กรุงเทพฯ--27 เม.ย.--สำนักงาน ป.ป.ช.
ในรอบเดือนที่ผ่านมา มีคดีทุจริตของข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ/พนักงานส่วนส่วนท้องถิ่น ที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ชี้มูลความความผิด และสำนักงาน ป.ป.ช. ได้รายงานให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ทราบว่า ได้ส่งสำนวนการไต่สวนไปยังผู้บังคับบัญชาเพื่อลงโทษทางวินัย และหรือไปยังอัยการสูงสุดเพื่อดำเนินคดีอาญาแล้ว รวม 14 คดี โดยเป็นคดีในส่วนกลาง 5 คดี ต่างจังหวัด 9 คดี ดังนี้
1. ส่วนกลาง : จำนวน 5 คดี
1.1 ร้องเรียนกล่าวหา (1) พล.ต.ท. พิสัณห์ จุลดิลก ผู้บังคับการกองโยธาธิการ สำนักงานส่งกำลังบำรุง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (2) พ.ต.ท. ชอบ เขียวจันทร์ สารวัตรงาน 3 กองกำกับการ2 กองโยธาธิการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าละเว้นไม่ดำเนินการสอบสวนข้อเท็จจริงเมื่อรู้ว่าการประมาณราคาค่าซ่อมแซมระบบน้ำประปาผิดพลาด กลับเรียกรับเงินจากผู้ว่าจ้างซ่อมแซม โดยให้ทำเป็นเรื่องบริจาคเงินให้กองทุนสวัสดิการ ซึ่งคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติว่า พล.ต.ท. พิสัณห์ฯ และพ.ต.ท.ชอบฯ มีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง และมีมูลความผิดทางอาญา ตามมาตรา 148(1) และ 157(2) แห่งประมวลกฎหมายอาญา
1.2 ร้องเรียนกล่าวหา (1) นางจิตราภรณ์ เตชาชาญ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (2) นางศลีพร เนตรพุกกณะ ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารส่วนกลาง (3) นายถาวร กุลภัทรนิรันดร์ หัวหน้าส่วน การพัสดุและรักษาการหัวหน้าส่วนธุรการ (4) นางนิจนิรันดร์ สุวรรณเกต รองผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมว่าทุจริตเกี่ยวกับการเช่ารถยนต์เป็นรถส่วนกลาง แต่นำไปใช้เป็นรถประจำตำแหน่งและเบิกจ่าย ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงโดยไม่มีสิทธิ ซึ่งคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติว่า
(1) นางจิตราภรณ์ฯ, นางศลีพรฯ และนายถาวรฯ มีมูลความผิดทางอาญาตามมาตรา 11(3) แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์กรหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502
(2) นางนิจนิรันดร์ฯ มีมูลความผิดทางอาญาฐานเป็นผู้สนับสนุนพนักงานกระทำความผิดตามมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์กรหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 ประกอบมาตรา 86(4) แห่งประมวลกฎหมายอาญา
1 มีโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปี ถึง 20 ปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ 20,000 บาท ถึง 40,000 บาท หรือประหารชีวิต
2 มีโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปี ถึง 10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 2,000 บาท ถึง 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
3 มีโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปี ถึง 10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 2,000 บาท ถึง 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
4 มีโทษ 2 ใน 3 ส่วนของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดที่สนับสนุนนั้น
1.3 ร้องเรียนกล่าวหา (1) นายศุษิร อิศรางกูร ณ อยุธยา วิศวกรโยธา 5 สำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร (2) นายสุเนตร สุทธิเรืองวงศ์ นายช่างโยธา 4 สำนักการโยธา ว่าละเว้นไม่ดำเนินการใดๆ กับบริษัทพระสุก่อสร้าง จำกัด (ผู้รับจ้าง) ทั้งที่ทราบว่าการก่อสร้างอาคารในพื้นที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย แปลงที่ 6/3 โซนซี แขวงลาดยาว เขตจตุจักรไม่ถูกต้องตามแบบแปลน กลับมีการต่อสัญญาจ้างและออกใบรับรองการก่อสร้างอาคารดัดแปลงอาคารหรือเคลื่อนย้ายอาคาร (แบบ อ.6) ให้กับผู้รับจ้างดังกล่าว ซึ่งคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติว่า นายศุษิรฯ และนายสุเนตรฯ มีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง และมีมูลความผิดทางอาญา ตามมาตรา 157 แห่งประมวลกฎหมายอาญา
1.4 ร้องเรียนกล่าวหา นายประสิทธิ์ ชัยเขื่อนขันธ์ เจ้าหน้าที่ประเมินอากร 4 กรมศุลกากร ว่าร่ำรวยผิดปกติ ซึ่งคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติว่า นายประสิทธิ์ฯ ร่ำรวยผิดปกติ โดยมีทรัพย์สินมากผิดปกติหรือเพิ่มขึ้นมากผิดปกติ ได้แก่ บ้านเลขที่ 98/24 ม. 12 ต.บางแก้ว อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ พร้อมที่ดินโฉนดเลขที่ 89997 ต.บางแก้ว อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ มูลค่า 3,800,000 บาท และให้ส่งเรื่องให้อัยการสูงสุดเพื่อยื่นคำร้องต่อศาลพิพากษาให้ทรัพย์สิน ตกเป็นของแผ่นดิน และส่งเรื่องไปยังผู้บังคับบัญชาเพื่อสั่งลงโทษไล่ออกหรือปลดออก
1.5 ร้องเรียนกล่าวหา นางวิจิตต์ ล่ามกิจจา เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี 3 สำนักงานสถานเอกอัครราชทูต สาขากรุงบอนน์ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และเมื่อครั้งเป็นเจ้าหน้าที่การคลัง สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงธากา ประเทศบังคลาเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ว่าเบียดบังเงินค่าธรรมเนียมและเงินรายได้อื่นๆ ของสถานเอกอัครราชทูต ไปเป็นของตนเองหรือผู้อื่น ซึ่งคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติว่า นางวิจิตต์ฯ มีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศสั่งลงโทษไล่ออกแล้ว และมีมูลความผิดทางอาญาตามมาตรา 147(5) แห่งประมวลกฎหมายอาญา
2. จังหวัดยโสธร : จำนวน 2 คดี
2.1 ร้องเรียนกล่าวหา นายคงศิริ สันทนะประภา อัยการจังหวัดประจำกรม สำนักงานอัยการจังหวัดยโสธร ว่าเรียกรับเงินจากจำเลยในคดีอาญาเพื่อช่วยเหลือคดี ซึ่งคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติว่า นายคงศิริฯ มีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง ซึ่งสำนักงานอัยการสั่งลงโทษไล่ออกแล้ว และมีมูลความผิดทางอาญาตามมาตรา 157 และ 201(6) แห่งประมวลกฎหมายอาญา
2.2 ร้องเรียนกล่าวหา นายสวัสดิ์ สมวรรณ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดยโสธร(พืชสวน) ว่าทุจริตเงินจากการจำหน่ายแผ่นยางพาราจากแปลงฝึกกรีดยางพารา โดยไม่นำส่งคลังตามระเบียบของทางราชการ ซึ่งคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติว่า นายสวัสดิ์ฯ มีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง และมีมูลความผิดทางอาญาตามมาตรา 147 และ 157 ประกอบมาตรา 90 และ 91 แห่งประมวลกฎหมายอาญา
3. จังหวัดนครราชสีมา : จำนวน 1 คดี
ร้องเรียนกล่าวหา นาวาอากาศโท ถนัส หนองขุ่นสาร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลกองบิน 1 กองบัญชาการยุทธทางอากาศ กองทัพอากาศ ต.หนองไผ่ล้อม อ.เมือง จ.นครราชสีมา ว่าปลอมใบสั่งซื้อยาของโรงพยาบาลนำไปสั่งซื้อยาแล้วนำยาดังกล่าวไปเป็นประโยชน์ส่วนตน ซึ่งคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติว่า นาวาอากาศโท ถนัสฯ มีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง และมีมูลความผิดทางอาญาตามมาตรา 123(7) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542
5 มีโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปี ถึง 20 ปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ 2,000 บาท ถึง 40,000 บาท
6 มีโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปี ถึง 20 ปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ 2,000 บาท ถึง 40,000 บาท หรือประหารชีวิต
7 เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในพฤติการณ์ที่อาจทำให้ผู้อื่นเชื่อว่ามีตำแหน่งหรือหน้าที่ ทั้งที่ตนมิได้มีตำแหน่งหรือหน้าที่นั้น เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย สำหรับตนเองหรือผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปีถึง 10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 2,000 บาทถึง 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
4. จังหวัดบุรีรัมย์ : จำนวน 1 คดี
ร้องเรียนกล่าวหา นางพนมวัน บุตรโตหรือสิริวรรณ ธนูชาญ หัวหน้าส่วนการคลัง อบต.พระครู อ.เมือง ว่าเบียดบังเงินของ อบต.พระครู ไปเป็นของตนหรือของผู้อื่นโดยทุจริต ซึ่งคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติว่า นางพนมวันฯ มีมูลความผิด ทางวินัยอย่างร้ายแรง และอบต.พระครูได้สั่งลงโทษไล่ออกแล้ว และมีมูลความผิดทางอาญาตามมาตรา 147 และ 157 ประกอบมาตรา 90 และ 91 แห่งประมวลกฎหมายอาญา
5. จังหวัดพิษณุโลก : จำนวน 1 คดี
ร้องเรียนกล่าวหา ร.ต.อ. รุ่งอรุณหรือฑีฆาวัฒน์ พลวัง พนักงานสอบสวน (สบ1) สถานีตำรวจภูธรพรหมพิราม อ.พรหมพิราม ว่ารับตัวผู้ต้องหาในความผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่น แล้วไม่ดำเนินการสอบสวน กลับปล่อยตัวผู้ต้องหา ไปโดยพลการโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชา ซึ่งคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติว่า ร.ต.อ.รุ่งอรุณฯ มีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง และตำรวจภูธรจังหวัดพิษณุโลกได้สั่งลงโทษไล่ออกแล้ว และมีมูลความผิดทางอาญาตามมาตรา 157 แห่งประมวลกฎหมายอาญา
6. จังหวัดตาก : จำนวน 1 คดี
ร้องเรียนกล่าวหา (1) นายพงศ์ภรณ์ หริรักษ์ ช่างโยธา 3 เทศบาลตำบลท่าสายลวด อ.แม่สอด (2) หจก.มาดามวีก่อสร้าง (3) นางวัลลภา วัฒนวนาพงษ์ หุ้นส่วนผู้จัดการ ว่าละเว้นไม่ควบคุมงานให้ผู้รับจ้างทำการก่อสร้างให้ถูกต้องครบถ้วนตามสัญญาในโครงการจ้างเหมาก่อสร้างทางเดินเข้าชมวิวทิวทัศน์ริมแม่น้ำเมย ม. 2 ต.ท่าสายลวด อ.แม่สอด ซึ่งคณะกรรมการป.ป.ช. มีมติว่า
(1) นายพงศ์ภรณ์ฯ มีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรงและมีมูลความผิดทางอาญามาตรา 157 และ 162(1), (4)(8)
(2) หจก.มาดามวีก่อสร้างและนางวัลลภาฯ หุ้นส่วนผู้จัดการมีมูลความผิดทางอาญาฐานเป็นผู้สนับสนุนนายพงศ์ภรณ์ฯ กระทำความผิดตามมาตรา 157 และ 162 (1), (4) ประกอบมาตรา 86 แห่งประมวลกฎหมายอาญา
7. จังหวัดพระนครศรีอยุธยา : จำนวน 1 คดี
ร้องเรียนกล่าวหา นางเกวลีน พรรณชนะ พนักงานปฏิบัติการ 7 ธนาคารออมสิน สาขาบางปะอิน ว่า (1) กระทำการปลอมลายมือชื่อเจ้าของบัญชีในคำขอเปิดใช้บัตรออมสินวีซ่าอิเล็กตรอน และนำบัตรไปทำรายการถอนเงินนำไปใช้ประโยชน์ส่วนตน (2) กระทำการปลอมลายมือชื่อลูกค้าฝากเงินประเภทสงเคราะห์ชีวิตในสัญญากู้ยืมเงินโดยใช้กรมธรรม์ของลูกค้า ค้ำประกันและปลอมลายมือชื่อลูกค้าในเอกสารใบถอนเงินและถอนเงินจากบัญชีลูกค้านำไปใช้ประโยชน์ส่วนตัว ซึ่งคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติว่า นางเกวลีนฯ มีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรงและธนาคารออมสินได้สั่งลงโทษไล่ออกแล้ว และมีมูลความผิดทางอาญามาตรา 8(9) และ 11 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์กรหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 รวมทั้งมาตรา 264, 265, 268, 269/5 และ 269/7 ประกอบมาตรา 90 และ 91 แห่งประมวลกฎหมายอาญา
8. จังหวัดสุพรรณบุรี : จำนวน 1 คดี
ร้องเรียนกล่าวหา นางสมปองหรือปทิตตา รัตนปัญญา พนักงานการเงิน 7 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาสุพรรณบุรี ว่าปลอมลายมือชื่อลูกค้าแล้วถอนเงินในบัญชีเงินฝากของลูกค้านำไปใช้ประโยชน์ส่วนตัว ซึ่งคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติว่า นางสมปองฯ มีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรงและธนาคารฯ ได้สั่งลงโทษไล่ออกแล้ว และมีมูลความผิดทางอาญามาตรา 4(10) และ 11 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์กรหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 และตามมาตรา 265 และ 268 ประกอบมาตรา 90 และ 91 แห่งประมวลกฎหมายอาญา
8 มีโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี และปรับไม่เกิน 14,000 บาท
9 มีโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปี ถึง 20 ปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ 2,000 บาทถึง 40,000 บาท
10 มีโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปี ถึง 20 ปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ 2,000 บาทถึง 40,000 บาท
9. จังหวัดระยอง : จำนวน 1 คดี
ร้องเรียนกล่าวหา (1) นางสาววลัยพร แสงรัตน์ ลูกจ้างรับฝากที่ทำการไปรษณีย์ตลาดมาบตาพุด สำนักงานไปรษณีย์ เขต 2 (2) นายสนาน วงษ์พิทักษ์ หัวหน้าที่ทำการไปรษณีย์ตลาดมาบตาพุด ว่ายักยอกเงินจากการจำหน่ายสินค้าเครดิต สินค้าวัตถุมงคล สินค้าฝากขาย และเงินธนาณัติออนไลน์ ซึ่งคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติว่า
(1) นางสาววลัยพรฯ มีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรงและไปรษณีย์เขต 2 ได้ลงโทษไล่ออกแล้ว และมีมูลความผิดทางอาญามาตรา 4 และ 11 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์กรหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 และตามมาตรา 265 และ 268 ประกอบมาตรา 90 และ 91 แห่งประมวลกฎหมายอาญา
(2) นายสนานฯ มีมูลความผิดทางวินัยไม่ร้ายแรง ซึ่งไปรษณีย์เขต 2 ได้ลงโทษภาคทัณฑ์แล้ว