เรือรณรงค์ของกรีนพีซเปิดโปงการทำประมงทำลายล้างของไทยยูเนี่ยนในมหาสมุทรอินเดีย

ข่าวทั่วไป Monday April 25, 2016 11:34 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--25 เม.ย.--กรีนพีซ กรีนพีซส่งเรือเอสเพอรันซาออกสู่มหาสมุทรอินเดียเพื่อต่อกรอย่างสันติกับการทำประมงทำลายล้างของไทยยูเนี่ยนซึ่งเป็นอุตสาหกรรมปลาทูน่าที่ใหญ่ที่สุดในโลก ในการปฏิบัติการครั้งแรกนี้ เรือเอสเพอรันซาซึ่งเป็นเรือรณรงค์ที่เร็วที่สุดและลำใหญ่ที่สุดของกรีนพีซจะดึงเอาเครื่องมือประมงที่ทำลายล้าง รวมถึงอุปกรณ์ล่อปลาที่เรียกว่า Fish Aggregating Devices (FADs) ของเรือประมงที่ส่งปลาทูน่าให้แก่บริษัทไทยยูเนี่ยนออกจากผิวน้ำ ขณะนี้ได้พบอุปกรณ์ล่อปลา(FADs) หนึ่งชิ้น ที่เชื่อมโยงกับห่วงโซ่อุปทานปลาทูน่าของไทยยูเนี่ยนในมหาสมุทรอินเดีย อุปกรณ์ดังกล่าวถูกดึงขึ้นมาเพื่อไม่ให้มีการใช้งานอีกต่อไป ฟรองซัวร์ ชาเทีย ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านทะเลและมหาสมุทร กรีนพีซฝรั่งเศสกล่าวว่า "เราได้เห็น "กับดักทะเล" หรือ อุปกรณ์ล่อปลา(FADs) เหล่านี้ ด้วยตาของเราเอง แม้ว่ามันจะใช้เพื่อล่อปลาทูน่าให้เข้ามารวมกัน แต่มันก็ดึงเอาสิ่งมีชีวิตในทะเลอื่นๆ เข้ามาอยู่ในอวนล้อมอุตสาหกรรมนี้ด้วย พอสัตว์ทะเลอื่นตายลง มันจะถูกโยนกลับลงทะเล หรือที่เราเรียกว่า สัตว์น้ำในทะเลที่เป็นผลพลอยได้(bycatch) นี่คือความไม่ยั่งยืนและเป็นสิ่งที่ไม่อาจรับได้ และเราตั้งใจจะถอดอุปกรณ์ล่อปลา(FADs) ออกทุกชิ้นที่เราเจอในมหาสมุทร ทุกๆ 1 ใน 5 ของผลิตภัณฑ์ปลาทูน่าบรรจุกระป๋องมาจากบริษัทไทยยูเนี่ยน ไทยยูเนี่ยนเป็นเจ้าของแบรนด์อาหารทะเลชั้นนำทั่วโลก เช่น John West (สหราชอาณาจักร, เนเธอร์แลนด์), Chicken of the Sea (สหรัฐอเมริกา), Petit Navire (ฝรั่งเศส), Mareblu (อิตาลี) และSealect (ไทย) นอกจากนี้ ไทยยูเนี่ยนยังเป็นผู้จัดส่งวัตถุดิบไปยังบริษัทอื่นๆที่สำคัญซึ่งรวมถึง มาร์ซึ่งเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์อาหารแมวแบรนด์วิสกัส ไทยยูเนี่ยนได้รับผลสะเทือนจากกรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชนในห่วงโซ่อุปทานอาหารทะเลของตน หลายต่อหลายครั้ง(1) ผู้คนนับแสนทั่วโลกสนับสนุนการรณรงค์ของกรีนพีซที่เริ่มขึ้นในเดือน ตุลาคม 2558 เพื่อเรียกร้องให้ไทยยูเนี่ยนยุติการใช้อุปกรณ์ล่อปลา(FADs) และรับประกันว่าห่วงโซ่อุปทานทั้งหมดในระดับโลกจะปราศจากการละเมิดสิทธิมนุษยชน "กระแสแห่งการเปลี่ยนแปลงถาโถมเข้าสู่ไทยยูเนี่ยนซึ่งยังคงคิดถึงการใช้ผลประโยชน์จากมหาสมุทรและหลีกเลี่ยงที่จะไม่รับรู้ถึงการกดขี่ขูดรีดในห่วงโซ่อุปทานอาหารทะเลของตน" ฟรองซัวร์ ชาเทีย กล่าว "ผู้คนต้องการรู้ว่าผลิตภัณฑ์ปลาทูน่าที่พวกเขาซื้อนั้นไม่ได้มาจากการทำลายระบบนิเวศวิทยาทางทะเลและการบังคับใช้แรงงาน หากไทยยูเนี่ยนไม่ต้องการยุติปลาทูน่าที่มาจากการทำลายล้างทะเลและกดขี่ขูดรีดแรงงานให้เข้าสู่ชั้นวางสินค้า เราจะเคลื่อนไหวและลงมือปฏิบัติการไม่ว่าจะเป็นในทะเลและบนชั้นวางขายผลิตภัณฑ์" หมายเหตุ (1) การสืบสวนสอบสวนล่าสุด ในนิวยอร์คไทมส์ และสำนักข่าวเอพี ได้พบว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชนในห่วงโซ่อุปทานของไทยยูเนี่ยน (รายละเอียดเพิ่มเติม http://nyti.ms/1Ktzi9q และ http://apne.ws/1Q4OJ7R) นายธีรพงศ์ จันศิริ ประธานกรรมการบริหารบริษัท ไทยยูเนี่ยน กล่าวว่า "เป็นเรื่องยากที่จะรับรองว่าห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมอาหารทะเลไทยนั้นจะสะอาดเต็มร้อย" [http://bit.ly/1qGdsuy] กรีนพีซเรียกร้องให้ไทยยูเนี่ยนสร้างมาตรฐานที่โปร่งใส เคร่งครัด และรัดกุม ตลอดห่วงโซ่อุปทาน และสร้างความมั่นใจให้ได้ว่าอาหารทะเลทั้งหมดจะต้องไม่เกี่ยวโยงกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนและแรงงาน โดยผ่านการตรวจสอบโดยบุคคลที่สาม ภาพถ่ายจากเรือเอสเพอรันซา สามารถดาวน์โหลดได้ที่ http://photo.greenpeace.org/shoot/27MZIFJ69P9P9

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ