มาตรการในการพัฒนาตลาดสารหนี้ เสนอต่อนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง

ข่าวทั่วไป Wednesday April 11, 2001 12:49 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--11 เม.ย.--ศูนย์ซื้อขายตราสารหนี้
สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง สถาบันการเงินผู้ค้าตราสารหนี้ และศูนย์ซื้อขายตราสารหนี้ไทย ร่วมกันจัดทำข้อเสนอในการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในมาตรกมาพัฒนาตลาดทุนเพื่อนำเสนอต่อนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในการประชุมระดมความคิดเห็นเพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาตลาดทุนไทย ซึ่งได้กำหนดให้มีขึ้นเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2544
มาตรการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้เกิดตลาดที่มีประสิทธิภาพและมีเสถียรภาพ ให้ผู้ต้องการเงินทุนสามารถระดมทุนได้อย่างคล่องตัวโดยมีต้นทุนที่เหมาะสมและผู้ลงทุนสามารถเข้ามาลงทุนในตลาดได้สะดวก โดยประกอบด้วย 3 หัวข้อหลัก ได้แก่ มาตรการด้าน Supply มาตรการด้าน Demand และมาตรการด้าน Infrastructure โดยมีรายละเอียดสรุปได้ดังต่อไปนี้
มาตรการด้าน Supply
1. มาตรการเพื่อพัฒนาการออกตราสารหนี้ภาครัฐ
1.1 ผลักดันกฏหมายเกี่ยวกับการบริหารหนี้สาธารณะ
1.2 จัดตั้งศูนย์กลางเพื่อรับผิดชอบการวางแผนและดำเนินการออกตราสารหนี้ภาครัฐทั้งระบบ
2. มาตรการสนับสนุนกมาแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์
2.1 ด้านภาษี
ก. ออก พรฏ. ยกเว้นภาษีเงินได้แก่นิติบุคคลเฉพาะกิจ (Special Purpose Vehicle-SPV)
ข. ออกกฏกระทรวงให้ลูกหนี้ยังคงหักค่าลดหย่อนดอกเบี้ยการกู้ยืมเงินเพื่อที่อยู่อาศัยได้ แม้โอนหนี้ให้ SPV แล้ว
2.2 ด้านกฏหมาย
ก. แก้ พรก. นิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์
ข. ออกกฏหมายทรัสต์
มาตรการด้าน Demand
3. มาตรการสนับสนุนการลงทุนของผู้ลงทุนสถาบัน
3.1 แก้ไขข้อจำกัดด้านวิธีการลงทุนของผู้ลงทุนสถาบันให้สอดคล้องกับวิธีปฏิบัติในตลาด
3.2 แก้ไขพรบ. หลักทรัพย์ฯ เพื่อเปิดให้กองทุนรวมสามารถกู้ยืมเงินได้ เพื่อบริหารสภาพคล่อง
4. มาตรการสนับสนุนการลงทุนของผู้ลงทุนรายย่อย
4.1 เร่งรัดการออกพันธบัตรออมทรัพย์อย่างเป็นระบบ
4.2 ออกกฏเพื่อให้การเก็บภาษีของบุคคลธรรมดา เป็นการเก็บจากผลตอบแทนซึ่งคำนวณตามระยะเวลาที่ถือไว้จริง
มาตรการด้าน Infrastructure
5. มาตรการเสริมสร้างสภาพคล่องในตลาดรอง
5.1 ผ่อนคลายคุณสมบัติของผู้ขอใบอนุญาตค้าและจัดจำหน่ายตราสารหนี้ในเรื่องกำไรย้อนหลัง 5 ปี
5.2 ให้ใบอนุญาตนายหน้าระหว่างผู้ค้า (inter dealer broker-IDB)
5.3 แก้ไขปัญหาภาษีธุรกิจเฉพาะที่เป็นอุปสรรคต่อการทำงานของผู้ค้า
ก. ยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะของผู้กู้ในธุรกรรมซื้อคืนที่เกิดจากการโอนตราสารหนี้ไปเป็นหลักประกัน
ข. ลดภาระภาษีธุรกิจเฉพาะของดอกเบี้ยรับของผู้ให้กู้ในตลาดเงิน ซึ่งรวมถึงการกู้ยืมและการทำธุรกรรมซื้อคืนระ ระหว่างธนาคาร
ค. ลดภาระภาษีธุรกิจเฉพาะจากการซื้อขายตราสารหนี้ของผู้ค้า
6. มาตรการสนับสนุนให้มีเครื่องมือบริหารความเสี่ยง
6.1 ผลักดันร่าง พรบ. อนุพันธ์ฯ ให้เข้าสภาโดนเร็ว
6.2 ให้ตลาดหลักทรัพย์เปิดให้ทำการซื้อขาย interest rate derivatives ได้โดยรับธนาคารเป็นสมาชิกเพิ่ม
7. มาตรการสนับสนุนการนำสื่ออิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในกระบวนการซื้อขายและส่งมอบตราสารหนี้
7.1 ผลักดันร่าง พรบ. Electronic Commerce ให้มีผลบังคับใช้โดยเร็ว
7.2 แก้ไขระเบียบทางราชการที่เกี่ยวข้อง เช่น ศาล ศุลกากร เพื่อรองรับระบบ paperless
7.3 แก้ไขพรบ. หลักทรัพย์ เพื่อรองรับการจำนำแบบ scripless และการเป็นศูนย์รับฝากหลักทรัพย์โดย ธปท.
7.4 พัฒนาระบบโอนพันธบัตรที่ ธปท. ให้เป็นแบบ eletronic โดยสมบูรณ์
7.5 จัดให้มีบริการระบบซื้อขาย electronic trading platform
รายละเอียดของมาตรการในการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ ซึ่งนำเสนอต่อที่ประชุมระดมความคิดเห็นเพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาตลาดทุนไทยดังกล่าว สามารถ download ได้จาก Website ของศูนย์ซื้อขายฯ (www.thaibdc.or.th) หรือติดต่อสอบถามได้ที่ศูนย์ซื้อขายตราสารหนี้ไทย--จบ--
-อน-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ