ไทยเพรซิเดนท์ฯ ทุ่มพันล.ผุดรง.บะหมี่ จับมือ' ยูนิลิเวอร์ฯ' ลุยตลาดมาม่าในจีน

ข่าวทั่วไป Tuesday December 19, 2000 08:46 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--19 ธ.ค.--ไทยเพรซิ-เดนท์ ฟูดส์
นายพิพัฒ พะเนียงเวทย์ กรรมการอำนวยการ บริษัท ไทยเพรซิ-เดนท์ ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า แผนการลงทุนในปี 2544 คาดว่าบริษัทจะใช้งบลงทุนประมาณ 500 ล้านบาท สำหรับขยายโรงงานผลิต บะหมี่สำเร็จรูปทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยแยกเป็น 200 ล้านบาทสำหรับการลงทุนขยายเครื่องจักรในโรงงานที่จังหวัดลำพูน เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตจาก 5 ล้านซอง/วัน เป็น 5.6 ล้านซอง/วัน ส่วนที่เหลือใช้เป็นเงินลงทุนต่อเนื่องสำหรับก่อสร้างโรงงานที่ จ.ระยอง และโรง งานผลิตบะหมี่สำเร็จรูปในประเทศ พม่า เวียดนาม และจีน
โดยโรงงานลี่ฟุ ที่ประเทศจีน ได้เบสฟูดส์ ซึ่งปัจจุบันเป็นบริษัทยูนิลีเวอร์ฯเข้ามาเป็นหุ้นส่วนใหม่ โดยปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นใหม่ให้ยูนิลีเวอร์เป็นถือหุ้นใหญ่ 51% และลดสัดส่วนผู้ถือหุ้นเดิม โดยฮ่องกงเหลือ 20% สหพัฒน์เหลือ 19% ที่เหลือเป็นของนักธุรกิจไทยอีก 1 ราย "การปรับตัวครั้งนี้เพื่อใช้ศักยภาพในการจัดจำหน่ายของยูนิลีเวอร์ฯในการขยายช่องทางการทำตลาด เพราะปัจจุบันสินค้าพีนัตบิสกิตที่ยูนิลีเวอร์ฯทำตลาดอยู่นั้นประสบความสำเร็จมาก การใช้เครือข่ายช่องทางจำ หน่ายเดิมจึงน่าจะเป็นโอกาสที่ดี จากเดิมที่ทำแล้วไม่ประสบความสำเร็จ" นอกจากนี้ ในส่วนของ บ.เพรสซิเด้นท์ไรซ์โปรดักส์มีแผนลงทุนขยายโรงงานผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยวสำเร็จรูป (เส้นขาว) บนพื้นที่ 40 ไร่ ที่ จ.นครสวรรค์ โดยใช้เงินลงทุนประมาณ 500 ล้านบาท
"มูลค่าตลาดเส้นขาว มีสัดส่วนประมาณ 10% ของตลาดเส้นเหลืองที่มีมูลค่าประมาณ 8,000-9,000 ล้านบาท เพราะฉะนั้นสินค้าตัวนี้จึงมีโอกาสสูงในการสร้างตลาดทั้งตลาดในประเทศและตลาดส่งออก " นายพิ พัฒกล่าวและว่า ปัจจุบันพฤติกรรมผู้บริโภคทั่วโลก ทั้งยุโรป อเมริกา ฯลฯ ต่างยอมรับและนิยมบริโภคบะหมี่สำเร็จรูปมากขึ้น และในบางประเทศ อาทิ เม็กซิโก มีการทดแทนสปาเก็ตตี้ได้อย่างถาวร ส่วนนี้จึงเป็นโอกาสที่ยูนิลีเวอร์ฯเห็นจึงอย่างเข้ามาทำเต็มรูปแบบ
แต่อย่างไรเชื่อว่าเจ้าตลาดบะหมี่สำเร็จรูป ก็ยังคงเป็นของชาวเอ เชีย และเราคงไม่หยุดอยู่กับที่ โดยเฉพาะสำหรับ บ.ไทยเพรซิเดนท์ฯ ซึ่งยังคงมีแผนขยายอย่างต่อเนื่องเช่นกัน และคาดว่าน่าจะมีโอกาสขึ้นเป็นอัน ดับ 2 ได้ไม่ยาก จากปัจจุบันที่อยู่อันดับ 4 เป็นรองมิสเตอร์ทคอง** ประเทศจีน มีกำลังการผลิตประมาณ 15 ล้านซอง/วัน อินโดมีประเทศอินโดนีเซีย กำลังการผลิต 10 ล้านซองต่อวัน และนิสชินประเทศญี่ปุ่น 7-8 ล้านซอง/วัน
"ดังนั้นสิ่งที่เราจะทำต่อไปคือ การสร้าง "มาม่า" ให้เป็นอินเตอร์แบรนด์ ซึ่งในปีหน้าเมื่อโรงงานในประเทศพม่า และเวียดนาม แล้วเสร็จความพร้อมก็จะมากขึ้น โดยเฉพาะจำนวนประชากรที่รวม 4 ประเทศ ประมาณ 200 ล้านคน น่าจะเป็นฐานตลาดที่ใหญ่เพียงพอ เมื่อรวมกับการเริ่มสร้างฐานตลาดในประเทศจีน และอินเดียผ่านประเทศเนปาล จึงน่าที่จะส่งให้แบรนด์ มาม่า เป็นที่ยอมรับและรู้จักได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น
"ส่วนผลดำเนินงานในไทย คาดว่าจนถึงสิ้นปีจะมียอดขายรวม 4,300 ล้านบาท เติบโตสูงขึ้นจากปี 2542 ประมาณ 2-3% ในปี 2544 ตั้งเป้าเติบโต 7% หรือประมาณ 4,600 ล้านบาท แบ่งเป็นขายในประเทศ 85% และส่งออก 15% โดยสภาพการแข่งขันในประเทศยังคงรุนแรง กล- ยุทธ์ราคา และลดแลกแจกแถม ยังคงมีความสำคัญที่ผู้ประกอบจะต้องนำมาใช้เพื่อกระตุ้นกำลังซื้อ ทั้งนี้เพราะภาพรวมของเศรษฐกิจในปีหน้าจะคงไม่ดีขึ้นเท่าไรนัก พร้อมกันนี้เราคงขยายธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มอย่างต่อเนื่องด้วย" นายพิพัฒกล่าวตอนท้าย--จบ--
-สส-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ