ และจำกัดการไหลเวียนของอากาศ อาการของโรครวมถึงการหายใจหอบ การไอ มีเสียงหวีดที่ปอดเวลาหายใจ (wheezing) และมีการหลั่งเมือกหรือเสลด (sputum) มากขึ้น โรคนี้จะเป็นมากขึ้นตามอายุ ทำให้ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ได้ตามปกติ และจะเสียชีวิตก่อนเวลาอันควร
จากรายงานประจำปีขององค์การอนามัยโลก (Annual World Health Report) พบว่ามีประชากรประมาณ 600 ล้านคนทั่วโลก ที่ต้องทนทุกข์ทรมานจากโรคซีโอพีดี โดยการสูบบุหรี่เป็นสาเหตุสำคัญของการเป็นโรคซีโอพีดี ทั้งนี้ผู้ป่วยด้วยโรคซีโอพีดีมากถึง 90% เป็นผู้ติดบุหรี่ การสูดดมควันบุหรี่และการอยู่ในบริเวณที่มีมลพิษในอากาศระดับรุนแรง จะมีส่วนทำให้มีโอกาสเป็นโรคซีโอพีดีสูงโรคซีโอพีดี ในเอเซียแปซิฟิค
ผลการศึกษาวิจัยซึ่งได้รายงานในการประชุมซีโอพีดีที่ประเทศฮ่องกง ชี้ให้เห็นว่าโรคนี้จะกลายเป็นปัญหาสำคัญของประเทศในแถบเอเซียแปซิฟิคอย่างน่าตกใจ งานวิจัยชิ้นนี้ได้ศึกษาการแพร่กระจายของโรคซีโอพีดีใน 12 ประเทศแถบภูมิภาคเอเซียแปซิฟิค และได้ประมาณว่า โดยเฉลี่ย 6.3% ของประชากรในภูมิภาคนี้ป่วยเป็นโรคซีโอพีดีใน ขั้นเริ่มต้นถึงขั้นรุนแรง
"ตัวเลขนี้จัดว่าสูงมาก เมื่อเทียบกับตัวเลข ซึ่งคาดการณ์ไว้โดยองค์การอนามัยโลกว่ามีเพียง 3.9%" ศาสตราจารย์ พอลล์ ซีล ว่าที่คณบดี ของคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยซิดนีย์ ออสเตรเลีย กล่าว "ในขณะที่มีการคาดการณ์ว่าโรคที่เป็นปัญหาระดับโลกชนิดอื่น เช่น วัณโรค และโรคเอดส์ จะลดลงในช่วง 20 ปีข้างหน้า แต่ในกรณีของโรคซีโอพีดี กลับมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น" เขากล่าวเสริม
ศาสตราจารย์ แมรี่ อิพ รองคณบดี (Associate Dean) คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮ่องกง กล่าวว่า ความท้าทายหลักในการจัดการกับโรคซีโอพีดีในประเทศแถบเอเซียแปซิฟิค คือการทำให้ทั้งรัฐบาลและประชาชน เห็นถึงความสำคัญในการลดสาเหตุหลักของโรค เช่น ลดการสูบบุหรี่ ตลอดจนรณรงค์ให้ผู้คนรู้จักโรคนี้และเข้ารับการรักษาแต่เนิ่น ๆ
"การสนับสนุนจากหน่วยงานที่มีอำนาจด้านสาธารณสุขและวงการแพทย์ จึงจำเป็นอย่างยิ่งต่อความพยายามนี้ หากดูจากจำนวนประชากรโดยรวมของทั้งภูมิภาค โดยเฉพาะในบางประเทศซึ่งมีการแพร่กระจายของการสูบบุหรี่สูงที่สุดในโลก ประกอบกับธรรมชาติของโรคที่มีอาการเรื้อรังและทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย เอเซียจัดอยู่ในสถานะที่ล่อแหลมอย่างยิ่งต่อภาระหนักในด้านสาธารณสุขที่จะเกิดขึ้นจากโรคซีโอพีดี" ศาสตราจารย์ อิพ กล่าว รายงานของธนาคารโลกและองค์การอนามัยโลก ได้จัดอันดับฆาตกรที่ยังไม่ค่อยมีคน รู้จักนี้ให้เป็นโรคที่เป็นภาระ (burden of disease) ลำดับที่ 12 ในปี ค.ศ. 1990 (พ.ศ. 2533) และคาดว่าจะเลื่อนขึ้นมาเป็นโรคที่เป็นภาระสำคัญลำดับที่ 5 ก่อนปี ค.ศ. 2020 (พ.ศ. 2563)
การริเริ่มระดับโลก (และภูมิภาค) เพื่อจัดการกับโรคซีโอพีดี
ความพยายามที่จะทำให้โรคซีโอพีดีได้รับความสนใจอย่างเพียงพอจากวงการสาธารณสุขและภาครัฐ ทำให้มีการจัดทำแนวทางปฏิบัติทั้งในระดับประเทศและระดับโลก เพื่อปรับปรุงการวินิจฉัยโรค การจัดการ และการป้องกันการเกิดโรคซีโอพีดีโครงการเชิงรุกเพื่อโรคการอุดตันของปอดชนิดเรื้อรังระดับโลก (the Global initiative for chronic Obstructive Lung Disease - GOLD) เป็นความร่วมมือระหว่างองค์การ-อนามัยโลก สถาบันหัวใจ ปอด และเลือด แห่งชาติสหรัฐอเมริกา โดยคณะผู้เชี่ยวชาญนานาชาติ นับเป็นตัวอย่างของโครงการระดับโลกเพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับโรคซีโอพีดี และลดความผิดปกติ รวมทั้งการเสียชีวิตที่เกิดจากโรคนี้ GOLD มุ่งที่จะให้การสนับสนุนการดำเนินงานตามคำแนะนำที่ได้จากข้อเท็จจริงที่พบในประเทศต่างๆ เพื่อช่วยให้มีมาตรฐานที่สูงขึ้นและเท่าเทียมกันในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคซีโอพีดี
เพื่อนำเสนอมุมมองของเอเซียแปซิฟิคต่อแนวทางปฎิบัติของ GOLD ในการประชุมที่ฮ่องกง ศาสตราจารย์ วัน-เชง ตัน อาจารย์แพทย์ในมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (National University of Singapore) กล่าวว่า "เราต้องการให้วงการแพทย์และบริษัทผู้ผลิตยาร่วมมือกันและสนับสนุนความพยายามในการสร้างมาตรฐานสากลเหล่านี้ในระดับภูมิภาคและระดับประเทศ โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือการป้องกันการแพร่กระจายของโรค การบรรเทาอาการ การป้องกันและรักษาอาการแทรกซ้อน ตลอดจนการลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วย"
บริษัทผู้ผลิตยาอย่าง โบฮริงเกอร์ อิงเกลไฮม ให้ความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานสาธารณสุขระดับนานาชาติ และวงการแพทย์ของประเทศต่างๆ เพื่อยกระดับความรู้เกี่ยวกับโรคนี้ โดยเมื่อเร็ว ๆ นี้ บริษัท ฯ ได้ช่วยจัดตั้ง ศูนย์โรคระบบทางเดินหายใจ ขึ้นในประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศไทยและประเทศเวียดนาม เพื่อวินิจฉัยและให้การรักษาโรคซีโอพีดี รวมทั้งโรคระบบทางเดินหายใจอื่น ๆ เช่น หืด ได้อย่างถูกต้องหากท่านต้องการข้อมูลหรือความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคซีโอพีดี ท่านสามารถค้นดูได้ที่ อินเตอร์เน็ต www.copdeducation.org สำหรับบุคคลากรในวงการแพทย์ท่านสามารถค้นดูได้ที่ www.copdprofessional.org
หมายเหตุถึงบรรณาธิการ:
หากท่านต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายงานที่นำเสนอในที่ประชุมซีโอพีดี หรือหากท่าน/นักข่าวของท่านสนใจที่จะพูดคุยกับผู้นำเสนอรายงาน หรือผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ในประเทศของท่าน เรายินดีที่จะให้ความช่วยเหลือในเรื่องนี้
ข้อมูลเกี่ยวกับ โบฮริงเกอร์ อิงเกลไฮมโบฮริงเกอร์ อิงเกลไฮม เป็นบริษัทแนวหน้าในเรื่องการพัฒนายารักษาและวิจัยเกี่ยวกับโรคซีโอพีดีมาเป็นเวลานานแล้ว โดยผลิตยาขยายหลอดลมชนิดสูดดม (inhaled anticholinergic bronchodilators) ซึ่งเป็นยาหลักตัวแรก ๆ ที่วงการแพทย์แนะนำให้ใช้เพื่อบรรเทาอาการสำหรับผู้ป่วยด้วยโรคซีโอดีพี ขณะที่โรคซีโอพีดียังมีการวินิจฉัยพบน้อยกว่าที่เป็นจริง และยังไม่มีวิธีการรักษาที่เหมาะสม บริษัทโบฮริงเกอร์ อิงเกลไฮม ได้สนับสนุนการรณรงค์ทั่วโลก เพื่อยกระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรค ซีโอพีดี บริษัท ฯ ได้ให้การสนับสนุนอย่างกว้างขวางในงานวิจัย การพัฒนา และการดำเนินงานตามข้อแนะนำเกี่ยวกับการควบคุมโรคซีโอพีดี ให้ความรู้ผู้ป่วยและแพทย์ในเรื่องของโรคซีโอพีดี ตลอดจนรณรงค์ให้ประชานทั่วไปได้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับโรคนี้ ฯลฯ โดยมีการร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับองค์กรด้านสาธารณสุขต่าง ๆ
กลุ่มบริษัทโบฮริงเกอร์ อิงเกลไฮม มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองอิงเกลไฮม (ประเทศเยอรมันนี) เป็นหนึ่งใน 20 บริษัทผู้นำด้านการผลิตยาของโลก ในปี ค.ศ. 2000 บริษัทมีรายได้เกือบ 600 ล้านเหรียญ ยูโร
โบฮริงเกอร์ อิงเกลไฮม มีบริษัทในเครือกว่า 140 บริษัททั่วโลก ความสนใจและความเชี่ยวชาญของบริษัท ฯ อยู่ที่การผลิตยาสำหรับรักษาคน รวมทั้งธุรกิจด้านยารักษาสุขภาพของสัตว์ ในธุรกิจด้านยาสำหรับคน ซึ่งคิดเป็น 95% ของยอดขาย มีทั้งยาที่ต้องให้แพทย์เป็นผู้สั่ง และผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพสำหรับผู้บริโภค รวมทั้งมีผลิตภัณฑ์สำหรับลูกค้าอุตสาหกรรมด้วยเช่นกัน (สารเคมีและยาชีวภาพต่าง ๆ)บริษัท ฯ มีศูนย์วิจัยและพัฒนา การผลิต ตลอดจนศูนย์กระจายสินค้า อยู่ในหลายประเทศทั่วโลก ในปี ค.ศ. 2000 โบฮริงเกอร์ อิงเกลไฮม ใช้จ่ายในด้านการวิจัยและพัฒนาไปเป็นเงินถึง 100 ล้านเหรียญยูโร หรือเท่ากับ 16% ของยอดขายรวม
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ บริษัท โบฮริงเกอร์ อิงเกลไฮม กรุณาค้นหาได้จากอินเตอร์เน็ท ที่ www.boehringer-ingelheim.com
ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ คุณเพ็ญศรี ทรรศนะวิเทศ, กันฑิชา บุญโพธิ์แก้ว
เวเบอร์ แชนด์วิค เวิลด์ไวด์
โทรศัพท์ 0-2257-0300 โทรสาร 0-2257-0312--จบ--
-สส-